หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๐ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๒ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

     พระเดชพระคุณพระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต ) กำลังจะพูดถึงความคลาดเคลื่อนสับสนใน
 เรื่องกรรม
 
   เรื่องแรก คือความสับสนคลาดเคลื่อนในความหมาย "หลักกรรมนี้ มีอะไรที่เป็นความสับสน
 คลาดเคลื่อน เข้ามาปิดบังคลุมอยู่ ขอให้ท่านทั้งหลาย ลองมาช่วยกันพิจารณาดู อาตมภาพว่า
 มีหลายอย่างทีเดียวในความเข้าใจของคนไทยทั่วๆไป หรือแม้แต่จำกัดเฉพาะในหมู่พุทธ
 ศาสนิกชนพอพูดถึงคำว่ากรรม ก็จะเกิดความเข้าใจในความคิดของแต่ละท่าน ไม่เหมือนกัน
 แล้ว กรรมในแง่ของคนทั่วๆไป อาจจะมีความหมายอย่างหนึ่ง และกรรมในความหมายของ
 นักศึกษาชั้นสูง ก็อาจจะเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง ไม่ตรงกันแท้ทีเดียว ตัวอย่างเช่น ในสำนวนภาษา
 ไทย เราพูดกันบ่อยๆว่า "ชาตินี้มีกรรม"หรือว่า "เราทำมาไม่ดี ก็ก้มหน้ารับกรรมไปเถิด"
 หรือว่า "อะไรๆ ก็สุดแต่บุญกรรมก็แล้วกัน " อย่างนี้เป็นต้น
 
   สำนวนภาษาเหล่านี้ แสดงถึงความเข้าใจ คำว่า "กรรม" ในความคิดของคนทั่วไป และขอให้
 ท่านทั้งหลายมาช่วยกันพิจารณาดูว่า ในคำพูดซึ่งส่อถึงความเข้าใจ มันมีอะไรถูกต้อง หรือ
 คลาดเคลื่อนไปบ้าง จากคำที่อาตมภาพได้ยกมาอ้างนั้น ก็พอมองเห็นความเข้าใจของคนทั่วไป
 เกี่ยวกับกรรมว่า
 
   ประการแรก คนโดยมากมองกรรมไปในแง่ตัวผล คือเป็นผลของการกระทำ เพราะฉะนั้น เรา
 จึง พูดว่า ก้มหน้ารับกรรม คำว่า กรรม ในที่นี้เป็นผล หรือว่า เราไปเห็นคนได้รับภัยพิบัติหรือ
 เหตุร้าย ประสบทุกข์ยากต่างๆ เราบอกว่านั่นกรรมของสัตว์ เท่ากับบอกว่า กรรมก็คือความทุกข์
 ยากอะไรต่ออะไรที่เป็นผลซึ่งเขาได้รับอยู่นั้น ประการต่อไป เราพูดถึงกรรมโดยมุ่งเอาแง่ชั่ว แง่
 ไม่ดี เรื่องร้ายๆ อย่างที่ว่า ก้มหน้ารับกรรม หรือว่ากรรมของสัตว์ ก็หมายถึงแง่ไม่ดีทั้งนั้น คือ
 เป็นเรื่องร้ายๆ เป็นเรื่องทุกข์ เรื่องโศก เรื่องภัยอันตราย ความวิบัติเหตุร้ายนานา นอกจากนั้น
 ก็มุ่งไปในอดีต โดยเฉพาะมุ่งเอาชาติก่อนเป็นสำคัญ
 
   คำที่ว่ามา โดยมากก็มีความหมายส่องที่เดียวไปหมดทั้ง ๓ แง่คือมุ่งเอาในแง่เป็นเรื่องร้ายๆ
 และ เป็นผลของการกระทำในอดีตชาติ ฉะนั้น ก้มหน้ารับกรรมชาตินี้มีกรรม กรรมของสัตว์
 สุดแต่บุญแต่กรรม อะไรทำนองนี้รวมแล้วก็เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องร้ายๆ เป็นเรื่องผล และเป็น
 เรื่องเกี่ยวกับในชาติก่อนทั้งนั้น พูดง่ายๆว่า คนทั่วไปมองความหมาย ของคำว่า กรรม ในแง่
 ของผลร้ายของการกระทำชั่วในอดีตชาติ ทีนี้ลองมาพิจารณาว่า ความหมายที่เข้าใจกันนั้น ถูก
 หรือไม่ ?
 
   อาจจะถูก แต่ว่าถูกไม่หมด ได้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ตามหลักธรรมะที่แท้จริงเพียงหลักต้นๆ
 ท่านก็บอกไว้แล้วว่า กรรมก็คือการกระทำนั่นเองง่ายที่สุดการกระทำอันนี้ ไม่ได้หมายถึงตัวผล
 แต่เป็นตัวการกระทำ หมายถึงในแง่เป็นเหตุมากกว่าเป็นผล จะมุ่งถึงกาลเป็นอดีตก็ได้ ปัจจุบัน
 ก็ได้ อนาคตก็ได้ ไม่เฉพาะต้องเป็นอดีตอย่างเดียว คือปัจจุบันที่ทำอยู่นี้ก็เป็นกรรม แล้วจะมอง
 ในแง่ลักษณะว่า ดีหรือชั่ว ก็ได้ทั้งสองข้าง คือกรรมดีก็มี กรรมชั่วก็มี แล้วแสดงออกได้ทั้งกาย
 ทั้งวาจา ทั้งใจ และที่พูดถึงกรรมอย่างนั้น อย่างนี้ ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องรุนแรง ความ
 จริงนั้น กรรมก็มีตั้งแต่เรื่องเล็กๆน้อยๆ ในความคิดแต่ละขณะ ทุกๆท่านที่นั่งอยู่ในขณะนี้ ก็
 กำลังกระทำกรรมด้วยกันทั้งนั้น อย่างน้อยก็กำลังคิด เพราะอยู่ในที่ประชุมนี้ ไม่สามารถแสดง
 ออกในทางอื่นได้มาก ไม่มีโอกาสจะพูด หรือจะทำอย่างอื่น ก็คิด การคิดนี้ก็เป็นกรรม เพราะ
 ฉะนั้น ในความหมายที่ถูกต้องแล้ว กรรมก็หมายถึงการกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา จะแสดง
 ออกทางกายก็ตาม วาจาก็ตาม หรืออยู่ในใจก็ตามเป็นอดีตก็ตาม ปัจจุบันก็ตาม อนาคตก็ตาม
 ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เป็นกรรมทั้งนั้น
 
   ฉะนั้น ความหมายที่พูดกันทั่วไปนั้น จึงทำให้เกิดความสับสนคลาดเคลื่อนขึ้นมาได้อย่างหนึ่ง
 จะต้องทำความเข้าใจให้ถูกตั้งแต่ต้น เป็นอันว่า ภาษาสามัญที่คนทั่วไปใช้พูดกันนั้น มีข้อคลาด
 เคลื่อนอยู่บ้าง ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องอันนี้เป็นแง่ที่หนึ่ง"


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย