|
|
หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๓๒ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๑๔ ) |
โ ด ย : พระธรรมปิฎก
( ป.อ.ปยุตฺโต ) |
"ปัจจุบัน สิ่งที่ดี สิ่งที่ประสงค์ในใจของมนุษย์นั้น
มุ่งไปที่ผลได้ทางวัตถุเป็นสำคัญความ
สะดวกสบายทางวัตถุ ความมีทรัพย์สมบัติ ก็กลายเป็นเครื่องวัดที่สำคัญไปความสุขความทุกข์
ของมนุษย์ ก็มาวัดที่วัตถุ คนเราก็นิยมวัตถุมากทีนี้ในเมื่อนิยมวัตถุมาก
ความนิยมในทางจิตใจ
ก็น้อยลง ความหมายก็ไม่มีแม้แต่เกียรติที่ให้กันในทางสังคม
มันก็มุ่งไปทางวัตถุมากขึ้น
ในเมื่อสังคมนิยมเกียรติที่วัดกันด้วยวัตถุอย่างนี้แล้ว
มันก็เป็นการคลาดเคลื่อนต่อความหมาย
คือคนเรานี้ไม่ซื่อตรงต่อหลัก หรือกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เมื่อนิยมอย่างใด
ก็เป็นธรรมดาอยู่
เองที่เราจะต้องการให้ได้ผลอย่างนั้นขึ้นมา แต่ผลที่ไม่ตรงต่อเหตุ
มันก็เป็นอย่างที่เราต้องการ
ไม่ได้ในเมื่อไม่ได้ เราก็หาว่าหลักนั้นไม่ถูกต้อง แล้วเราก็ว่าไม่เชื่อบ้าง
อะไรบ้างก็ตามแต่อันนี้ก็
ชื่อว่า เป็นผลของกกรรมที่คนทำกกรรมในสังคมนั่นเอง คือกรรมของกาารที่เรามีค่านิยมทาง
วัตถุมาก มาเอาความดี ความเจริญ ความก้าวหน้า ความสุข กันอยู่แต่ที่วัตถุ
เลยหลงลืมคุณค่า
ทางจิตใจ ในเมื่อหลักธรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตใจอยู่มาก
เราไม่ให้ความสำคัญในทางจิตใจ
หรือทางคุณธรรมเสียแล้ว หลักธรรมมันก็หมดความหมายลงไปสำหรับเราเป็นธรรมดาถ้าหาก
ว่า เราต้องการให้คนมาประพฤติตามหลักกรรม เราก็ต้องช่วยกันเชิดชูคุณค่าทางจิตใจหรือคุณ
ค่าทางฝ่ายคุณธรรมให้มากขึ้นเราจะต้องรู้จักขอบเขตคุณค่าทางวัตถุ
เราจะต้องวัดกันด้วยวัตถุ
ให้น้อยลง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเหมือนกันถ้าหากว่าสังคมเรานิยมยกย่องวัตถุกันมาก
มันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่จะต้องวัดดี ( วัดความดีและผลดี
) กันด้วยวัตถุการที่สังคมไปนิยม
ยกย่องวัตถุมาก ไม่ใช่กรรมของคนที่อยู่ในสังคมนั้นหรือกรรมในที่นี้
หมายถึง การกระทำ ซึ่ง
รวมถึงพูดและคิดความคิดที่นิยมวัตถุนั้นเป็นกรรมใช่หรือไม่
?ในเมื่อแต่ละคนทำกรรมอันนี้ คือ
หมายความว่า มีความโลภในวัตถุมาก อันนี้เป็นกุศลกรรม หรืออกุศลกรรมเมื่อเป็นอกุศล
ก็กลาย
เป็นว่า คนในสังคมนั้นทำอกุศลกันมากเมื่อทำอกุศลกันมาก วิบากที่เกิดแก่คนในสังคม
ก็คือผล
ร้ายต่างๆฉะนั้น มนุษย์จะต้องมองให้เข้าใจความสัมพันธ์อันนี้
จะต้องเข้าใจว่า สังคมที่เดือด
ร้อนวุ่นวายกันอยู่ มีความไม่ปลอดภัย มีภัยอันตรายเกิดขึ้นในที่ต่างๆมากมาย
ไปไหนก็ไม่
สะดวกสบายนั้น มันเกิดจากกรรมของเราแต่ละคนด้วยเราจะต้องมองให้เห็นความสัมพันธ์ถึง
ขนาดนี้จึงจะได้ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว เราจะไม่เข้าใจซึ้งถึงเรื่องกรรมหรอก
มันสัมพันธ์อย่างไร
เอ ! ก็ที่มันเกิดภัยอันตราย โจรผู้ร้ายมากมาย
คนไม่ค่อยประพฤติศีลธรรมเป็นกันมากมาย ไม่
เห็นเกี่ยวกับเราเลย คนอื่นทำทั้งนั้น นี่แหละ เราซัดความรับผิดชอบล่ะที่จริง
เป็นกรรมของแต่
ละคน ที่ช่วยกันสร้างขึ้น ตั้งแต่ค่านิยมที่อยู่ในใจเป็นต้นไปเพราะเรานิยมเรื่องนี้มากใช่ไหม
ผล
มันจึงเกิดในแง่นี้ อาตมภาพว่าพอจะเชื่อมได้อยู่ลองศึกษาให้ดีเถิดมีค่านิยมอย่างนี้
คนก็แสวง
แต่เรื่องนี้ ความสุขความอะไรวัดกันด้วยวัตถุอย่างเดียว
คนก็ต้องพยายามแสวง แสวงด้าน
เดียวไม่มียั้งเมื่อแสวงไปแบบนั้น มันก็อาจจะก่อไปในรูปอาชญากรรม
ความประพฤติเสื่อมเสีย
ต่างๆ ความแย่งชิงอะไรต่ออะไรกันมาก ก็คือความนิยมที่เป็นมโนกรรมอยู่ในจิตใจของแต่ละ
คนนั้นเป็นเหตุให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาในระยะยาว ถ้าสามารถมองจนเห็นว่า
เหตุร้ายภัยพิบัติ
ความเสื่อมเสียต่างๆ ที่เกิดในสังคมนี้ เป็นผลวิบาก เกิดแต่กรรมของเราทั้งหลายนั้นเองแสดง
ว่าพอจะทำความเข้าใจในเรื่องกรรมกันได้บ้าง แต่ชั้นแรก ต้องให้เห็นความสัมพันธ์กันก่อน
ประการต่อไป ว่าถึงในระยะยาวจะทำอย่างไร ?
เรื่องกรรมนี่เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องคุณค่า
ทางนามธรรมที่มองเห็นได้ยาก จะต้องศึกษา ใช้สติปัญญากันไม่ใช่น้อยการที่จะให้คนประพฤติ
ปฏิบัติกันจริงจังได้ผลในระยะยาว จะต้องอบรมปลูกฝังกันจนเป็นนิสัยจะต้องให้การศึกษา
ตามแนวทางที่มีความเข้าใจในหลักกรรมเป็นพื้นฐานคือต้องฝึกฝนอบรมตั้งแต่เด็ก
ให้ประพฤติ
ด้วยสำนึกรับผิดชอบต่อการกระทำของตนจนเคยชิน ถ้าไม่ทำอย่างนี้ได้ผลยากการศึกษาให้
เข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งนั้นเป็นเรื่องยาก แม้จะเป็นความจริงก็ตาม
แต่สิ่งที่จะทำได้ในทาง
การศึกษาก็คือสิ่งใดตกลงแน่ว่าดีว่างามแล้ว เราจะต้องฝึกอบรมคนให้ใส่ใจรับผิดชอบตั้งแต่
เล็กแต่น้อยไป
เมื่อเราต้องการให้สังคม เป็นสังคมที่นับถือหลักกรรม
ก็ต้องฝึกอบรมกันตั้งแต่เด็กปลูกฝัง
ผู้ที่จะมาเป็นสมาชิกของสังคมนั้น ให้มีแนวความคิดและความประพฤติปฏิบัติที่ซื่อตรงต่อกฎ
ธรรมชาติในเรื่องของกรรม ตั้งต้นแต่ว่า ต้องปลูกฝังค่านิยม
ซึ่งมองเห็นคุณค่าทางจิตใจสูง
ขึ้น ไม่วัดกันด้วยวัตถุให้มากนัก เข้าใจความหมายขอบเขตแห่งคุณค่า
และความสำคัญของ
วัตถุตามความจริงตามควร |
|
เลือกอ่านเรื่อง
กรรม ที่นี่
|
|