หน้าแรก คลังแสงแห่งธรรม
กลับสู่ สารบัญคลังแสงแห่งธรรม

หลักธรรมนำสุขยุค2000
กรรมฐานประจำวันเกิด
บทสวดมนต์ธรรมะไทย
ศีล
ทาน
สมาธิ
วิปัสสนา
กรรม
กวีธรรมะ
อุปสมบทพิธี
ศาสนพิธีของชาวพุทธ
ธรรมะจากหลวงพ่อ


  หั ว ข้ อ เ รื่ อ ง ที่ ๓๔ : ทำอย่างไรจะให้เชื่อเรื่องกรรม ( ตอนจบ )
  โ ด ย : พระธรรมปิฎก ( ป.อ.ปยุตฺโต )

     ในเมื่อคุณค่าของวัตถุมันไม่เที่ยงไม่แท้ อยู่ที่การสมมติ สร้างค่านิยมกันขึ้นค่านิยมก็เริ่มใน
 จิตใจของเรานี่เอง นี้แหละจึงเป็นกรรมอันหนึ่งของสังคม สังคมจะเอาอย่างไรเป็นเรื่องของ
 สังคม ในระยะยาว อาตมภาพจึงว่า จะต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็กจะต้องการค่านิยมแบบไหน
 วางกันไว้ เริ่มกันแต่มโนกรรม คือค่านิยมนี้ เมื่อกำหนดได้ว่าอันนี้ถูกต้องแล้ว เราจะได้ปลูกฝัง
 คนของเรา ให้สร้างความรู้สึกนิยมในค่านิยมนี้ ตั้งแต่ เล็กแต่น้อย เมื่อเป็นความนิยมที่ดีที่งาม
 ถูกต้องแล้ว เขาก็พอใจ ในระยะยาวก็ได้ผล โดยเฉพาะค่านิยมในเรื่องความซื่อตรงต่อกฎธรรม
 ชาติ อันเป็นความสมดุลทางวัตถุกับ ทางจิตใจเมื่อปลูกฝังกันมา คนในสังคมนั้นมีค่านิยมอย่าง
 นี้ ต่อไปก็ประพฤติกันได้ เพราะว่ากรรมมันเริ่มจากมโนกรรม มีความใฝ่ความชอบขึ้นก่อน มิ
 ฉะนั้น พระพุทธเจ้า จะไปตรัสทำไมว่า "ในกรรมทั้งหลาย กายกรรม ก็ตาม วจีกรรมก็ตาม
 มโนกรรมก็ตามมโนกรรมสำคัญที่สุด"
 
   ในลัทธินิครนถ์เขาบอกว่า กายกรรมสำคัญกว่า เพราะกายกรรมนี้แสดงออกในภายนอก เอามีด
 มาฟัน คุณก็ตาย ถ้าคุณมาเพียงแต่ใจแล้ว ทำให้ฉันตายได้ไหมทำนองนี้แต่อย่าลืมว่า นี่เขามอง
 แคบ สั้นเกินไปในระยะยาว เรื่องปลูกฝังกันทางจิตใจนี่สำคัญกว่า สังคมจะเป็นอย่างไร ก็เริ่ม
 แต่มโนกรรมนี่ไป
 
   เพราะฉะนั้นถ้าเราปลูกฝังเด็กของเรา ให้มีค่านิยมอย่างนี้ ให้ประพฤติตามแนวแห่งหลักกรรม
 ต่อไปในระยะยาวก็จะได้ผลอันนี้ กล่าวย้ำอีกครั้ง อย่างสั้นที่สุดว่าจะต้องปลูกฝังมโนกรรมส่วน
 ที่ขอเรียกว่าค่านิยมแห่งธรรม หรือค่านิยมแห่งความซื่อตรงต่อกฎธรรมชาติ ให้มีขึ้นในสังคม
 ให้ได้ โดยเฉพาะในหมู่อนุชนของสังคมนั้น และข้อนี้จะต้องถือว่า เป็นภารกิจสำคัญยิ่งอย่าง
 หนึ่งของการศึกษาเพราะว่าที่จริงแล้ว มันเป็นส่วนเนื้อหาสาระของการศึกษาทีเดียว อาตมภาพ
 เพียงเสนอความคิดเห็นไว้ จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์เพียงไร ก็สุดแต่ท่านพิจารณาในฐานะที่ส่วน
 มาก ท่านก็เป็นผู้สนใจใฝ่ธรรมกันมาแล้ว ได้ศึกษาธรรมกันอยู่
 
   ที่อาตมภาพพูดมานี้ ก็เป็นการพูดในฐานะนักศึกษาธรรมอีกผู้หนึ่ง นำข้อคิดเห็นในการที่ได้
 ศึกษาเล่าเรียนมาเสนอแก่ท่าน เป็นการประกอบความคิดการพิจารณาถ้าหากว่า จะได้ประโยชน์
 อย่างไร แม้แต่จะเป็นประโยชน์สักเล็กน้อย ก็ขออนุโมทนายินดี เรื่อง กรรมนี้เป็นเรื่องของความ
 จริง มนุษย์นั้นก็อยู่กับความจริง และหนีความจริงไปไม่พ้น แต่มนุษย์นั้นก็ไม่ค่อยชอบนักที่จะ
 เผชิญกับความจริง ทั้งๆที่ตัวจะต้องอยู่กับความจริง อยู่ในความจริงยังพยายามสร้างสิ่งเคลือบ
 แฝง มาทำให้รู้สึกว่ามีรส มีความสนุกเพลิดเพลินยิ่งขึ้น เหมือนอย่างในเรื่องคุณค่าที่ว่า มนุษย์
 เราใช้ปัจจัย ๔ มีคุณค่าแท้กับคุณค่า รองนี้ ความจริงคือคุณค่าแท้นี้ ปฏิเสธไม่ได้ แต่เพราะ
 มนุษย์มักไม่ค่อยพอใจอยู่กับความ จริง เพียงหาสิ่งที่มาเป็นเครื่องประกอบเคลือบแฝง ทำให้
 รู้สึกมีความอร่อย มีความสนุกสนานขึ้น เกิดเป็นคุณค่ารอง เป็นทางให้มนุษย์เกิดปัญหาได้มาก
 ยิ่งขึ้น
 
   เรื่องกรรมเป็น เรื่องความจริง ความจริงนั้นปฏิเสธไม่ได้ และเกี่ยวกับชีวิตเราทุกคนต้องยอม
 รับความจริง แต่ในเมื่อมันเป็นความจริงแล้ว มันเป็นเรื่องยาก ไม่สนุกสนานเอร็ดอร่อย การที่จะ
 ศึกษาให้เข้าใจชัดเจนก็ตาม การจะปลูกฝังกันขึ้นมาก็ตาม เป็นเรื่องยากเรื่องใหญ่ จะต้องทำ
 ความพยายามอย่างที่ว่า คือต้องปลูกฝังกันมา ตั้งต้นแต่ค่านิยม จะมาเอาปุ๊บปั๊บขึ้นมาไม่ได้มัน
 ก็ไม่สนุกสนานอะไรเท่าไร เพราะฉะนั้นก็ยาก เป็นเรื่องยาก อย่างที่ว่ามานี้


เลือกอ่านเรื่อง กรรม ที่นี่


หน้าแรก
ทีมงานธรรมะไทย
แผนผังเว็บไซต์
ค้นหาข้อมูล
ติดต่อธรรมะไทย
สมุดเยี่ยม
ธรรมะในสวน
เครือข่ายธรรมะ
ศูนย์รวมภาพ
สัญลักษณ์ไทย
สมาชิกธรรมะไทย
ในหลวงรัชกาลที่ ๙
กวีธรรมะ
บอร์ดบอกบุญ
สถานปฏิบัติธรรม
สนทนาธรรม
ข่าวธรรมะ
ธรรมะกับเยาวชน
ธรรมะจากหลวงพ่อ
บทความธรรมะ
กรรม
 ทาน
พระไตรปิฏก
เสียงธรรม
วีดีโอธรรมะ
เพลงธรรมะ
ธรรมปฏิบัติ
 คลังแสงแห่งธรรม
 คลังหนังสือธรรมะ
 หลักธรรมนำสุขในยุค๒๐๐๐
 กรรมฐานประจำวันเกิด
 ศีล
 สมาธิ
 วิปัสสนา
พระพุทธศาสนา
พจนานุกรมพุทธศาสน์
หัวข้อธรรม
บทสวดมนต์
มิลินทปัญหา
พระพุทธศาสนาในไทย
ทำเนียบวัดไทย
ศาสนพิธี
อุปสมบทพิธี
วันสำคัญทางศาสนา
การเผยแผ่ศาสนา
 งานปริวาสกรรมทั่วประเทศ
พระพุทธเจ้า
พระพุทธประวัติ
ประวัติพระพุทธสาวก
ทศชาติชาดก
นิทานชาดก
 พุทธวจนในธรรมบท
มงคล ๓๘ ประการ
พุทธศาสนสุภาษิต
นิทานธรรมะบันเทิง
สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
พระพุทธรูปปางต่างๆ
พระพุทธรูปสำคัญ
จีรัง กรุ๊ป
เพจธรรมะไทย
© ธรรมะไทย