องค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดราชสิทธาราม
สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระ สังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ได้รับการสถาปนา เป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ อยู่ใน ตำแหน่ง ๓ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา
พระองค์ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๖ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงธนบุรี ได้เป็นพระอธิการอยู่วัดท่าหอย แขวงรอบกรุงเก่า มีพระเกียรติคุณในทางบำเพ็ญสมถภาวนา
ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้โปรดให้นิมนต์พระองค์มาอยู่ที่วัดพลับ และให้ เป็นที่พระญาณสังวรเถรพระองค์ทรงเป็นพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯตั้งแต่ยังอยู่ที่ วัดท่าหอย การที่โปรดให้นิมนต์มาอยู่ที่วัดพลับ ก็เนื่องจากเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรี ซึ่งต่อ มาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯจึงได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดราชสิทธารามพระองค์ได้รับ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวรณ์เมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๙ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอีก ๔ ปีต่อมา เมื่อมีพระชนมายุได้ ๘๘ พรรษา
ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร นับว่าเป็นตำแหน่งพิเศษ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นตำแหน่งที่พระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ
นอกจากนั้น พระองค์ยังได้รับการถวายสมัญญาว่า สังฆราชไก่เถื่อน จากชาวบ้านทั่วไป เนื่องจากการที่ พระองค์ทรงคุณธรรมทางวิปัสสนาธุระดังกล่าวแล้ว
เมื่อครั้งเกิดอหิวาตกโรคระบาดในกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย ประมาณถึง สามหมื่น คนเศษ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงให้ตั้งพระราชพิธีอาพาธพินาศ โดยพระองค์ทรงศีลและ ให้ตั้งโรงทาน ส่วนสมเด็จพระสังฆราชทรงให้สังคายนาบทสวดมนต์ เพื่อใช้ในพระราชพิธีดังกล่าว