หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๓๐ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๑๒ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

     "ต่อไป จะพูดถึงตัวแท้ของหลักกรรมเอง ซึ่งก็จะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามความ
 เป็นจริงเหมือนกันหลักกรรม เป็นหลักธรรมที่ลึกซึ้งพอพูดถึงความหมายที่ลึกซึ้งก็กลายเป็น
 เรื่องเกี่ยวกันเข้าไปถึงหลักใหญ่ๆ โดยเฉพาะปฏิจจ--สมุปบาทจะต้องระลึกไว้ว่า กรรมนี้ไม่ใช่
 แต่เพียงเรื่องภายนอก ไม่ใช่การกระทำที่แสดงออกมาทางกาย ทางวาจาเท่านั้น ต้องมองเข้า
 ไปถึงกระบวนการทำงานในจิตใจ ผลที่เกิดขึ้นในจิตใจแต่ละขณะๆทีเดียว ความหมายที่แท้
 จริงของกรรม มุ่งเอาที่นั่น คือ ความเป็นไปในจิตใจของแต่ละคน แต่ละขณะกรรมที่จะแสดง
 ออกมาทางกายทางวาจา อะไรๆก็ต้องเริ่มขึ้นในใจก่อนทั้งนั้นทีนี้จุดเริ่มแรก ในกระบวนการ
 ทำงานของจิตเป็นอย่างไร ? เกิดขึ้นโดยมีเหตุมีผลอย่างไร ? แล้วแสดงออกทางบุคลิกภาพ
 อย่างไร ?
 
   ในขั้นลึกซึ้งจะต้องศึกษากันอย่างนี้ถ้าทำความเข้าใจกันในเรื่องนี้ให้ชัดแจ้งแล้วเราก็มองเห็น
 ว่า กรรมเกี่ยวพันกับชีวิตของเราอย่างชัดเจนอยู่ตลอดเวลาทุกขณะแต่ความเข้าใจในขั้นนี้เป็น
 ขั้นที่ยากอย่างไรก็ตาม ถ้าเราต้องการให้เชื่อหลักกรรม หรือเข้าใจหลักกรรม รู้หลักกรรมที่แท้
 จริงแล้ว ก็จำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้ ทั้งๆที่ยากนั่นแหละ ถ้าไม่อย่างนั้นก็ไม่มีทาง ถ้าเราไม่
 สามารถศึกษาให้เข้าใจชัดเจน ถึงกระบวนของกรรม ในขั้นจิตใจ ตั้งต้นแต่ความคิดออกมา
 จนชัดเจนได้ เราก็ไม่มีทางที่จะมาสอนกันให้เข้าใจหรือให้เชื่อหลักกรรมได้ความคิดที่มีผลต่อ
 บุคลิกภาพออกมาแต่ละขณะๆนั่นแหละคือกรรมกรรมนี้ ความจริงก็คือเรื่องของกฎธรรมชาติ
 เรื่องของข้อเท็จจริง
 
   ความจริงปัญหาของเรา ไม่ใช่ว่าทำอย่างไรจึงจะเชื่อกรรมเมื่อหลักกรรมเป็นกฎธรรมชาติ
 เป็นหลักแห่งความจริง มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำอย่างไรจะเชื่อ แต่กลายเป็นว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้
 จะเข้าใจเราจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ไม่มีผลต่อหลักกรรม หลักกรรมเป็นความจริง มันก็คงอยู่อย่าง
 นั้น เราจะเชื่อ เราจะไม่เชื่อมันก็เป็นความจริงของมันอยู่ เข้าหลักอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส อย่าง
 เรื่องธรรมนิยาม ว่า อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา ตถาคตานํ...... ตถาคตทั้ง
 หลายจะอุบัติหรือไม่อุบัติก็ตาม หลักความจริงนั้น มันก็ต้องเป็นความจริงอยู่อย่างนั้นแม้แต่
 พระพุทธเจ้าไม่อุบัติ มันก็เป็นความจริงของมัน ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า ทำอย่างไร จะศึกษาให้เข้าใจ
 ชัดเจนเพราะฉะนั้น ไปๆกลายเป็นว่าจะต้องเปลี่ยนหัวเรื่องที่ตั้งไว้แต่ต้น ที่ว่า ทำอย่างไร จะ
 ให้เชื่อเรื่องกรรมกลายเป็นว่าทำอย่างไรจึงจะรู้หรือเข้าใจเรื่องกรรม เชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่
 มันเป็นความจริง
 
   คุณจะยอมรับหรือไม่ยอมรับ ชีวิตของคุณก็ต้องเป็นไปตามกรรม ถ้าหากว่าเราทำได้ถึงขั้นนี้
 แล้ว เราไม่ง้อคนเชื่อ เพราะฉะนั้น อาตมภาพว่าสำคัญที่นี่ สำคัญที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจชัดเจน
 แสดงให้เห็นตัวความจริงได้แล้ว เราไม่ง้อคนเชื่อเราบอกว่า อันนี้เป็นกฎธรรมชาติ เป็นความ
 จริงของมันอยู่เอง คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อ ฉันไม่ง้อ ต้องทำถึงขั้นนั้นนั่นแหละทีนี้ปัญหาว่า ทำ
 อย่างไรจึงจะเข้าใจหรือรู้หลักกรรม มันกลายเป็นเรื่องยากขึ้นมาเรื่องกรรมนี้เราพูดกันมาก
 แต่ก็พูดกันเพียงแค่ภายนอก โดยมากมุ่งผลหยาบๆที่แสดงแก่ชีวิตของคนเราถ้าเป็นผลในแง่
 ดี ก็มองไปที่ ถูกลอตเตอรี่ หรือร่ำรวยได้ยศศักดิ์อย่างใหญ่ๆเป็นก้อนใหญ่ๆ จึงเกิดความรู้สึก
 ว่า อันนี้คงจะเป็นผลของกรรมดีในแง่ร้ายเราก็มองไปถึง เกิดภัยพิบัติ เกิดอันตรายใหญ่โต
 ไปอย่างนั้น จึงจะรู้สึกเรื่องกรรมแต่ในแง่นั้น ยังไม่ถึงหัวใจแท้จริงของกรรมถ้าศึกษาให้เข้าใจ
 ชัดเจนจะต้องเริ่มตั้งแต่ กระบวนการของจิตใจภายในนี้เป็นต้นไป แล้วจะกลายเป็นเรื่องยาก
 ขึ้นมาศึกษาแต่ด้านภายนอก ให้มองเห็นกรรมที่แสดงออก เป็นเหตุการณืใหญ่ๆนั้นไม่พอ ต้อง
 หันมาศึกษาเรื่องลึกซึ้งด้วย อันนี้อาตมภาพก็เป็นแต่เพียงมาเสนอแนะ เราจะมาพูดถึงเนื้อแท้
 ของหลักกรรมในแง่ลึกซึ้งอย่างเดียวก็คงไม่ไหว ในที่ประชุมนี้ เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว เป็นแต่
 บอกว่า ควรจะเป็นอย่างนี้เท่านั้น


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย