|
|
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๓๑ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๑๓ ) |
โ ด ย : พระธรรมปิฎก
( ป.อ.ปยุตฺโต ) |
"ทำอย่างไร จะให้คำตอบเรื่องกรรมนี้
เป็นผลขึ้นมาในทางปฏิบัติ อาตมภาพคิดว่าการที่ท่าน
ตั้งชื่อเรื่องว่า ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรมนี้ ท่านคงมุ่งผลว่า
ทำอย่างไรจะได้ผลในทาง
ปฏิบัติ คือเด็กก็ตาม คนหนุ่มคนสาวก็ตาม คนผู้ใหญ่ทั่วไปในสังคมก็ตาม
จะประพฤติปฏิบัติ
ทำแต่กรรมดี ไม่ทำชั่ว เพราะกลัวผลชั่วอะไรทำนองนี้ ท่านคงมุ่งหมายอย่างนั้นเป็นเกณฑ์
คือ
ทำอย่างไรจะประพฤติกรรมดี แล้วก็หลีกเว้นกรรมชั่ว อันนี้จะพูดถึงในแง่ที่เขาเรียกกันใน
ปัจจุบันคนสมัยนี้ เขามีศัพท์ที่ใช้กันอันหนึ่ง เรียกว่า
ค่านิยม โดยเฉพาะค่านิยมในทางสังคม
อันนี้กระทบกระเทือนต่อหลักกรรมมาก
ในขณะที่เรายังไม่สามารถศึกษา ชี้แจงออกมา ให้เห็นชัด
กันในเรื่องหลักกรรม โดยให้เป็น
เรื่องแพร่หลายที่สุดได้นี้ เราจะต้องมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องนี้ก่อนจะแก้ได้อย่างไรค่านิยม
ของสังคมที่ยกย่องในทางวัตถุมาก อันนี้จะมากระทบกระเทือนต่อหลักกรรมค่านิยมอย่างนี้
มองเห็นได้จากคำพูด ที่เกี่ยวกับกรรมนั่นเองเวลาเราพูดว่าทำดีได้ดี
ทำชั่วได้ชั่ว คนส่วนมาก
มักนึกถึงค่านิยมในทางวัตถุ ทำดีได้ดี คำว่า"ดี"ในนั้น
ทำดีก็ตาม ได้ดีก็ตาม ยังไม่ได้บอกชัด
เลยว่าอะไรดีแต่ตามหลักความจริง โดยเหตุผลนั้น ทำดีก็ย่อมได้ดี
ทำชั่วก็ย่อมได้ชั่วเป็นหลัก
ธรรมดาตามธรรมชาติถ้าหากว่า มันผิด ก็แสดงว่า คนต้องมีความไม่ซื่อตรงเกิดขึ้นในเรื่องนี้
เพราะว่าตามกฎธรรมดานี้ เหตุอย่างไร ผลอย่างนั้นเป็นหลักทั่วไป
ไม่ว่าใครก็ต้องยอมรับ
เพราะฉะนั้นที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่วนี่เป็นหลักสามัญเป็นหลักธรรมดาถ้าคนไปเห็นว่าหลัก
นี้ผิด แสดงว่า ต้องมีความไม่ซื่อตรงเกิดขึ้น คดโกงกันในหลักกรรมนี่แหละคดโกงในกฏ
ธรรมชาติเขาคดกันอย่างไร ?
ทำดีได้ดี ยังไม่แจงออกไป อะไรดี บอกว่า ทำดีได้ดีถ้าเราขยายว่า
ทำดี ดีตัวนั้นเป็นกรรม ทำ
ความดี ผลต้องได้ความดี ทำความชั่ว ได้ความชั่ว นี่ต้องตามหลักความดีนี่
คนชักงงอีกแล้ว
ความดีนี่ บางทีไปนึกเป็นความดีความตามหลักชอบไปอีกแล้ว
เอาอีกแล้ว เลยเถิดไปอีกเหมือน
กันความดีนี่ คือตัว คุณธรรม
ก็ได้ตัวคุณธรรม ทำตัวความดี ได้ตัวความดีเมื่อเราสร้างเมตตา
ขึ้นในใจ เราก็ได้เมตตา อันนี้ไม่มีปัญหาทีนี้คนจะคดโกงกับหลักนี้อย่างไร
ขยายทำดีได้ดีออก
ไปทำความดีได้ความดี
คนไม่คิดอย่างนั้น ทำความดีได้ของชั่ว ทำความชั่วได้ของดี
ทำนองนี้ มันกลับไปเสียอย่างนี้
เป็นอย่างไร ทำความดีได้ของดี ? ฉันประพฤติความดี ฉันขยัน
ฉันให้ของอันนี้ไป ทำทาน
อันนี้ ฉันจะต้องถูกลอตเตอรี่ ความดีในที่นี้ ไม่ใช่ตัวความดีเสียแล้ว
ลอตเตอรี่เป็นของดีอันนี้
ไม่ตรงแล้ว บอกทำความดีได้ของดี คนไปกลับหลักเสีย นี่ไม่ซื่อตรงแล้ว
ผิดต่อกฎธรรมชาติ
ฉะนั้น ความคลาดเคลื่อนก็เกิดจากความที่คนเราทั้งหลายไม่ซื่อตรงนั่นเอง
ไม่ใช่หลักการ
ผิดพลาดคลาดเคลื่อนอะไร คนเราไม่ซื่อตรงต่อกฎธรรมชาติเอง
เราเข้าใจกันไป สร้างความ
หมายที่เราต้องการเอาเอง อะไรที่ถูกใจเรา เราต้องการให้เป็นอย่างนั้นเมื่อไม่ได้อย่างใจเรา
เราก็โกรธ เราก็หาว่า หลักนั้นผิดเราบอกว่าเราทำดีแล้วทำไมมันไม่ถูกลอตเตอรี่
มันจะไปเกี่ยว
อะไรกันโดยตรง มันไม่เกี่ยวโดยตรงมันเกี่ยวโดยอ้อม ผลอย่างนี้ไม่ใช่ผลโดยตรง
ไม่ใช่ความ
ซื่อตรงในหลักกรรมแล้วนี้ก็อันหนึ่ง เป็นเรื่องสำคัญเกี่ยวกับค่านิยม
คำที่ว่านี้ แสดงค่านิยมใน
ทางวัตถุของมนุษย์ในสังคม" |
|
เลือกอ่านเรื่อง
กรรม ที่นี่
|
|