ที่มาของโครงการ

" ที่ ม า ข อ ง โ ค ร ง ก า ร " 
ในปัจจุบันกระแสของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง ทำให้มนุษย์ เกิดความ กดดัน ทางด้านจิตใจอีกทั้ง ความเจริญของ "เทคโนโลยี" ทำให้มี เวลาดูแลจิตใจน้อยลง อีกทั้งความเจริญทางวัตถุจึงมีมากกว่า มนุษย์โลกสนใจวัตถุ มากกว่าจิตใจ ของเราเอง อย่างไรก็ดี มนุษย์ ยังมีแหล่ง " ธรรมะ " ซึ่งจะเป็นที่อบรมจิตใจ ในการดำรงชีวิต ยุคปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะมนุษย์ ต้องดำเนินอยู่ในโลก อย่าง มีสติปัญญา เท่านั้น จึงจะอยู่รอดจากปัญหาทั้งปวงได้

 

" วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ " 
1. เพื่อให้สวนสาธารณะเป็นศูนย์รวมเพื่อที่จะอยู่กันอย่างศานติ 
2. เพื่อให้สวนสาธารณะ เป็นสวนฯ ที่ออกกำลังกาย ทั้งด้านร่างกาย และ ด้านจิตใจ 
3. เพื่อส่งเสริมการศึกษาธรรมะ และเผยแผ่ธรรม แก่พุทธศาสนิกชน 
4. เพื่อให้ธรรมะสร้างกำลังใจให้เข้มแข็ง สามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้ ในสังคม ด้วยความมั่นใจ และ สติปัญญาที่คิดแต่สิ่งดีๆ

 

" ธรรมะในสวน " เกิดขึ้นเนื่องจากคณะกรรมการ ฝ่ายสันทนาการ กรุงเทพมหานคร ได้ปรึกษาหารือกัน โดยมีความเห็นว่า สวนสาธารณะของกรุงเทพฯ ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง น่าจะได้สร้างสรรค์กิจกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กิจกรรม ทางด้านศาสนา ซึ่งจะช่วย เสริมสร้างจิตใจ ของประชาชนผู้มาใช้ บริการในสวนสาธารณะ ให้มีความสุขสงบ และ ร่มเย็น ท่ามกลางสภาวะแวดล้อม อันชวนให้สับสน วุ่นวาย

 

ด้วยเหตุนี้ โครงการ " ธรรมะในสวน " จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยกำหนดให้มีทุก ๆ วันเสาร์ หรือ อาทิตย์ สัปดาห์สุดท้าย ของเดือน เวลาประมาณ ๗ นาฬิกา ณ บริเวณ " สนามหน้าเวทีบันเทิง " สวนลุมพินี กรุงเทพฯ โดยมีกิจกรรม การทำบุญตักบาตร และ ฟังธรรมจาก พระสงฆ์ เช่น หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ พระพยอม กัลยาโณ เป็นต้น

 

     โครงการ " ธรรมะในสวน " นี้ ถึงแม้จะเป็นโครงการของกรุงเทพมหานคร แต่ทางกรุงเทพมหานคร ก็ได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วม ให้การสนับสนุนด้วยดียิ่ง จากนายล้วนชาย ว่องวานิช และ กลุ่มบริษัท ว่องวานิช ทั้งนี้หากภาคเอกชนรายอื่น ๆ เห็นประโยชน์ของโครงการนี้ และ ต้องการจะให้ความสนับสนุน ก็สามารถ ร่วมสนับสนุนได้ เพื่อให้งานนี้ จะได้แพร่ขยาย เป็นประโยชน์ ต่อเพื่อนร่วมสังคมในวงกว้างสืบต่อไป


ชมรมธรรมะในสวน โทร. ๐๒-๖๔๕-๐๓๐๐ ต่อ ๑๐๔ 
หรือโทร. ๐๑-๗๕๓-๐๗๒๓

  ความคิดเห็น



• เธงเธฑเธ”เธžเธฃเธฐเนเธเน‰เธง (เธงเธฑเธ”เธ›เนˆเธฒเน€เธขเธตเธขเธฐ)

• เธงเธฑเธ”เธงเธฑเธ‡เธœเธฒเนเธ”เธ‡ เธ•.เธ™เธฒเธชเธงเธ™ เธญ.เธจเธฃเธตเธชเธงเธฑเธชเธ”เธดเนŒ เธˆ.เธเธฒเธเธˆเธ™เธšเธธเธฃเธต

• เธเธฒเธฃเนŒเธ•เธนเธ™ เธฃเธนเน‰เน„เธงเน‰เนƒเธซเน‰เน„เธ”เน‰เธšเธธเธเธเธฑเธšเธฅเธธเธ‡เธ›เธฃเธฒเธ”เน€เธ›เธฃเธทเนˆเธญเธ‡ เธ•เธญเธ™ "เธ—เธณเธšเธธเธ เธ—เธณเธ—เธฒเธ™" เนเธฅเธฐ เธ•เธญเธ™ "เน€เธ—เธตเธขเธ™เธžเธฃเธฃเธฉเธฒ" *เธฅเนˆเธฒเธชเธธเธ”*

• เธ”เธ™เธ•เธฃเธตเธŸเธทเน‰เธ™เธŸเธนเธ„เธงเธฒเธกเน€เธซเธ™เธทเนˆเธญเธขเธฅเน‰เธฒ - เธ”เธ™เธ•เธฃเธตเธœเนˆเธญเธ™เธ„เธฅเธฒเธขเธเธฑเธšเธ”เธ™เธ•เธฃเธตเธ˜เธฃเธฃเธกเธŠเธฒเธ•เธด!

• เธ„เธณเธชเธญเธ™ เธ„เธธเธ“เธขเธฒเธขเธญเธฒเธˆเธฒเธฃเธขเนŒ

 ธรรมะไทย