ค้นหาในเว็บไซต์ :
องค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ)

องค์ที่ ๖ สมเด็จพระสังฆราช (นาค) วัดราชบุรณะ (วัดเลียบ)
ทรงดำรงตำแหน่ง   พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๙๒ ในรัชกาลที่ ๓ รวมเป็นเวลา ๗ ปี
พระนามเดิม นาค
พระฉายา ไม่ปรากฏหลักฐาน
นามสกุล -
พระชนก ไม่ปรากฏหลักฐาน
พระชนนี ไม่ปรากฏหลักฐาน
ประสูติ วันอาทิตย์ เดือน ๔ แรม ๔ ค่ำ ปี ชวด พ.ศ.๒๓๐๑ ในแผ่นดิน พระ เจ้าเอกทัศน์ กรุงศรีอยุธยา
ทรงอุปสมบท -
ดำรงตำแหน่ง วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๖
สิ้นพระชนม์ ปีระกา พ.ศ. ๒๓๙๒ สิริรวมพระชน มายุ ๘๖ ปี

สมเด็จพระสังฆราช (นาค) เป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัด ราชบูรณะราชวรวิหาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้า ฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๖ ทรงดำรงตำแหน่ง อยู่ ๖ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๒ เมื่อพระ ชนมายุได้ ๘๖ พรรษา

พระประวัติตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๓๐๑ เป็นพระราชาคณะที่ พระนิกรมุนี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ ได้เลื่อน เป็น พระพรหมมุนี เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๙ ต่อมาเป็น พระธรรมอุดม และได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระพนรัตน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื่องจากในระยะเวลาที่ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุกำลังอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์ พระองค์จึงสถิต ณ วัดราชบูรณะตลอดมาจนสิ้นพระชนม์ ทำให้ธรรมเนียมการแห่สมเด็จพระสังฆราชมาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เป็นอันเลิกไปตั้งแต่นั้นมา และสมเด็จพระสังฆราชเคยสถิตอยู่ ณ พระอารามใด เมื่อครั้งก่อน เป็นสมเด็จ พระสังฆราช ก็ยังคงสถิตอยู่ ณ พระอารามนับสืบต่อไป เป็นแบบธรรมเนียมมาจนถึงปัจจุบัน

ได้มีการส่งสมณทูตไปลังกาเป็นครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๘๗ โดยทางเรือและเดินทางกลับในปีเดียวกัน พร้อมกับ ได้ยืมหนังสือพระไตรปิฎกมาอีก ๓๐ คัมภีร์ พร้อมทั้งมีภิกษุสามเณร และคฤหัสถ์ชาวลังกา ติดตามมาด้วยกว่า ๔๐ คน การที่มีพระสงฆ์ชาวลังกาเดินทางเข้ามาประเทศไทยบ่อยครั้ง จึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าฯ ขณะทรงผนวช และเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รับภาระต้อนรับดูแลพระสงฆ์ชาวลังกา ดังนั้นวัดบวรนิเวศ ฯ จึงมีหมู่กุฎีไว้รับรองพระสงฆ์ลังกาโดยเฉพาะ เรียกว่า คณะลังกา





จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย