ค้นหาในเว็บไซต์ :

วิปัสสนา

เรื่องที่ ๒๓ : ๑๑ วันธรรมบรรยาย ( ๙ )
โดย : ท่านอาจารย์สัตยา นารายัน โกเอ็นก้า


วิถีแห่งธรรมะ เรียกว่าอริยมรรคมีองค์ ๘ บุคคลใดที่เดินไปตามเส้นทางสายนี้ คือบุคคลผู้มี จิตอันประเสริฐ เป็นอริยบุคคล ทางสายนี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ หมวดคือ ศีล สมาธิ และปัญญา ศีล คือจริยธรรมอันเกิดจากการงดเว้นจากการประพฤติผิดทั้งทางกายและวาจา สมาธิ คือการ ปฏิบัติ เพื่อควบคุมจิตใจ การฝึกทั้ง ๒ หมวดไปพร้อมๆกัน จะช่วยให้ปฏิบัติได้ดีขึ้น แต่ทั้งศีล และสมาธิ ก็ยังไม่สามารถขจัดกิเลสที่เกาะกุมจิตใจให้หมดไปได้

ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกในหมวดที่ ๓ อันได้แก่ ปัญญา ซึ่งเป็นการพัฒนาสติปัญญา และ วิปัสสนาญาณ เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจด ในหมวดของศีล ประกอบด้วยอริยมรรค ๓ ประการ คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ ซึ่งแต่ละข้อ มีความหมายดังนี้

๑. สัมมาวาจา คือวาจาชอบ ได้แก่ การกระทำทางวาจาที่สุจริต ในการทำความเข้าใจว่า ความสุจริตทางวาจาคืออะไรนั้น เราต้องรู้เสียก่อนว่า วาจาที่ไม่สุจริต คือ อะไร นับตั้งแต่การ พูดเท็จเพื่อหลอกลวงผู้อื่น พูดหยาบคายให้ผู้อื่นเจ็บใจ พูดส่อเสียดให้ร้ายและพูดเพ้อเจ้อเหล่า นี้ล้วนแต่เป็นการกระทำทางวาจาที่ไม่สุจริต หากผู้ใดละเว้นการกล่าววาจาที่ไม่ดีเหล่านี้ได้ ก็จะ เป็นผู้ที่มีวาจาชอบ

๒. สัมมากัมมันตะ คือประฤติชอบ ได้แก่ การกระทำทางกายที่สุจริต ในทางธรรมะนั้น สิ่งที่ ถือเป็นบรรทัดฐาน ที่จะวัดความสุจริตของการกระทำ ก็คือดูว่า การกระทำนั้นเป็นการช่วยเหลือ ผู้อื่น หรือทำให้เกิดผลร้ายต่อผู้อื่น ซึ่งการกระทำเหล่านี้ อาจจะเป็นการกระทำทางกาย ทาง วาจาหรือทางใจก็ตาม ดังนั้น การฆ่าสัตว์หรือทำลายชีวิต การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม และการดื่มเครื่องดองของเมา จนไม่รู้สึกตัว จึงล้วนเป็นการกระทำที่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น และ เป็นอันตรายต่อตนเองด้วย หากผู้ใดละเว้นการกระทำเหล่านี้แล้ว ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ประพฤติชอบ

๓. สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีพชอบโดยปกติแล้ว คนทุกคนมีการหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว โดยทางใดทางหนึ่ง แต่ถ้าการหาเลี้ยงชีพนั้น กลับเป็นอันตรายแก่ผู้อื่นก็จะไม่เป็นการมีอาชีพที่ ชอบบางครั้งในการประกอบอาชีพ ตนเองอาจจะไม่ได้กระทำสิ่งที่ผิด แต่การกระทำของตนเอง นั้น ไปส่งเสริมให้ผู้อื่นกระทำผิด อันนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นการทำอาชีพที่ชอบ ตัวอย่างเช่น ขายสุรา ขายอาวุธ ขายสัตว์ ขายมนุษย์ เปิดบ่อนการพนัน เหล่านี้ล้วนมิใช่สัมมาอาชีพ และถึงแม้อาชีพ ที่ประกอบอยู่จะจัดอยู่ในประเภทสัมมาอาชีพ แต่ผู้ประกอบการกลับมีพฤติ-กรรมที่เอารัดเอา เปรียบผู้อื่น การประกอบอาชีพของผู้นั้น ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นสัมมาอาชีพและไม่อาจพูดได้ว่า เลี้ยงชีพชอบ ตรงกันข้าม หากเป็นการกระทำที่มีส่วนสร้างสรรค์สังคม เป็นการสละความรู้ ความชำนาญของตนให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยได้รับผลตอบแทนเพียงพอ ที่จะทำให้ ตนเองและครอบครัวดำเนินไปได้ เช่นนี้จึงจะเรียกว่า บุคคลผู้นั้นเลี้ยงชีพชอบ ผู้ครองเรือน ทุกคน ต่างต้องการเงินมาใช้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

อันตรายจะเกิดขึ้นก็เมื่อการหาเงินนั้น ทำให้เกิดอัตตาเพิ่มขึ้น โดยการพยายามที่จะเก็บสะสม เงินไว้ให้มากที่สุด และรู้สึกดูแคลน คนที่หาเงินได้น้อยกว่าทัศนคตินี้ จะเป็นอันตราย ทั้งต่อ ตนเองและผู้อื่น เพราะยิ่งมีอัตตามากเท่าไร คนก็จะยิ่งหลุดพ้นยากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการดำรง ชีวิตที่ถูกต้องจึงควรมีการให้ทาน คือการแบ่งปันรายได้ให้กับผู้อื่น ซึ่งเท่ากับว่า เรามิได้หา เงินมาเพียงเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น หากแต่ยังทำเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นด้วย





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย