ค้นหาในเว็บไซต์ :

ศีล
โดย : พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์

เรื่องที่ ๓๐ : โทษของสุรา ( ๔ )


โทษข้อที่ ๔ เหล้าทำให้เสียชื่อเสียง

แน่นอนที่สุด ชื่อเสียงย่อมไม่มีแก่คนสติฟั่นเฟือน ซึ่งอาจทำความผิดได้ทุกประตู บางคน อ้างว่า ดื่มเพื่อสังคม คล้ายๆกับว่า การสังคมคบหากัน จำเป็นต้องดื่มเหล้า ไม่ดื่มไม่ได้ ซึ่ง เป็นความเข้าใจผิด หรือเป็นการแก้ตัว ผมเคยฟังท่านผู้ใหญ่บรรยายมารยาท ในสังคม และ เคยศึกษาจากตำราสังคมหลายเล่ม ไม่เคยฟังหรือพบว่า การสังคมต้องดื่มเหล้า มีแต่สอน ซ้ำๆซากๆว่า "จงอย่าดื่มสุรา ถ้าอดไม่ได้จริงๆ ก็จงดื่มให้น้อยที่สุด และเมื่อรู้สึกตัว ว่าเมา ควรรีบปลีกออกจากสังคมเสีย"... มีแต่สอนกันอย่างนี้ เหล้าไม่ใช่แกนแห่งสังคมแน่ บางคน อ้างความจำเป็นในการผูกมิตร จึงดื่มเหล้า อ้างว่าถ้าไม่ดื่มเหล้า เราจะนับถือ กันได้อย่างไร ?

นี่ก็อีกแหละ คนเลี้ยงเหล้ามีเพื่อนมากจริง เราอาจหาเพื่อนได้เป็นพันๆในชั่วโมงเดียว แต่ น่า เสียดายที่ว่า รุ่งเช้า เหล้าสร่างแล้ว มิตรภาพก็สร่างไปด้วย พอเมาแล้ว ก็มักจะปววารณา "น้องชายมีอะไรใช้พี่นะ อย่าเกรงใจ"... แต่รุ่งเช้า พูดกันไม่รู้เรื่อง ดูซิ เพราะฉะนั้น เราตั้ง สูตรได้ว่า มิตรที่ได้ด้วยเหล้า ก็เหมือนผ้าที่ย้อมด้วยขมิ้น สีตกเร็ว ต้องย้อมกันบ่อยๆ จึงจะได้ สีเดิม ผู้ที่ผูกมิตรด้วยเหล้า ถ้าตัวตกอับลง ไม่มีเหล้าให้เขากินเมื่อไร มิตรก็จะหายไปเมื่อนั้น ผมเคยเห็นมาแล้ว เป็นเหตุการณ์ที่เกิดใกล้กับตัวข้าพเจ้ามาก คือท่านผู้ซึ่งเคยเป็นเจ้ามือเลี้ยง เหล้า ขนาดหนักผู้หนึ่ง ซึ่งบรรดาคอสุราทั้งหลายยกเป็น "ตั้วเฮีย" ทีเดียว เกิดล้มป่วยลง อย่างหนัก พอแสดงอาการหมดหวัง ที่จะเป็นเจ้ามือได้ต่อไปแล้ว บรรดาสุรามิตรทั้งหลาย ซึ่งไม่เคยขาดบ้านแต่ก่อน หายหน้าไปหมด เหลือแต่ผู้นับถือกันด้วยใจแท้ๆ ไม่มีอะไรย้อม คอยนั่งกรอก ข้าวกรอกน้ำให้ เป็นอย่างนี้แหละท่าน มิตรภาพใน ขวดเหล้า มันระเหยได้ เมื่อเหล้าหมด มิตรก็หมดด้วย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย