หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๖ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๘ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

     ขั้นต่อไป คือเราควรจะทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องในหลักกรรมของเราอย่างไร ?
 
   ประะการแรก เราจะต้องศึกษาความหมายให้ชัดเจน อย่าเพิ่งไปเชื่อ หรือยึดถือตามที่เข้าใจ
 กันว่าพูดกันอย่างนั้นก็เป็นอันถูกต้อง อย่าเพิ่ง ต้องศึกษาให้เห็นชัดเจนให้เข้าใจแจ่มแจ้งว่า
 พระพุทธเจ้าต้องการอะไรกันแน่ เมื่อกี้เราจะเห็นว่า ความเชื่อของเราในปัจจุบันนี้ คล้ายกับลัทธิ
 กรรมเก่ามากอย่างไร แต่ในทางตรงกันข้าม ก็อาจเกิดความข้องใจว่า เอ พุทธศาสนานี้ไม่เชื่อ
 กรรมเก่าเลยหรืออย่างไร ก็ไม่ใช่อย่างนั้นจะต้องทำความเข้าใจขอบเขตให้ถูกต้องว่า กรรมเก่า
 แค่ไหน กรรมใหม่แค่ไหน
 
   ถ้าว่าโดยสรุปก็คือ พุทธศาสนาถือหลักแห่งเหตุและผล ถือว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย
 ผลที่จะเกิดขึ้นต้องมีเหตุ และเมื่อเหตุเกิดขึ้นแล้ว ผลก็ย่อมเป็นไปโดยอาศัยเหตุปัจจัยนั้น มัน
 สอดคล้องกันอยู่ในเรื่องกรรมนี้ก็เช่นเดียวกันกรรมเป็นเรื่องของหลักเหตุผล ที่เกี่ยวกับการ
 กระทำของมนุษย์เมื่อมันเป็นหลักของเหตุผลแล้ว มันก็ต้องมีทั้ง ๓ กาลนั่นแหละ มันต้องมีทั้ง
 อดีต ทั้งปัจจุบันทั้งอนาคต
 
   เพราะฉะนั้น ก็ไม่ได้ปฏิเสธกรรมเก่า แต่ที่ผิดก็คือ ไปฝังจิตฝังใจว่า อะไรๆต้องเป็นเพราะ
 กรรมเก่าไปหมด นี่มันเป็นข้อเสียพุทธศาสนาถือว่า กรรมเก่านั้นมันเสร็จไปแล้วเราย้อนกลับไป
 ทำ หรือไม่ทำอีกไม่ได้ "กตสฺส นตฺถิ ปฏิการํ" การกระทำที่ทำไปแล้ว เราไปหวนกลับ ให้กลาย
 เป็นไม่ได้ ทำไม่ได้ ทีนี้ประโยชน์ที่เราจะได้จากกรรมเก่ามีอะไร มันเป็นเหตุปัจจัยอยู่ในกระบวน
 การของวงจร ปฎิจจสมุปบาท มันเกิดขึ้นมาแล้ว มันเป็นเหตุเราปฏิเสธไม่ได้ตามหลักของเหตุ
 ผล การกระทำในอดีต ก็คือการกระทำที่ทำไปแล้ว มันย่อมต้องมีผล ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า เราควร
 จะได้ประโยชน์จากอดีตอย่างไร ทำไปแล้ว แก้ให้กลายเป็นไม่ทำน่ะไม่ได้ แต่ว่าเรามีทางใช้
 ประโยชน์จากมันได้คือในแง่ที่จะทำให้เกิดเป็นบทเรียนแก่ตนเองอย่างหนึ่ง และการที่จะรู้จัก
 พิจารณาไตร่ตรองมองเห็นเหตุผล และทำให้เป็นคนรู้จักผิดชอบตนเองไม่มัวโทษผู้อื่นอยู่
 เรื่อยๆ อีกอย่างหนึ่ง ให้รู้จักพิจารณาว่า ผลที่เกิดกับตนเอง เกี่ยวข้องกับการกระทำของตัว
 เราอย่างไร ไม่ใช่มัวรอรับแต่ผลของกรรมเก่า เมื่อพิจารณาเห็นเหตุผลแล้วก็จะเป็นบทเรียน
 สำหรับคิดแก้ไข ปรับปรุงตนเองต่อไป
 
   จุดที่พระพุทธเจ้าต้องการที่สุดก็คือ เรื่องปัจจุบัน เพราะว่าอดีตเราไปทำแก้คืนไม่ได้แต่
 ปัจจุบันนี้เป็นสิ่งที่เราทำได้ เรามีอิสรภาพมากทีเดียวในปัจจุบัน ที่จะกระทำการต่างๆเพราะ
 ฉะนั้น เราจะต้องสร้างทัศนคติที่ถูกต้องต่อกรรมแต่ละอย่างว่ากรรมเก่าเราควรจะวางความ
 รู้สึกอย่างไร เอามาใช้ประโยชน์อย่างไร กรรมใหม่เราควรจะทำอย่างไร นี่ขีดวง แยกกันให้
 ถูกต้องแล้วจึงจะได้ผลดีขึ้นมา


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย