< สามเณรสังกิจจะ / พระพุทธสาวก / พระพุทธศาสนา - ธรรมะไทย



เธ„เน‰เธ™เธซเธฒเนƒเธ™เน€เธงเน‡เธšเน„เธ‹เธ•เนŒ :

สามเณรสังกิจจะ
สามเณรสังกิจจะ เป็นบุตรธิดาเศรษฐีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ในขณะที่อยู่ในท้องมารดานั่นเอง มารดาได้เสียชีวิตลง ญาติพี่น้องจึงนำนางไปเผา ในขณะที่ไฟกำลังไหม้ร่างกายของนางอยู่นั้น เป็นอัศจรรย์ที่ไฟไม่ไหม้ส่วนท้อง พวกสัปเหร่อได้ใช้หลาวเหล็กแทงส่วนท้องที่ไฟไม่ไหม้นั้นเสร็จแล้วก็กลบด้วยถ่านเพลิง ปลายหลาวเหล็กได้ไปกระทบที่หางตาของทารกนั้นพอดี พอกลบถ่านเพลิงเข้ากับส่วนที่ยังไม่ไหม้แล้ว ก็พากันกลับบ้านด้วยหวังว่าพรุ่งนี้ค่อยมาดับไฟเก็บอัฐิ

ไฟได้ไหม้ร่างกายของมารดานั้นหมดสิ้น เว้นเฉพาะทารกน้อยเท่านั้นที่รอดชีวิตอยู่ได้อย่างปาฏิหาริย์เหมือนกับนอนอยู่ในกลีบบัวก็ปานนั้น ไฟไม่ได้ทำอันตรายใด ๆ เลย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะผู้ที่เกิดในภพสุดท้าย ถ้ายังไม่บรรลุพระอรหันต์แล้ว อะไรก็ไม่สามารถทำให้เสียชีวิตได้

เช้าวันรุ่งขึ้นพวกสัปเหร่อมาดับไฟเห็นเด็กนอนอยู่โดยปราศจากอันตรายก็อัศจรรย์ใจ อุ้มกลับบ้านไปให้พวกหมอทำนายชีวิตดู หมอทำนายไว้ ๒ ด้าน คือ ถ้าเด็กอยู่ครองเรือน พวกเครือญาติ ๗ ชั่วโคตรจักไม่ยากจน ถ้าออกบวชจักมีพระ ๕๐๐ รูปเป็นบริวารแวดล้อม พวกญาติจึงตั้งชื่อให้ว่า สังกิจจะ เพราะหางตาเป็นแผลเพราะถูกหลาวเหล็ก

สังกิจจกุมาร มีอายุได้ ๗ ขวบเมื่อทราบประวัติของตนเองจากปากของเด็กเพื่อนบ้าน ก็ปรารถนาจะบวช พวกญาติจึงพาไปขอบวชจากพระสารีบุตรในวันบวชพระเถระให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้บวช สามเณรได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาในขณะที่ปลงผมเสร็จนั่นเอง

สมัยนั้นมีกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีประมาณ ๓๐ คน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้วก็ขอบวช เมื่อบวชได้ ๕ พรรษา เรียนปัสสนากรรมฐานจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็มีความประสงค์จะพากันไปปฎิบัติธรรม ณ ป่าแห่งหนึ่ง จึงพากันมาทูลลาพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์เห็นภัยอย่างหนึ่งจักเกิดแก่ภิกษุเหล่านี้ เกรงว่าจะไม่บรรลุธรรม มีสามเณรสังกิจจะเท่านั้นที่จะช่วยเหลือพวกพระเหล่านี้ได้ พระองค์จึงรับสั่งให้ภิกษุเหล่านั้นไปอำลาพระสารีบุตรก่อนแล้วค่อยไป

พวกภิกษุได้ไปลาพระสารีบุตร พระเถระทราบความนัยจึงเอ่ยปากมอบสามเณรสังกิจจะให้ไปด้วย พวกภิกษุปฏิเสธเกรงว่าจะเป็นภาระไม่มีเวลาปฏิบัติธรรม พระเถระจึงบอกให้ทราบว่า "สามเณรนี้จักไม่เป็นภาระของพวกเธอ พวกเธอต่างหากจะเป็นภาระของสามเณร พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้ดีจึงส่งพวกเธอมาลาเรา" เมื่อเป็นเช่นนี้พวกภิกษุจึงจำเป็นต้องพาสามเณรไปด้วย รวมกันเป็น ๓๑ รูป อำลาพระเถระแล้วก็ออกเดินทางไป

เดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง พวกชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาจึงนิมนต์ให้อยู่จำพรรษา พร้อมรับปากจะพากันอุปถัมภ์บำรุงตลอดพรรษา พวกภิกษุเหล่านั้นจึงรับนิมนต์ ในวันเข้าพรรษา พวกภิกษุได้ตั้งกติกากันไว้ว่า "ยกเว้นเวลาเช้าบิณฑบาต และเวลาเย็นบำรุงพระเถระเท่านั้น เวลาที่เหลือให้ปฏิบัติธรรมห้ามอยู่ด้วยกัน ๒ รูป ต้องบรรลุธรรมให้ได้ภายในพรรษานี้ ถ้ารูปใดไม่สบายพึงตีระฆังบอกพวกเราจะมาปรุงยาถวาย" เมื่อทำกติกาตกลงกันอย่างนี้แล้ว ก็แยกย้ายกันไปปฏิบัติธรรม

ต่อมาวันหนึ่ง มีชายยากไร้คนหนึ่งหนีภัยแล้งมาจากต่างเมืองหวังจะไปขอพึ่งพาลูกสาวอีกเมืองหนึ่ง เดินผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นด้วยอาการอิดโรย ขณะนั้นพวกพระภิกษุได้กลับมาจากบิณบาตกำลังจะฉันเช้าพอดี พบเขาจึงสอบถามเมื่อทราบเรื่องแล้วเกิดความสงสารโยมที่ไม่ได้กินข้าวมาหลายวันแล้ว จึงบอกให้ไปหาใบไม้มาจะแบ่งอาหารให้

ธรรมเนียมของพระสงฆ์อย่างหนึ่งก็คือ "ภิกษุเมื่อจะให้อาหารแก่ผู้มาในเวลาฉัน ไม่ให้อาหารที่เป็นยอด พึงให้มากบ้างน้อยบ้าง เท่ากับส่วนที่จะฉันเอง"
ชายยากไร้หลังกินข้าวอิ่มแล้วก็สอบถามพวกท่านว่า
"มีกิจนิมนต์หรือไร พระคุณเจ้าจึงได้อาหารมากมายขนาดนี้"
"ไม่มีหรอกโยม เป็นเรื่องปกติของที่นี่" พวกภิกษุตอบ
เขาคิดว่า "เราทำงานแทบตายก็ไม่ได้กินอาหารดีเช่นนี้ จะไปอยู่ทำไมที่อื่น อยู่อาศัยกับพระพวกนี้ สบายดีกว่า" จึงขออาศัยอยู่ทำวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากพระสงฆ์ด้วย พวกพระภิกษุก็อนุญาต เขาขยันทำงานช่วยเหลือพระภิกษุเหล่านั้นเป็นอย่างดี เวลาผ่านไป ๒ เดือน ชายยากไร้นั้นอยู่สุขสบายดีตลอดมา คิดถึงลูกสาวจึงแอบหนีออกจากที่พักสงฆ์ไปโดยไม่บอกกล่าวอำลาแก่ผู้ใด เพราะเกรงว่าพระสงฆ์จะไม่อนุญาต หนทางที่ชายยากไร้นั้นไปจะต้องผ่านดงใหญ่แห่งหน ในดงนั้นมีโจร ๕๐๐ คน ได้บนบานเทวดาว่าจะถวายพลีกรรมในวันที่ ๗ วันนั้นเป็นวันที่ ๗ พอดีเมื่อชายยากไร้นั้นเดินผ่านเข้าไปกลางดงก็ถูกพวกโจรจับตัวมัดไว้ เตรียมที่จะทำพิธีพลีกรรมแก่เทวดา

เขาตกใจกลัวตายได้ร้องของชีวิตไว้และเสนอว่า เขาเป็นคนยากไร้ เทวดาอาจจะไม่ชอบใจ พวกภิกษุเป็นผู้มีศีลสกุลสูง เทวดาท่านจึงจะชอบใจ ไปจับพวกภิกษุมาทำพลีกรรมจะดีกว่า พวกโจรเห็นดีด้วยจึงให้เขาไปที่พักสงฆ์

เขาได้พาพวกโจรไปที่สำนักสงฆ์แล้วตีระฆัง พวกภิกษุเมื่อได้ยินเสียงระฆังเข้าใจว่ามีภิกษุไม่สบายก็มารวมกันที่ศาลา หัวหน้าโจรจึงประกาศให้ทราบว่าต้องการภิกษุ ๑ รูป เพื่อไปทำพลีกรรม

พระทั้ง ๓๐ รูป ต่างอาสาไปตายทั้งสิ้น ตกลงกันไม่ได้ สามเณรสังกิจจะจึงขออาสาไปเอง พวกภิกษุไม่ยอมเพราะสามเณรเป็นลูกศิษย์ของพระสารีบุตรฝากมาเกรงว่าพระเถระจักติเตียนได้ สามเณรจึงบอกให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์ให้ตนมาก็เพื่อมาแก้ปัญหานี้เอง จึงยกมือไหว้พวกภิกษุเดินตามพวกโจรไป

พวกภิกษุซึ่งยังเป็นปุถุชนต่างก็ร้องไห้สงสารสามเณรพร้อมกับกำชับหัวหน้าโจรว่า "ในช่วงที่พวกท่านตระเตรียมสิ่งของ ขอให้นำสามเณรไปไว้ที่อื่นก่อนนะ สามเณรจะกลัว"

หัวหน้าโจรได้นำสามเณรไปที่ดงนั้นแล้วทำตามพวกภิกษุสั่งไว้ เมื่อตระเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว หัวหน้าโจรได้ถือดาบเดินเข้าไปหาสามเณรหวังจะตัดคอ สามเณรได้นั่งเข้าฌานนิ่งอยู่ พอไปถึงหัวหน้าโจรก็ฟันลงเต็มแรงปรากฏว่าดาบงอ เขาเข้าใจว่าฟันไม่ดี จึงยกดาบขึ้นฟันใหม่ ปรากฏว่า ดาบพับม้วนจนถึงด้าม

หัวหน้าโจนเห็นปาฏิหาริย์เช่นนี้เกิดอัศจรรย์ใจยิ่งนักคิดว่า "ดาบเราฟันหินยังขาด แต่บัดนี้ได้งอพับดังใบตาล ดาบนี้ไม่มีจิตใจยังรู้คุณของสามเณร เรามีจิตใจยังไม่สำนึกเสียอีก"

ได้ทิ้งดาบลงดินแล้วคุกเข่าลงกราบสามเณร พร้อมถามว่า "เณรน้อย คนเป็นพันเห็นพวกผมแล้วต้องตัวสั่นวิ่งหนีไป แต่สำหรับท่านแล้วแม้เพียงความสะดุ้งแห่งจิตก็มิได้มีเลย หน้าตาก็ผุดผ่องแจ่มใส ทำไมท่านจึงไม่ร้องขอชีวิตเล่า"
สามเณรออกจากฌานแล้วแสดงธรรมแก่หัวหน้าโจรว่า "โยม ธรรมดาอัตภาพของพระอรหันต์เป็นเหมือนของหนักวางอยู่บนศีรษะ พระอรหันต์เมื่ออัตภาพนี้แตกไปย่อมยินดี พระอรหันต์จึงไม่กลัวตาย ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่พระอรหันต์ผู้ไม่มีความห่วงใย ผู้ก้าวล่วงภัยทุกอย่างได้แล้ว" หัวหน้าโจรพอได้ฟังคำสามเณรแล้ว พร้อมลูกน้องทั้งหมดได้ไหว้สามเณรแล้วขอบวช

สามเณรได้ตัดผมและชายผ้าด้วยดาบของโจรเหล่านั้นแล้วให้บวชเป็นสามเณรถือศีล ๑๐ เสร็จแล้วได้พาสามเณรเหล่านั้นกลับไปยังที่พักสงฆ์ให้พวกภิกษุทราบความปลอดัยของตนแล้ว ได้อำลาพวกภิกษุพาสามเณรเหล่านั้นไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมเทศนาว่า "ผู้มีศีลแม้มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวยังประเสริฐกว่าการทำโจรกรรมไม่มีศีลมีชีวิตอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี" ในเวลาจบพระธรรมเทศนา สามเณรเหล่านั้นได้บรรลุพระอรหันต์ทั้งหมด

ที่มา : ชาดกและประวัติพุทธสาวก-พุทธสาวิกา โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม


   ความคิดเห็น



• เธ‚เธฒเธขเธ—เธตเนˆเธ”เธดเธ™ เธฃเธงเธก 41 เน„เธฃเนˆ เนเธšเนˆเธ‡เธ‚เธฒเธข 9 เนเธ›เธฅเธ‡ เธ•เธดเธ”เธ–เธ™เธ™เธ—เธฒเธ‡เธซเธฅเธงเธ‡เธŠเธ™เธšเธ— 2035 เธ•.เธเธฒเธขเนเธเน‰เธง เธญ.เธ เธนเน€เธžเธตเธขเธ‡ เธˆ.เธ™เนˆเธฒเธ™

• เธ›เธเธดเธšเธฑเธ•เธดเธ˜เธฃเธฃเธกเธงเธฑเธ™เธ›เธตเนƒเธซเธกเนˆ เนเธšเธšเน€เธˆเน‚เธ•เธงเธดเธกเธธเธ•เธด 28 เธ˜เธ„. 67 โ€“ 1 เธกเธ„. 68 เธ“ เธ›เธฑเธ“เธ‘เธดเธ•เธฒเธฃเธกเธขเนŒเธชเธฃเธฐเธšเธธเธฃเธต

• เธ‚เธญเน€เธŠเธดเธเธฃเนˆเธงเธกเธšเธธเธเธ‰เธฅเธญเธ‡เธชเธกเน‚เธ เธŠเธžเธฃเธฐเธ˜เธฒเธ•เธธเน€เธˆเธ”เธตเธขเนŒ/เน€เธชเธ™เธฒเธชเธ™เธฐ เนเธฅเธฐเธ–เธงเธฒเธขเธˆเธฑเธ”เธ‹เธทเน‰เธญเธ—เธตเนˆเธ”เธดเธ™เนƒเธ™เธเธฒเธฃเธชเธฃเน‰เธฒเธ‡เธญเธธเน‚เธšเธชเธ– เธงเธฑเธ”เธ”เธญเธ™เธ›เธดเธ™ เธ•.เธ—เธธเนˆเธ‡เธฃเธงเธ‡เธ—เธญเธ‡ เธญ.เนเธกเนˆเธงเธฒเธ‡ เธˆ.เน€เธŠเธตเธขเธ‡เนƒเธซเธกเนˆ 12-15 เธเธธเธกเธ เธฒเธžเธฑเธ™เธ˜เนŒ 2568

• "เธœเธนเน‰เธ•เธทเนˆเธ™เธญเธขเธนเนˆ" (เธชเธกเน€เธ”เน‡เธˆเธžเธฃเธฐเธเธฒเธ“เธชเธฑเธ‡เธงเธฃเธฏ)

• เธฅเธดเธ‡เน€เธˆเน‰เธฒเธ›เธฑเธเธเธฒ (เธงเธฒเธ™เธฃเธดเธ™เธ—เธŠเธฒเธ”เธ)

 ธรรมะไทย