|
|
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๒๘ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๑๐ ) |
โ ด ย : พระธรรมปิฎก
( ป.อ.ปยุตฺโต ) |
"ลองมาดูความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า
ที่ทรงสอนเรื่องกรรมศึกษาในแง่นี้จะเห็นว่ามี
หลายความมุ่งหมายเหลือเกินพระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องกรรมนี้
อย่างแรกก็คือเพื่อขจัดความ
เชื่อถือ และการประพฤติปฏิบัติในสังคมของศาสนาพราหมณ์เดิม
เกี่ยวกับเรื่องวรรณะวรรณะ
คือการแบ่งชนเป็นชั้นต่างๆ ตามชาติกำเนิดศาสนาพราหมณ์ถือว่า
คนเราเกิดมาเป็นลูกกษัตริย์
ก็เป็นกษัตริย์เป็นลูกพราหมณ์ก็เป็นพราหมณ์ เป็นลูกแพศย์ก็เป็นพ่อค้า
เป็นลูกศูทรก็เป็น
กรรมกร คนรับใช้ก็ต้องเป็นคนวรรณะนั้นตลอดไปแล้วแต่ชาติกำเนิด
แก้ไขไม่ได้ อันนี้เป็น
คำสอนเดิม เขาสอนอย่างนั้น
ครั้นมาถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงเน้นเรื่องกรรม
เกี่ยวกับวรรณะนั้นว่า คนเรานั้น
"น ชจฺจาวสโล โหติ, น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ"
บอกว่า คนเราไม่ได้เป็นคนถ่อยคนต่ำทราม
เพราะชาติกำเนิด และก็ไม่ได้เป็นพราหมณ์ คือคนสูง เพราะชาติกำเนิด
แต่ "กมฺมุนา วสโล
โหติ, กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ"จะเป็นคนทรามก็เพราะกรรม
และเป็นพราหมณ์ก็เพราะกรรม
อันนี้ ถ้าเรามองกรรมเป็นกรรมเก่า มันก็เข้าไปเป็นอันเดียวกับคำสอนเดิมเขา
คือเป็นพราหมณ์
เขาก็บอกว่า อ้อ! ชองท่านก็เหมือนกัน ท่านบอกเพราะกรรม นี่ก็เพราะกรรมเก่าสิ
จึงเกิดมา
เป็นพราหมณ์เกิดมาเป็นคนถ่อยก็อันเดียวกัน คือตามชาติกำเนิดเหมือนกัน
ที่จริงไม่ใช่อย่างนั้น
กรรม ในที่นี้ หมายถึงการกระทำ ในความหมายหยาบที่สุด
ก็หมายถึงอาชีพการงานอย่าง
ในพุทธพจน์นี้ ก็มีขยายต่อไป เช่นว่า ใครไปทำนาทำไร่ คนนั้นก็เป็นชาวนา
ไม่ใช่เป็นพราหมณ์
ถ้าคนไหนไปลักขโมยเขา คนนั้นก็เป็นโจร คนไหนไปปกครองบ้านเมือง
คนนั้นก็เป็นราชา ดังนี้
เป็นต้น นี่พระองค์ขยายความเรื่องกรรม หมายความว่า การกระทำที่ประกอบกันอยู่นี้
ความ
ประพฤติที่เป็นไปอยู่นี้แหละ เป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่จะวัดคน
พุทธศาสนาไม่ต้องการให้มัวไป
วัดกันด้วยชาติกำเนิด แต่ให้วัดกันด้วยการกระทำ ความประพฤติที่บุคคลนั้นประกอบ
และเป็น
ไปอย่างไร ตั้งแต่คุณธรรมในจิตใจออกไปนี้ก็เป็นแง่หนึ่ง
ที่พระพุทธเจ้าทรงเน้นมาก ถ้าเรา
อ่านในพระไตรปิฎกจะเห็นว่ามีพระสูตรต่างๆ ที่พยายามนำหลักกรรมมาแก้ไขเรื่องการแบ่ง
ชั้นวรรณะโดยชาติกำเนิดนี้มากมาย" |
|
เลือกอ่านเรื่อง
กรรม ที่นี่
|
|