หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๓๓ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ๑๕ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

     "ในเรื่องวัตถุนั้น ไม่ใช่ว่าพระพุทธศาสนาจะปฏิเสธคุณค่า ไม่เห็นความจำเป็นของวัตถุเลย
 พุทธศาสนาเห็นความสำคัญมากเหมือนกัน วัตถุเป็นสิ่งจำเป็น ปัจจัย ๔ คือสิ่งอุดหนุน ให้ชีวิต
 เราดำรงอยู่ได้ สัพเพ สัตตา อาหารัฏฐิติกา..สัตว์ทั้งปวงต้องดำรงชีวิตอยู่ด้วยอาหารถึงที่อยู่
 อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ก็เป็นปัจจัยสำคัญของชีวิต พุทธศาสนาเห็นว่า แม้แต่พระสงฆ์
 เอง ซึ่งต้องการวัตถุน้อยที่สุด ก็ยังต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ ขาดไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ใช่ว่าไม่สำคัญ
 แต่ความสำคัญนั้นก็มีขอบเขตของมันเหมือนกันคุณค่าของวัตถุนั้น เราอาจจะแยกออกได้ 2 ส่วน
 ขอให้ท่านลองคิดดูอย่างง่ายๆ มี ๒ ส่วน คือคุณค่าแท้ หรือคุณค่าขั้นต้น กับคุณค่ารอง
 
   < ตัวอย่าง ปัจจัย ๔ นี้เป็นต้น >
   เสื้อผ้านี้ คุณค่าต้น หรือคุณค่าแท้ของมันคืออะไร ?.... คือเพื่อปกปิดกายป้องกันความละอาย
 แก้ความหนาว ความร้อน เป็นต้น นี่คือประโยชน์แท้ หรือคุณค่าแท้ของมันแต่สำหรับมนุษย์
 ปุถุชนแล้ว มันไม่แค่นั้น มันจะมีคุณค่ารองอีก คุณค่ารองนี้คืออะไร ?
 
   คือความที่จะให้เกิดความรู้สึกสวยงาม โก้ หรูหรา อวดกัน วัดกัน อะไรต่างๆเป็นต้น นี้คือคุณ
 ค่ารอง เรียกอีกอย่างว่า เป็นคุณค่าเทียมอย่างเราใช้รถยนต์ มันก็จะมีคุณค่าแท้ส่วนหนึ่ง และ
 สำหรับบางคนก็จะมีคุณค่ารองอีกส่วนหนึ่ง
 
   คุณค่าแท้ คืออะไร ? คุณค่าแท้ก็คือใช้เป็นยานพาหนะ นำเราไปสู่ที่หมายด้วยความรวดเร็ว
 แนวความคิดที่ควบกับคุณค่านี้ก็คือ พยายามให้สะดวกและปลอดภัย ทนทานที่สุดคุณค่ารองก็
 คือว่า เราจะต้องให้โก้ เป็นสิ่งแสดงฐานะอะไรต่างๆเป็นต้น
 
   ความคิดที่ควบกับคุณค่าแบบนี้ก็คือ ต้องพยายามให้สวย ให้เด่นที่สุด ถึงสิ่งอื่นๆ ก็เหมือนกัน
 ที่อยู่อาศัยก็มีคุณค่าแท้ คือให้เป็นที่พักพิงหลบภัย และเป็นที่เราจะได้ ดำรงชีวิตส่วนเฉพาะ
 ของเรา ในครอบครัวของเราให้มีความสุข หรืออะไรก็ตามแต่แต่ก็ มีคุณค่ารองอีกเหมือนกัน
 ในความหมายของปุถุชน เช่นการแสดงฐานะ แสดงความหรูหรา หรืออะไรก็ตามแต่สิ่งทั้ง
 หลายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเราทางวัตถุนี้ ปุถุชนมักจะมีคุณค่าอยู่ ๒ คือคุณค่าแท้ กับคุณค่า
 รองพุทธศาสนายอมรับคุณค่าแท้ คุณค่าแท้นี่แหละสำคัญ พระบวชมา ท่านจะให้พิจารณา
 ปฏิสังขาโย เช่นเวลาฉันบิณฑบาต ให้พิจารณาบอกว่า ปฏิสังขา โยนิโส ปิณฑปาตัง ปฏิเสวามิ..
 ข้าพเจ้าได้พิจารณาโดยแยบคาย จึงฉันอาหาร อย่างนี้เป็นต้น พิจารณาอย่างไร ?
 
   ท่านก็บอกต่อไปว่า ฉันเพื่ออะไร?.. ให้เรารู้ว่า ที่เราฉันนี้ ฉันเพื่อให้มีกำลังกายจะได้มีชีวิตเป็น
 ไป แล้วเราจะได้ทำหน้าที่ของเรา อะไรต่ออะไรได้ เป็นอยู่สบายนี่คือคุณค่าแท้ต่อไปคุณค่ารอง
 ก็คือ เอร็ดอร่อย ต้องมีเครื่องประดับเสริมต้องไปนั่งในภัตตาคารให้หรูหราอาจจะเป็นมื้อละพัน
 หรือมื้อละหมื่นก็มีแต่ว่าคุณค่าทางอาหาร บางทีก็เท่ากับมื้อละ ๑๐ บาท หรือ ๕ บาท แต่ว่ามื้อ
 ละพันหรือมื้อละ ๕ บาท คุณค่าที่จำเป็น คุณค่าแท้ต่อชีวิตเท่ากัน คุณค่ารอง หรือคุณค่าเทียม
 ไม่เท่ากัน ในชีวิตของปุถุชนนี้ คุณค่ารองเป็นเรื่องสำคัญ แล้วคุณค่ารองนี้แหละ ที่ทำให้เกิด
 ปัญหาแก่มนุษย์มากที่สุด ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดจากความแร้นแค้นยากจน อันเป็นสาเหตุทาง
 เศรษฐกิจ เป็นปัญหาสำคัญมากพุทธศาสนายอมรับ แต่ความชั่วร้ายในสังคมที่เกิดจากคุณค่า
 รองหรือคุณค่าเทียม ของสิ่งทั้งหลายนั้นมากมายกว่า คนเรานี้แสวงหาคุณค่ารองกันมากมาย
 เหลือเกินแล้วปัญหามันก็เกิดขึ้นนานาประการทีเดียว เป็นปัญหาขนาดใหญ่ และมีผลกว้างไกล
 กว่าปัญหาที่คนยากจนสร้างขึ้น เป็นตัวการสำคัญซ้อนอยู่เบื้องหลังการเกิดปัญหาเศรษฐกิจที่
 ร้ายแรง
 
    เพราะฉะนั้น สำหรับพระจึงต้องพยายามมุ่งคุณค่าแท้ให้คงอยู่ ส่วนฆราวาสนั้นขอให้
 ตระหนักไว้ อย่าเพลิน อย่าลืม อย่าประมาท อย่าหลงเกินไป ฆราวาสเป็นไปไม่ได้ที่จะอยู่อย่าง
 พระ แต่ว่าอย่าหลงลืม อย่ามัวเมา ต้องพยายามคำนึง คอยตระหนักถึงคุณค่าแท้ไว้ด้วย ว่าเราใช้
 สิ่งนี้ เพื่อประโยชน์ที่แท้จริงคืออะไร อย่าลืมตัวจนเกินเลยไป อันคุณค่าของวัตถุที่มี ๒ ชั้นนี้ เป็น
 เรื่องสำคัญมาก วัตถุนั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ เมื่อเทียบ กับนามธรรม หรือคุณธรรมแล้ว วัตถุเป็น
 สิ่งไม่เที่ยงแท้ มีสภาพของความเสื่อมสลาย ทรุดโทรมอย่างเดียว จะเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม
 บ้านที่อยู่อาศัย มันอยู่ได้ชั่วคราว ชั่วระยะกาลหนึ่ง ๕ ปี ๑๐ ปี สั้นกว่า ยาวกว่าบ้าง เสร็จแล้ว
 มันก็ต้องแตกสลายทรุดโทรมไป เป็นหลักธรรมดา นี้เป็นความไม่เที่ยงแท้ของตัววัตถุเอง ส่วน
 คุณค่าของมันก็ไม่เที่ยง เหมือนกัน ไม่เที่ยงอย่างที่อาตมภาพกล่าวแล้ว มันอยู่ที่ค่านิยมที่คน
 สร้างกันขึ้นเท่านั้นค่านิยมที่ว่าเป็นกรรม อยู่ในใจของเเรานี้ เราสร้างมันขึ้นขอให้คิดดู
 
   สำหรับเราอาจจะนึกถึงว่า ต้องใส่เสื้อนอกให้เรียบร้อย ต้องซักต้องรีด รู้สึกว่ามันให้ความมีศรี
 สง่า เป็นสิ่งสำคัญในทางสังคม อะไรต่ออะไร มีภูมิฐาน และอาจจะต้องไป นั่งในห้องแอร์คอน
 ดิชั่น นั่งสบาย ทำงานอย่างภาคภูมิ แต่มาถึงอีกสมัยหนึ่ง คนอีกรุ่นหนึ่งอาจจะเห็นว่า เอ! พวก
 ผู้ใหญ่ที่มัวไปใส่เสื้อนอก ต้องรีดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย ไปนั่งทำงานในห้องแอร์คอนดิชั่น ทำโต๊ะ
 ให้สะอาด แหมมันไม่ได้มีความสุขเลย ไม่ได้เป็นสาระอะไรเลย ต้องไปนั่งลำบาก นั่งต้องระวัง
 เสื้อผ้าของตนเอง ต้องระมัดระวังท่าทางอะไรอย่างนี้ สู้ปล่อยตัวขะมุกขะมอมไม่ได้สบายดีกว่า
 นอนกลางดินกินกลางทราย จะนั่ง จะก้ม จะกลิ้ง อย่างไรก็ได้ แล้วมันก็จริงของเขาอยู่เหมือนกัน
 ถ้าว่ากันไปแล้ว ใครจะสบายกว่ากัน คนหนึ่งปล่อยตัวขะมุกขะมอม เสื้อผ้าก็ไม่ต้องรีด ไม่ต้อง
 เอาใจใส่มัน ปล่อยไป ที่ก็แล้วแต่จะไปนอนที่ไหน อะไรต่ออะไรได้ทั้งนั้น เขาก็ว่าของเขามัน
 สบาย
 
   นี่แหละ สังคมมันไม่แน่ คุณค่าที่ว่ากันไว้ มันขึ้นกับความนิยม สมัยหนึ่ง เราอาจเห็นว่าอย่างนี้ดี
 มีศักดิ์ มีศรี มีภูมิ มีฐานคนอีกสมัยหนึ่ง มันนานเข้า เห็นความเจริญทางวัตถุมาก เบื่อหน่ายเสีย
 แล้ว บอกว่าอย่างนี้ไม่ได้ความหรอก หาความทุกข์ให้กับตัวเองสร้างระเบียบสร้างอะไรต่ออะไร
 มาให้ตัวเองลำบาก อยู่กันด้วยระเบียบ อยู่กันด้วยมารยาทางสังคม ไม่มีดี เป็นทุกข์ สู้ไม่ต้องเอื้อ
 เฟื้อต่อสิ่งเหล่านี้ อยู่สบายกว่าเขาอาจจะคิดขึ้นมาอย่างนั้นก็ได้ในระยะยาว คนอยู่ในเมืองนานๆ
 อาจจะคิดอยู่ป่าขึ้นมาบ้างก็ได้


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย