คำว่ากรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติหมายความว่าอย่างไร เพราะบางคนพ่อแม่ดี แต่ลูกไม่ดี บางคนครอบครัวดีแต่มีบริวารนำความเดือดร้อนมาให้ บางคนลูกดีแต่บุพพการีไม่ดี ถ้าจะ
ถือว่าชาติก่อนมีความสัมพันธ์กับชาตินี้ก็จะต้องหมายความว่า พ่อแม่พี่น้องเพื่อนฝูงที่เคยพัวพันกันมาจะต้องไปพบกันทุกชาติเช่นนั้นหรือจึงมีการกล่าวถึงคำว่า "ทำกรรมร่วมกันมา"
คำว่า "กรรมร่วมกันมาแต่อดีตชาติ" เป็นคำที่หมายถึงคนสองคน หรือสองฝ่ายเคยทำอะไรร่วมกันมาจะเป็นทางดีก็ได้ทางไม่ดีก็ได้ เช่น เคยทำบุญร่วมกันมา เคยร่วมปล้นฆ่าคนมาด้วยกัน เป็นต้น การกระทำที่ทำร่วมกันอย่างนี้แหละที่เรียกว่า “กรรมร่วมกันมา” ถ้าเป็นกรรมในชาติก่อนๆ ก็เรียกว่าเป็นกรรมในอดีตชาติ ความจริงมิใช่เพราะกรรมเท่านั้นที่จะส่งผลให้มาพบกันในชาตินี้ แม้เวรที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผูกกันไว้หรือผูกไว้ทั้งสองฝ่ายก็เป็นเหตุส่งให้มาพบกันในชาตินี้ได้เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงมักพูดติดต่อกันว่า "กรรมเวร"
ความเข้าใจที่ว่า ถ้าถือว่าชาติก่อนมีความสัมพันธ์กับชาตินี้ก็จะต้องหมายความว่า พ่อแม่พี่น้องเพื่อนฝูงที่เคยพัวพันกันมาจะต้องไปพบกันทุกชาตินั้นยังเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด
อันที่จริงชาติก่อนมีความสัมพันธ์กับชาตินี้จริงในฐานะเป็นชาติที่เป็นเหตุให้เกิดมีชาตินี้ขึ้น แต่พ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตรในชาติก่อนนั้น หาได้เกิดพบกันทุกชาติไม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นกับเงื่อนไขที่ว่า เมื่อพ่อแม่พี่น้อง ญาติมิตรนั้นๆ ได้ทำกรรมจะดีหรือไม่ก็ตามหรือได้มีเวรต่อกันมา กรรมและเวรอันนั้นแหละ ก็จะส่งผลให้เกิดมาพบกันในชาติต่อไปแต่จะทุกชาติหรือไม่ ก็แล้วแต่กรรมเวรที่จะก่อใหม่อีก
นัยตรงข้ามหากพ่อแม่พี่น้องญาติมิตรมีความผูกพันกันเพียงสายเลือดซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ หาได้ทำกรรมดีกรรมชั่วหรือผูกเวรกันไว้ไม่อย่างนี้ ก็ไม่มีสาเหตุอันใดที่จะทำให้ไปเกิดพบกันอีก คือ ไม่มีกรรมเวรร่วมกันนั่นเอง
เรื่องกรรมเรื่องเวรเป็นเรื่องลึกซึ้งและละเอียดอ่อนมากยากที่จะอธิบายให้เห็นแจ้งด้วยหน้ากระดาษเพียงเท่านี้ได้ แต่ผู้สนใจในเรื่องนี้ศึกษาได้จากตำราและจากการสังเกตชีวิตจริงของตนและของคนอื่นจะช่วยความเข้าใจได้มาก
เราอาจแบ่งบุคคลในกรณีนี้ได้๓ประเภทด้วยกัน คือ
๑.ประเภทดีด้วยกันคือ ทั้งสองฝ่ายหรือทั้งหมดได้เคยทำบุญทำความดีสร้างบารมีร่วมกันมา เรียกว่ามีดีเท่ากันว่างั้นเถอะประเภทนี้ก็มักจะเกิดมาดีด้วยกัน
ได้ดีพอๆ กัน เช่น ตำนานเรื่องมฆมาณพ สร้างถนนสร้างศาลามาด้วยกันกับพวกอีก ๓๒ คน ตายไปแล้วได้เสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นต้น ประเภทนี้ความดีมีเท่ากันจึงได้ดี
ได้พบความดีมีสุขและเสวยความดีอยู่ด้วยกันได้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าผู้มีคุณธรรมเสมอกันนั่นเอง ที่เห็นง่ายๆ ในประเทศนี้ก็คือ ถ้าเป็นสามีภรรยากันสามีก็ดีภรรยาก็ดีไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันเห็นอกเห็นใจกัน เรียกว่า ดีทั้งคู่ถ้าเป็นพ่อแม่ลูกกันก็ดีทั้งพ่อทั้งแม่ทั้งลูกพ่อแม่ก็รักลูก ทำเพื่อลูกและเป็นผู้นำที่ดีของลูก ฝ่ายลูกก็เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่เชื่อฟังตั้งอยู่ในโอวาทรักเคารพพ่อแม่ด้วยใจจริง ถ้าเป็นเพื่อนก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันช่วยเหลือกันด้วยน้ำใจไม่ชักชวนกันไปในทางเสียหาย
เป็นต้น
๒.ประเภทเสียด้วยกันคือทั้งสองฝ่ายเคยทำบาปทำกรรมร่วมกันมา
มีความชั่วพอๆกันชอบ
เรื่องร้ายๆพอกันอย่างนี้ก็เกิดมาพบกันอีกและอยู่ด้วยกันได้
แม้จะลุ่มๆดอนๆก็ไม่ค่อยแยกกัน
ถึงคราวสุขก็สุขด้วยกันถึงคราวทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกันได้ประเภทนี้ก็เช่นกัน
ถ้าเป็นสามีภรรยากัน
ก็ประเภทหญิงร้ายชายเลวนั่นแหละหรืออย่างพวกนักเลงเที่ยว
นักเลงพนันนักเลงสุราจน
กระทั่งนักเลงปล้นจี้เป็นต้นคือชอบอย่างเดียวกันย่อมไปด้วยกันได้
๓.ประเภทมีเวรต่อกันคือประเภทที่อีกฝ่ายหนึ่งอาจดี
แต่อีกฝ่ายอาจเสียฝ่ายดีก็จะถูกฝ่าย
เสียคอยรบกวนคอยรังควานคอยทำลายอยู่เรื่อยไม่โดยตรงก็โดยอ้อม อย่างกรณีที่ยกตัวอย่าง
มา เช่น บางรายพ่อแม่ดีแต่ลูกไม่ดีบางรายครอบครัวดีแต่บริวารนำความเดือดร้อนมาให้นั่น
แหละกรณีอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ยังผูกเวรจองกรรมไว้จึง
ต้องมาพบกันคอยขัดขวางกันอยู่ร่ำไปไม่ต้องอื่นไกลหรอกแม้แต่พระพุทธองค์ยังทรงมีมาร
คอยผจญมีพระเทวทัตคอยทำลายและมีนักบวชต่างศาสนาคอยล้างผลาญเลยนี่แหละอำนาจ
ของเวรล่ะลองได้ก่อไว้หรือถูกก่อไว้ก็เป็นได้ตามผจญกันไม่สิ้นสุดสักที ประดุจเวรของงูกับพังพอนเวรของกากับนกเค้าและเวรของมนุษย์ผู้ถือตัวจัดในเรื่องศาสนากับผิวในปัจจุบัน
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ละเวรเสียอย่างน้อยก็ด้วยการรักษาศีลตั้งมั่นอยู่ในศีลเพราะศีลเป็นเวรมณี เป็นข้อปฏิบัติที่ทำให้หมดเวรได้แม้อย่างกรรมก็เช่นกัน ไม่ว่าจะทำคนเดียวหรือร่วมทำกับ
ใครหากเป็นกรรมชั่วกรรมเสียแล้วท่านว่าไม่ควรทำทั้งนั้น
|
|