หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๔ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๖ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

     "พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะมีทิฐิอย่างนี้ว่าสุขก็ดี
 ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้เสวย ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะกรรมที่ตัวได้ทำไว้ในปางก่อนโดย
 นัยดังนี้ เพราะกรรมเก่าหมดสิ้นไปด้วยตบะ ไม่ทำกรรมใหม่ก็จะไม่ถูก บังคับต่อไปเพราะไม่
 ถูกบังคับต่อไปก็สิ้นกรรม เพราะสิ้นกรรมก็สิ้นทุกข์เพราะสิ้นทุกข์ ก็สิ้นเวทนา เพราะสิ้นเวทนา
 ก็เป็นอันสลัดทุกข์ได้หมดสิ้น ภิกษุทั้งหลาย พวกนิครนถ์ มีวาทะอย่างนี้ อันนี้มาในเทวทหสูตร
 พระไตรปิฎกเล่ม ๑๔ มัชฌิมนิกายอุปริปัณณาสก์ พุทธพจน์ที่ยกมาอ้างนี้ แสดงลัทธินิครนถ์
 หรือศาสดามหาวีระ นิครนถนาฏบุตร ที่เขา เรียกกันทั่วไปว่า ศาสนาเชน ศาสนาเชน ว่า
 ปุพเพกตวาท
 
   เมื่อพูดถึงเรื่องนี้แล้ว อาตมภาพก็เลยอยากจะพูดถึงลัทธิที่ จะต้องแยกออกจากหลักกรรมให้
 ครบทั้งหมด ขอให้กำหนดไว้ในใจทีเดียวว่า เราจะต้องแยกหลักกรรมของเราออกจากลัทธิที่
 เกี่ยวกับเรื่องสุขทุกข์ของมนุษย์ที่ได้รับในปัจจุบัน ๓ ลัทธิในสมัยพุทธกาลนั้น มีคำสอนสำคัญ
 อยู่ ๓ ลัทธิ ที่กล่าวถึงทุกข์สุขที่เราได้รับอยู่ในขณะนี้ถึงปัจจุบันนี้ ลัทธิศาสนาทั้งหมดเท่าที่มี
 ก็สรุปลงได้เท่านี้ ไม่มีพ้นออกไปพระพุทธเจ้าเคยตรัสถึงลัทธิเหล่านี้ และบอกว่า คำสอนของ
 พระองค์ไม่ใช่คำสอนในลัทธิเหล่านี้ลัทธิเหล่านั้น เป็นคำสอนประเภท อกิริยา
 
   อกิริยา คือหลักคำสอน หรือทัศนะแบบที่ทำให้ไม่เกิดการกระทำ เป็นมิจฉาทิฐิอย่างร้ายแรง
 อาตมภาพจะอ่านลัทธิมิจฉาทิฐิ ๓ ลัทธินี้ ตามนัยพุทธพจน์ที่มาใน อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต
 พระสุตตันตปิฎกบาลี เล่ม ๒๐ และในคัมภีร์วิภังค์ แห่ง อภิธรรมปิฎก พระพุทธองค์ตรัสว่า
 "ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ลัทธิเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถามซักไซร้ไล่เลียงเข้าย่อมอ้างการ
 ถือสืบๆกันมา จัดเข้าในพวกอกิริยา คือ
 
 ๑. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่าง
 หนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวยทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำในปางก่อน ลัทธิ
 นี้เรียกว่า ปุพเพกตเหตุ ( ปุพเพกตวาท )
 
 ๒. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่าง
 หนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวยทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นเพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า
 เรียกว่า อิสสรนิมมานเหตุ ( อิศวรนิรมิตวาท )
 
 ๓. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดีอย่าง
 หนึ่งอย่างใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวยทั้งหมดนั้น ล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้ เรียกว่า
 อเหตุอปัจจยะ ( อเหตุวาท )
 
   ลัทธิทั้ง ๓ นี้ ท่านพุทธศาสนิกชนฟังแล้ว อาจจะข้องใจขึ้นมา เอ ลัทธิที่หนึ่งดูคล้ายกับหลัก
 กรรมในพุทธศาสนาของเรา บอกว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี ที่เราได้รับอยู่ใน
 ปัจจุบันนี้ เป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน เอ ดูเหมือนกันเหลือเกิน นี่แหละเป็นเรื่อง
 สำคัญถ้าหากว่าเราได้ศึกษาเปรียบเทียบเสียบ้าง บางทีจะทำให้เราเข้าใจ หลักกรรมของเรา
 ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าไม่ระวัง เราอาจจะนำเอาหลักกรรมของเรานี้ ไปปรับปรุง เป็นหลักกรรมของ
 ศาสนาเดิม ที่พระพุทธเจ้าต้องการแก้ไข โดยเฉพาะคือลัทธิของท่านนิครนถนาฏบุตรเข้าก็ได้
 เพราะฉะนั้น อาตมภาพ จึงเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ทีนี้ ทำไมพระพุทธเจ้าจึงได้ทรงตำหนิลัทธิ
 ทั้ง ๓ นี้เล่า ?
 
   พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงโทษของการนับถือลัทธิ ๓ ลัทธินี้ไว้ อันนี้จะขออ่านตามนัยพุทธ
 พจน์เหมือนกัน พระพุทธองค์ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอากรรมที่ทำไว้ใน
 ปางก่อนเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดี ว่าสิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ ก็ย่อมไม่มี"
 ส่วนเรื่องของอีก ๒ ลัทธิก็เช่นเดียวกัน เมื่อนับถือพระผู้เป็นเจ้า หรือความบังเอิญ ไม่มีเหตุ
 ปัจจัยแล้ว ฉันทะก็ดี ความเพียรพยายามก็ดี ว่าอันนี้ควรทำ อันนี้ไม่ควรทำ ก็ย่อมไม่มี เมื่อ
 ถือว่าผลอะไรที่เราจะได้รับ มันก็แล้วแต่กรรมที่ทำไว้แต่ปางก่อน มันจะสุขทุกข์อย่างไรก็แล้ว
 แต่กรรมที่ทำไว้ในชาติก่อน เราก็จะไม่เกิดฉันทะความเพียรพยายาม ว่าเราควรจะทำอะไรถึง
 เรื่องพระผู้เป็นเจ้าก็เหมือนกัน อ้อนวอนเอาก็แล้วกัน หรือว่าแล้วแต่พระองค์จะโปรดปรานที่
 จะมาคิดเพียรพยายามทำด้วยตนเองก็ไม่มี ผลที่สุดก็ต้องสอนสำทับเพิ่มเข้าไปอีกว่า พระเจ้า
 จะช่วยเฉพาะคนที่ช่วยตนเองก่อนเท่านั้น ไปๆมาๆก็เข้าหลักกรรม
 
   ความบังเอิญ ไม่มีเหตุปัจจัยก็เช่นเดียวกัน ก็เราจะต้องไปทำอะไรทำไม ทำก็ไม่ได้ผลอะไร
 เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย บังเอิญไปก็ต้องเป็นอย่างนั้นไม่ต้องทำอะไร ผลจะเกิดก็เกิดเอง
 แล้วแต่โชครวมความว่า ๓ ลัทธินี้ ข้อเสียหรือจุดอ่อนก็คือ ทำให้ไม่เกิดความเพียรพยายาม
 ในทางความประพฤติปฏิบัติ ไม่เกิดฉันทะในการกระทำส่วนหลักกรรมในพระพุทธศาสนา
 มองเทียบแล้วก็คือว่า จะต้องให้เกิดฉันทะ เกิดความเพียรที่จะทำ ไม่หมดฉันทะ ไม่หมด
 ความเพียร อันนี้เป็นหลักตัดสินในแง่ทางปฏิบัติ"


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย