ค้นหาในเว็บไซต์ :

ศีล
โดย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์

เรื่องที่ ๑๐ : ใครได้ - ใครเสีย ? ( ๑ )


เมื่อตอนที่แล้ว ได้พูดถึงหลักวินิจฉัย ในศีลข้อที่ ๒ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในตอนนี้ ก็จะพูดถึง เหตุผลประกอบในแง่มุมต่างๆเกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่าน พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ ท่านได้กล่าวไว้ว่า

ศีลข้อที่ ๑ กับ ศีลข้อที่ ๒ เป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวิตด้วยกัน แต่เกี่ยวคนละด้าน
ศีลข้อที่ ๑ ท่านห้ามไม่ให้ทำลายชีวิตของผู้อื่น
ศีลข้อที่ ๒ ให้รู้จักเลี้ยงชีวิตของตนเอง และไม่ทำลายเครื่องเลี้ยงชีวิตของคนอื่นด้วย

การเลี้ยงชีวิต บางคนเห็นว่าเป็นการเลี้ยงร่างกาย เป็นเรื่องของวัตถุ ไม่น่าเกี่ยวกับบุญ - บาป ซึ่งเป็นเรื่องของใจโทษของการลักขโมยเขากิน บางคนก็คิดแต่เพียงว่า ที่ท่านห้าม ก็เพราะ เป็นการทำให้คนอื่นเดือดร้อน อีกทีก็เห็นเพียงว่า โทษของการขโมยเขากิน ก็คือการติดคุก ติดตะรางความเห็นเหล่านี้ถูกทั้งนั้น แต่ถ้าเห็นเพียงเท่านี้ ก็ยังเป็นความเห็นที่แคบ ไม่พอคุ้ม ตัวได้ผมเคยได้ยินกับหู มีคนพูดว่า ข้าราชการโกงเงินหลวงไม่บาป ได้ยินจริงๆ ในระหว่าง ปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นระยะที่ศีลข้อที่ ๒ นี้ กลับเข้าไปอยู่กับพระเสียมาก

ท่านผู้พูดอธิบายว่า การที่ท่านห้ามลักทรัพย์ ก็เพราะมุ่งผล ๒ อย่างเท่านั้น คือมุ่งไม่ให้ ทำให้คนที่เป็นเจ้าทรัพย์เดือดร้อน นั่นประการหนึ่งอีกประการหนึ่ง มุ่งป้องกันผู้รักษาศีล ไม่ให้พัวพันกับความผิด ซึ่งจะทำให้ต้องติดคุกติดตะราง เป็นการเดือดร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็มีทางพิจารณาลงความเห็นว่า การโกงเงินหลวงนั้น ไม่เห็นมีผู้ใดจะต้องเดือดร้อน ในฐานะ เป็นเจ้าของทรัพย์ หลวงเองก็ไม่มีเนื้อมีตัว ไม่มีลูก ไม่มีเมีย ที่จะต้องดูแล เพราะฉะนั้นจึง หมดปัญหาที่ว่า เป็นการทำให้เจ้าทรัพย์เดือดร้อนเหลืออยู่ประตูเดียว ระวังตัวอย่าให้เขาจับ ได้ ถ้าใครมีไหวพริบพอตัวก็ไม่ต้องกลัวความเห็นอย่างนี้ น่าจะเป็นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้การ ทุจริตต่างๆระบาดไปทั่วแผ่นดินไทยชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งเรายังจำกันได้ดีอันที่จริง เห็นอย่างว่า นั้นไม่ถูก เงินหลวงนั้นมีเจ้าของเหมือนกัน คือคนทั้งประเทศนั่นแหละเป็นผู้เสียหายเห็นอย่าง นี้ ยังไม่ครบถ้วนทุกประเด็น ผมจึงพูดว่า เป็นความเห็นไม่คุ้มตัว ความจริงการลักขโมย หรือ ฉ้อโกงนั้น ยังมีทางเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดอยู่อีกทางหนึ่ง คือเป็นการทำลายฐานะ ความเป็น มนุษย์(มนุษยภาพ)ของตนเอง อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้เลยเมื่อเข้าใจในแง่นี้แล้ว

จึงจะเห็นว่า โทษ ๒ ประเด็นแรก คือเกี่ยวกับการทำให้คนอื่นเดือดร้อน และการ ติดคุก ติดตะรางเหล่านั้น เป็นเพียงโทษชั้นนอก ผิวเผินนักท่านคงจะจำได้อยู่เสมอว่า ในตัวเรานี้ มีสิ่งสำคัญควรรักควรหวงแหนที่สุดอยู่อย่างหนึ่ง คือจิตใจ จิตใจเท่านั้นที่ ทำให้ตัวเรา ทั้งตัวมีความหมายแต่จิตของคนเรา มีโรคเก่าที่ยังไม่หายขาดอยู่ ๓ อย่าง คือความโลภ ความโกรธ ความหลงการรักษาศีล เป็นวิธียับยั้งโรคเหล่านี้ ไม่ให้กำเริบขึ้น การผิดศีลข้อ ๒ คือการลักฉกฉ้อโกงเอาทรัพย์ของคนอื่น ก็เป็นการกระทำอย่างหนึ่ง ที่ทำให้โรคเก่า ของจิตกำเริบตามปกติของจิต พอเริ่มคิดจะลักทรัพย์ หรือคิดฉ้อโกง ฉกชิงเอาทรัพย์ ของคนอื่น จิตจะเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลง ขาดความสงบเยือกเย็น เป็นจิตที่กระสับกระส่าย อาการเหล่านี้ ใครทำใครรู้ นี่แหละ จิตเริ่มเปลี่ยนแปลงถ้า เจ้าตัวยังพยายาม ทำทุจริต อีกต่อไป จนความพยายามมันสำเร็จลงแต่ละครั้ง จิตก็ลดฐานะลงสู่ภาวะที่ต่ำ กว่าเดิม ทุกครั้ง "ยังไม่จบนะครับ ตอนหน้ายังมีต่อ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย