|
|
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๑ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๓ ) |
โ ด ย : พระธรรมปิฎก
( ป.อ.ปยุตฺโต ) |
คลาดเคลื่อนประเด็นที่ ๒ คือความคลาดเคลื่อนในทัศนคติ
ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ คือ ทัศนคติต่อ
ตนเอง กับทัศนคติต่อผู้อื่น
ทัศนคติต่อตนเอง "พอพูดถึงกรรม ทัศนคติของคนทั่วไป
ก็มักจะเป็นไปในแง่ของการทอด
ธุระหรือไม่มีความรับผิดชอบ ทอดธุระอย่างไร ? อันนี้อาจจะแบ่งได้เป็น
๒ ส่วนมองในแง่
ตัวเองอย่างหนึ่ง กับมองในแง่ผู้อื่นอย่างหนึ่ง มองในแง่ตัวเองความรู้สึกทอดธุระ
คือรู้สึก
ว่าย่อท้อ ยอมแพ้ ถดถอย และไม่คิดปรับปรุงตนเอง เช่นในประโยคว่า
"ชาตินี้มีกรรม" หรือ
ว่า "เราทำมาไม่ดี ก้มหน้ารับกรรมไปเถิด"
อันนี้มีแง่ที่พิจารณาได้ทั้งดีและไม่ดี
คือเวลาท่านพูดอย่างนี้ เดิมก็คงมุ่งหมายว่า ในเมื่อเป็น
การกระทำของเราเองทำไว้ไม่ดี เราก็ต้องยอมรับผลของการกระทำนั้น
นี่คือความรู้สึกรับผิด
ชอบต่อตนเอง ยอมรับความผิดที่ตนเองก่อขึ้นแต่การที่พูดอย่างนี้
ท่านไม่ต้องการให้เราหยุด
ชะงักแค่นั้น ไม่ได้ต้องการให้เราหยุดเพียงว่า งอมืองอเท้าหยุดอยู่แล้วไม่ต้องคิดปรับปรุงตน
เอง แต่ท่านต้องการต่อไปอีกด้วยว่า เมื่อเรายอมรับผิดจากการกระทำของเราแล้ว
ในแง่ตัวเรา
เอง เราสำนึกความผิดแล้ว เราจะต้องแก้ไขปรับปรุงตัวเองให้ดี
ต่อไปด้วย แต่ในตอนที่เป็นการ
ปรับปรุงนี้มักไม่ค่อยคิด ก็เลยทำให้ความรู้สึกต่อกรรมนั้นหยุดชะงักแค่การยอมรับ
แล้วก็เป็น
คล้ายกับยอมแพ้ แล้วก็หยุด แล้วก็ท้อถอย ไม่คิดปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าต่อไป
เพราะฉะนั้น เราจะต้องรู้จักแยกให้ครบ ๒ ตอน
คือความรู้สึกรับผิดชอบต่อตนเองตอนหนึ่ง
การที่จะคิดแก้ไขปรับปรุงตนต่อไปตอนหนึ่งความรู้สึกต่อกรรมควรจะมีต่อตนเองทั้ง
๒ ด้าน
คือ ๑. เราจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเอง
๒. ในเมื่อยอมรับส่วนที่ผิดแล้ว
จะต้องคิดแก้ไขปรับปรุงตนเอง เพื่อให้ถูกต้องต่อไปด้วย
ไม่ใช่หยุดเพียงยอมรับผิด
แล้วก็เสร็จกันไปเท่านั้น
ถ้าหากว่า เราใช้ความหมายของกรรม เพียงในแง่ของการยอมรับ
และเสร็จสิ้นไปเท่านั้น ก็
แสดงว่าเราไม่ได้ใช้ประโยชน์ตามหลักคำสอนเกี่ยวกับกรรมอย่างถูกต้องสมบูรณ์
และอาจจะ
ให้เกิดผลเสียได้" |
|
เลือกอ่านเรื่อง
กรรม ที่นี่
|
|