"มีบางท่านถามมาว่า ศีลข้อนี้ดูเหมือนจะเอียง คือห้ามเฉพาะฝ่ายหญิงเป็นส่วนใหญ่ พูด
ง่ายๆ คือเข้าข้างผู้ชาย ยกตัวอย่างเช่น ชายโสดไปสมสู่กับหญิงที่ไม่ต้องห้าม ไม่ผิดศีล แต่
ถ้าหญิงโสด อยู่ในปกครองของบิดามารดา คือไม่เป็นอิสระแก่ตัว ถ้าร่วมสมสู่กับชาย เป็นผิด
ทั้งนั้น เพราะถือว่าละเมิดน้ำใจของบิดามารดา หรือผู้ปกครองของตน ดังนี้เป็นต้น
แต่เมื่อมาบรรยายเรื่องศีลกาเมเข้า ก็อยากจะเอามาเขียนลงไว้เสียด้วย เรื่องการบัญญัติศีล
สิกขาบทสำหรับภิกษุณี ก็มากกว่าของฝ่ายภิกษุ แม้แต่จะอุปสมบทเป็นนางภิกษุณีได้ ก็ลำบาก
ยากเย็นกว่าชาย เกี่ยวกับทางเมถุนธรรม จำกัดขอบเขตฝ่ายหญิงมาก เป็นความจริง ถึงใน
วินัยพระแต่เรื่องอย่างนี้ เป็นเรื่องเหตุผล ไม่ใช่ลำเอียงอย่างบางคนว่า พระพุทธเจ้า เป็นผู้ชาย
ก็ห้ามเข้าข้างผู้ชาย ไม่ใช่อย่างนั้น คิดดูง่ายๆว่า ถ้าผู้ชายคนหนึ่ง มีลูก ๒ คน
คนหนึ่งเป็นลูกชาย อีกคนหนึ่งเป็นลูกหญิง ทีนี้ ชายคนนั้นต้องตัดกางเกงสากลให้ลูกชาย
ส่วนลูกสาว ตัดกระโปรงให้ กางเกงกับกระโปรงนั้น รูปทรงต่างกัน เนื้อผ้าก็ต่างกัน เราจะ
ท้วงว่า นายคนนั้นแกไม่ยุติธรรมกะลูก จะควรหรือ ?...นี่มันเรื่องเหตุผล ซึ่งจำเป็นต้องต่าง
กัน เหมือนกันไม่ได้ผู้ชายนุ่งกางเกง พ่อซื้อกางเกงให้ ก็ชอบด้วยเหตุผลแล้ว ผู้หญิงนุ่งกระ
โปรง พ่อซื้อกระโปรงให้ ด็ชอบด้วยเหตุผลแล้วถ้าเกิดอุตริไปให้เหมือน กันเข้า มันก็ผิด ดูไม่
ได้เลย ในเรื่องข้อห้ามต่างๆก็เหมือนกัน ท่านต้องพิจารณาถึงผล ได้ผลเสีย จึงจะได้ ประโยชน์
และเป็นความยุติธรรมอยู่ในตัว เพราะความผิดเกี่ยวกับ ทางเมถุนนี้ ฝ่ายหญิงย่อม มีทาง เสีย
หายมากกว่าชาย เป็นที่ทราบอยู่แล้ว
ทีนี้ว่าถึงศัพท์ คำบาลีสำหรับศีลสิกขาบทนี้ว่า "กาเมสุมิจฉาจารา" แปลว่า ประพฤติผิด
กาเมสุ เป็นพหูพจน์ เวลาแปล ต้องแปลว่า ในกามทั้งหลายคำว่า "ทั้งหลาย" คือมาก ตั้งแต่
๒ ขึ้นไป เมื่อศัพท์เดิมว่าไว้อย่างนี้ ก็เลยทำให้นักภาษา พากันคิดถึงความหมาย คือมีปัญหาว่า
เหตุใดท่านจึงใช้คำว่ากามทั้งหลาย จะใช้คำว่า กามเฉยๆ ไม่ได้หรือ ? บางคนวิจารณ์ไปใน
กาม คุณ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสที่ว่าผิดในกามทั้งหลาย ก็คือผิดใน ๕ อย่างนี้ ดูก็เข้า
ทีเข้าใจคิด แต่ครั้นถูกไล่เลียงเข้าไปอีกว่า การผิดศีล ข้อกาเมนี้ ผิดในรูป ในเสียง ในกลิ่น
ในรส ผิดไม่ได้เห็นรูปเมียเขาสวยๆ มองแล้ว มองอีก ก็ไม่ผิดศีลได้ยินเสียงเมีย คนอื่นร้อง
เพลงเพราะๆ แอบชอบเสียงเขา ก็ไม่ผิดศีล ในกลิ่น ในรส ก็เหมือนกัน
ความจริงทางออกมี คือในวัตถุกามทั้ง ๕ นั้น ทำให้ศีลขาดได้อย่างเดียวคือ "สัมผัส"เท่านั้น
ที่ว่า สัมผัส ในที่นี้ ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านก็ว่า การถูกเนื้อต้องตัวกัน มาถึงตรงนี้ พอจะมอง
เห็นทางออกแล้ว คือการถูกเนื้อต้องตัวนั้น เป็นเรื่องของคนคู่ คือคน ๒ คนขึ้นไป คนเดียวจะ
ถูกเนื้อต้องตัวให้ผิดศีลไม่ได้ เพราะฉะนั้น ในบางแห่งท่านจึงใช้ศัพท์ว่า"เมถุนธรรม" แปล
ตรงตัวว่า"เรื่องของคนคู่" ออกทางนี้ เข้าทีดีกว่า เห็นความได้ชัดทีเดียว ตกลงว่า คำว่า
"กามทั้งหลาย" หมายถึงเมถุนธรรม คือพูดรวบยอดว่าล่วงประเวณี หรือผิดประเวณี
ได้มีบางท่าน แปลศัพท์ กามะ ว่าของที่รักใคร่ แล้วอธิบายว่า ของรักของใคร่นั้น หมายถึง
พัสดุสิ่งของทุกอย่างด้วย แม้แต่เด็กคนหนึ่ง มีตุ๊กตาที่เขารักและหวงแหนมาก แล้วมี เด็กอีก
คนหนึ่งมาถูกต้องตุ๊กตาตัวนั้น เด็กที่มาถูกต้อง ก็ถือว่าผิดในกาม เสียศีลข้อนี้ด้วย
อธิบายอย่างนี้ เป็นการเกินขอบเขตของศีลไป หนักเข้าก็จะเกณฑ์เอาเด็กทารกนอนเปล ให้มา
ผิดศีลกาเมด้วย เพราะไปเอาคำอธิบายธรรมะมาอธิบายศีล ทำให้ยุ่งงทางปฏิบัติได้ เหมือนกัน
ในเรื่องความหมายศีลข้อนี้ ขอให้ท่านนักศึกษาธรรมะโปรดเข้าใจด้วยว่า คำว่า กาม หรือ
กาเมสุ นั้น หมายถึง เมถุนธรรม อย่างเดียวเท่านั้น