หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๒ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๔ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

     ทัศนคติต่อผู้อื่น "ในแง่ความคลาดเคลื่อนของทัศนคติต่อผู้อื่น ก็เช่นเดียวกัน เวลาเราไปเห็น
 คนได้รับทุกข์ภัย พิบัติอันตรายต่างๆ บางทีเราก็พูดกันว่า นั่นเป็นกรรมของสัตว์พอว่าเป็น
 กรรมของสัตว์ เราก็ปลงเลย แล้วก็ช่างเขา บางท่านก็เลยไปกว่านี้อีกบอกว่าพุทธศาสนานี่ สอน
 ให้วางอุเบกขา ทำเฉยๆ หมายความว่า ใครจะได้ทุกข์ได้ร้อน เราก็ปลงเสียว่า กรรมของสัตว์
 เขาทำมาไม่ดี เขาจึงได้รับผลอย่างนั้นเราก็วางอุเบกขา อันนี้ก็เป็นแง่ที่ไม่ถูก ต้องระวังเหมือน
 กัน ในแง่ต่อผู้อื่น ทัศนคติก็จะต้องมี ๒ ด้านเหมือนกัน จริงอยู่ คนอื่นเขาได้รับภัยพิบัติเหตุร้าย
 อะไรขึ้นมา เราควรพิจารณาว่า อันนั้นเป็นผลของการ กระทำของเขา เช่นคนที่ไปประพฤติชั่ว
 ถูกจับมาลงโทษ อันนั้นอาจจะพิจารณาได้ว่า กรรมของสัตว์จริงที่จริงไม่ใช่เราพูดในแง่ผล
 หรอก กรรมของสัตว์นั้น เราพูดเลยไปถึงอดีตว่าเพราะการกระทำของเขาที่ไม่ดีแต่ก่อน เขา
 จึงมาได้รับผลที่ไม่ดีในบัดนี้
 
   ถ้าจะพูดให้เต็ม น่าจะบอกว่า อันนี้เป็นผลของกรรมของสัตว์ ไม่ใช่กรรมของสัตว์ แต่พูดย่อๆ
 ก็เลยบอกว่า กรรมของสัตว์ นี้ก็ถูกอยู่ชั้นหนึ่ง ว่าเราเป็นคนรู้จักพิจารณาเหตุผล คือชาวพุทธ
 เป็นคนมีเหตุมีผล เมื่อเห็นผล หรือสิ่งใดปรากฏขึ้นมา เราก็คิดว่า นี่ต้องมีเหตุ เมื่อเราได้ประสบ
 ผลร้าย ได้ถูกลงโทษอะไรอย่างนี้ มันก็ต้องมีเหตุ ซึ่งอาจจะเป็นการกระทำไม่ดีของเขาเอง อันนี้
 แสดงถึงความมีเหตุมีผลในเบื้องต้น คือวางใจเป็นกลาง พิจารณาให้เห็นเหตุผลตามความเป็น
 จริงเสียก่อน อย่างนี้ก็เป็นการแสดงอุเบกขาที่ถูกต้องอุเบกขาที่ถูกต้องนั้น ก็เพื่อดำรงธรรมไว้
 รงธรรมอย่างไร ?
 
   การวางใจเป็นกลาง ในเมื่อเขาสมควรได้รับทุกข์โทษนั้น ตามสมควรแก่การกระทำของตน
 เราต้องวางอุเบกขา เพราะว่าจะได้เป็นการรักษาธรรมไว้ อันนี้เป็นการถูกในท่อนที่หนึ่ง คือ
 อุเบกขาเพื่อดำรงความเป็นธรรม หรือรักษาความยุติธรรมไว้แต่อีกตอนหนึ่งที่หยุดไม่ได้ก็คือ
 ว่า นอกจากมีอุเบกขาแล้ว ในแง่ของความกรุณาก็ต้องคิดด้วยว่าเมื่อเขาได้รับทุกข์ภัยพิบัติแล้ว
 เราควรจะช่วยเหลือะไรบ้าง บางทีพุทธบริษัทก็พิจารณาปล่อยทิ้งไปเสียหมด ไปเห็นคนยากคน
 จน อะไรต่ออะไร ก็กรรมของ สัตว์หมด เลยไม่ได้คิดแก้ไขปรับปรุง หรือช่วยเหลือกัน ทำให้
 ขาดความกรุณาไป แทนที่จะเน้นเรื่องความกรุณากันบ้าง ก็เลยไปมัวเน้นเรื่องอุเบกขาเสีย ที่จริง
 ธรรมเหล่านี้ ต้องใช้ให้ตรงเรื่องเหมาะเจาะแม้แต่กรณีที่คนได้รับโทษ เราวางอุเบกขากับคนที่
 เขาได้รับโทษนั้น เราก็ต้องมีกรุณาอยู่ในตัวเหมือนกัน เราอุเบกขากับคนที่เขาได้รับโทษ เพราะ
 เรามีความกรุณา
 
   เรามีเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น บุคคลผู้นี้ได้รับโทษ เพื่อให้คนทั้งหลายเหล่าอื่นจำนวน
 มากได้มีความสุข อยู่ด้วยความสงบเรียบร้อย หรือแม้แต่เป็นความกรุณาและ เมตตาต่อตัวผู้ได้
 รับโทษเองว่า ผู้นี้ เมื่อเขาได้รับโทษอย่างนี้ แล้ว เขาจะได้สำนึกตน ประพฤติตนเป็นคนดีต่อไป
 จากนั้นก็ต้องคิดต่อไปอีกว่าเมื่อเขาได้รับทุกข์โทษของเขาแล้ว เราจะช่วยเหลือเขาให้พ้นจาก
 ความทุกข์นั้น และพบความสุขความเจริญได้ อย่างไร อันนี้ก็มีความเมตตากรุณาแฝงอยู่ในนั้น
 ไม่ใช่เป็นสักแต่ว่า อุเบกขาอย่างเดียว อันนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน ท่าทีของความรู้สึกต่อ
 เรื่องกรรมที่ไม่ครบถ้วนบางทีก็ทำให้มีผลเสียได้ ถ้าอย่างไรก็ควรจะมีให้ครบทุกอย่าง เป็นอัน
 ว่าทัศนคตินี้ บางทีก็คลาดเคลื่อนในแง่ทั้งต่อตนเองและต่อคนอื่น
 
   ต่อตนเองนั้น...
 ๑. ต้องมีความรับผิดชอบ
 ๒. ต้องมีความคิดแก้ไขปรับปรุงอยู่ด้วยพร้อมกัน และในแง่ต่อผู้อื่น ก็ไม่ใช่เอาแต่อุเบกขาอย่าง
      เดียว จะต้องมีเมตตากรุณาด้วย ในส่วนใดที่ควรวางอุเบกขาก็วางด้วยเหตุผล เพื่อรักษา
      ความเป็นธรรม หรือดำรงธรรมของสังคมไว้และในแง่ของความเมตตากรุณา ก็เพื่อประ
      โยชน์ของบุคคลนั้นเอง และเพื่อประโยชน์คนส่วนใหญ่ด้วยต้องมี และมีไปได้พร้อมกัน อัน
      นี้เป็นแง่ทัศนคติ ซึ่งบางทีก็ลืมย้ำลืมเน้นกันไป"


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย