ศาสนพิธีในหมวดของกุศลพิธี : ตอน การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้
ไตรสรณคมน์ คือ การปฏิญาณตัวเอง หรือตั้งสัตยาธิษฐานในการนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ คือ การประกาศตนเองว่าเป็นผู้ยอมรับนับถือเอาพระพุทธเจ้าสูงสุดในชีวิต
"การแสดงตนให้ปรากฏว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาได้ทำกันมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่"
การปฏิญาณตนว่าถึง พระรัตนตรัย ส่วนมากกล่าวเป็นภาษาบาลี นิยมว่าดังนี้
คำปฏิญาณตนถึงสรณะ
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิี แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ แปลว่า ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
นิยมว่าทบทวนอีก 2 ครั้ง
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปี ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตติยัมปี สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ครับ การที่นิยมว่าย้ำถึง 3 ครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นคง แนะนอน และปลงใจมั่นว่า จะปฏิบัติตามคำกล่าวนี้ตลอดไป
การปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ
ในประเทศไทยที่นิยมกันคือ บุคคลที่เข้ามานับถือพระพุทธศาสนาใหม่ ๆ อาจจะนับถือศาสนาอื่นมาก่อน หรืออาจจะยังเยาว์วัย แต่บิดา มารดา และผู้ปกครองอื่น ๆ ต้องการจะให้ลูกนับถือพระพุทธศาสนา จึงควรแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ดังนี้
1. เมื่อบุตรหลานของตนมีอายุพ้นเขตเป็นทารกระหว่างอายุ 12-15 ปี ก็จะประกอบพิธีให้ บุตรหลานได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เด็กได้สืบสานความเป็นชาวพุทธต่อไป
2. นิมนต์พระสงฆ์ 4 รูปขึ้นไป ประชุมกันในอุโบสถ หรือสถานที่อันเหมาะสมอื่น ๆ ก็ได้
3. ผู้ปฏิญาณต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อย นิยมนุ่งผ้าขาว ห่มผ้าขาว หรือใส่ชุดขาวเข้า ไปสู่ที่ประชุมสงฆ์ แล้วจุดธูปเทียนบูชาพระ แล้วกราบ 3 ครั้ง
4. ถวายเครื่องสักการะ แก่พระสงฆ์ เสร็จแล้วกราบพระสงฆ์อีก 3 ครั้ง
5. นั่งคุกเข่าประนมมือ กล่าวคำปฏิญาณแสดงตนว่าเป็นพุทธมามกะ
6. นั่งราบ รับฟังโอวาทจากพระอาจารย์ (พระสงฆ์) จบแล้วสมาทานศีล 5 แล้วคุกเข่าขึ้น กราบ 3 ครั้ง
7. ถ้ามีไทยทาน(อาหาร) ก็ถวายจากนั้นพระสงฆ์สวดให้พร แล้วกราบ 3 ครั้งเป็นเสร็จพิธี
8. ในกรณีที่จะส่งบุตรหลานของตน ซึ่งเป็นชาวพุทธอยู่ก่อนแล้วไปในประเทศที่ไม่มีการ นับถือพระพุทธศาสนา เป็นการไปอยู่หลายปี ก็มีการจัดพิธีแสดงตนเป็นพุทธมากะในต่างแดน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้เด็กได้ระลึกอยู่ว่าตนเองนั้นเป็นชาวพุทธ
9. ในตามโรงเรียนมักจัดให้นักเรียนแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เยาวชนมั่นคงในพระพุทธศาสนา
10. ในกรณีที่มีบุคคลต่างชาติ ต่างศาสนาต้องการจะยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ใช้วิธีเช่นเดียวกันทั่วไป
ข้อสังเกต : ในยุคปัจจุบันนี้มักไม่คอยยึดถือกันเท่าที่ควรเรียกว่า ปล่อยปละละเลยกันไปพอสมควร
แหล่งข้อมูล : ขอบคุณกรมการศาสนามากที่เอื้อเฟื้อ