ค้นหาในเว็บไซต์ :

กรรม

  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๑๕ : หลักกรรมสำหรับคนสมัยใหม่ ( ๒๑ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

ท่านกำลังจะพูดถึงเงื่อนไขสำคัญ ซึ่งทำให้การทำดี ได้ผลดีสมดังปรารถนาเงื่อนไขที่ว่านั้น ท่านเรียกว่า สมบัติ ๔ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ( ป.อ. ปยุตฺโต ) ท่านได้ให้ คำอธิบายไว้ว่า

"พระพุทธเจ้าทรงให้หลักอีกหลักหนึ่ง ดังที่ปรากฏในอภิธรรม บอกไว้ว่าการที่กรรมจะให้ผลต่อไป จะต้องพิจารณาเรื่องสมบัติ ๔ และวิบัติ ๔ ประกอบด้วยคือตอนได้มะม่วง แล้วจะรวยหรือไม่ ต้องเอาหลักสมบัติ ๔ วิบัติ ๔ มาพิจารณาสมบัติ คือองค์ประกอบที่อำนวยช่วยเสริมกรรมดี สมบัตินี้มี ๔ อย่าง เรียกว่า คติ อุปธิ กาล ปโยค

๑. คติ คือถิ่นที่ ทางไปต่างๆ เกี่ยวกับสถานที่ เทศะ
๒. อุปธิ คือร่างกาย
๓. กาล คือกาลเวลา ยุคสมัย
๔. ปโยค คือการประกอบ หรือการลงมือทำ

นี้เป็นความหมายตามศัพท์ ฝ่ายตรงข้าม คือวิบัติ ก็มี ๔ เหมือนกัน คือถ้าคติ อุปธิกาลปโยคดี ช่วยส่งเสริม ก็เรียกว่า เป็นสมบัติ ถ้าหากไม่ดี มาทำลาย ก็เรียกว่าเป็น วิบัติลองมาดูว่า หลัก ๔ นี้ มีผลอย่างไร ?

สมมติว่า คุณ ก. กับ คุณ ข. มีวิชาดีเท่ากัน ขยัน นิสัยดีทั้งคู่ แต่เขาต้องการรับคนงานที่เป็นคนต้อนรับ ปัจจุบันเรียก Receptionist ทำหน้าที่รับแขก ปฏิสันถาร
คุณ ก. ขยัน มีนิสัยดี ทำหน้าที่รับผิดชอบดี แต่หน้าตาไม่สวย คุณ ข. หน้าตาสวยกว่า เขาก็ต้องเลือกเอาคุณ ข. แล้วคุณ ก. จะบอกว่า ฉันขยัน อุตส่าห์ทำดี ไม่เห็นได้ดีเลย เขาไม่เลือกไปทำงาน... แสดงว่า "ตัวเองมีอุปธิวิบัติ เสียหายด้านร่างกาย"

หรืออย่างคน ๒ คน ต่างก็มีความขยันหมั่นเพียร มีความดี แต่ว่าคนหนึ่งร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคออดๆแอดๆ เวลาเลือก คนขี้โรคก็ไม่ได้รับเลือก นี้เรียกว่า อุปธิวิบัติในเรื่องคติ คือที่ไปเกิด ถิ่นฐาน ทางดำเนินชีวิต ถ้าจะอธิบายแบบช่วงยาว ข้ามภพข้ามชาติ ก็เช่นว่า คนหนึ่งทำกรรมมาดีมากๆ เป็นคนที่สั่งสมบารมีมาตลอดแต่พลาดนิดเดียว ไปทำกรรมชั่วนิดหน่อย แล้วเวลาจะตายจิตไปประหวัดถึงกรรมชั่วนั้น กลายเป็นอาสันนกรรม ทำให้ไปเกิดในนรก สมมติอย่างนี้ พอดีช่วงนั้น พระพุทธเจ้ามาตรัส ทั้งที่แกสั่งสมบุญมาเยอะ ถ้าได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัส แกมีโอกาสมาก ที่จะบรรลุธรรมขั้นสูงได้ แต่แกไปเกิดอยู่ในภพที่ไม่มีโอกาสเลย ก็เลยพลาด นี่เรียกว่า คติวิบัติทีนี้ พูดช่วงสั้นในชีวิตประจำวัน

สมมติว่าท่านเป็นคนมีสติปัญญาดี แต่ไปเกิดในดงคนป่า แทนที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งกล้าสามารถ อย่างไอน์สไตน์ ก็ไม่ได้เป็น อาจจะมีปัญญาดีกว่าไอน์สไตน์อีก แต่เพราะไปเกิดในดงคนป่า จึงไม่มีโอกาสพัฒนาปัญญานั้นนี่เรียกว่า คติเสีย ก็ไม่ได้ผลนี้ขึ้นมา นี่คือเรื่อง คติบัติ






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย