วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้าง สมัยทวารวดี - สุโขทัย มีอายุราว 800 - 1,000 ปี โดยประมาณ เนื่องจากขุดพบซากอิฐสมัยทวารวดีอยู่เป็นจำนวนมาก มีผู้กล่าวว่าวัดมหาธาตุวรวิหารน่าจะเคยเป็นวัดที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมาชำรุดทรุดโทรมลง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2459
ปัจจุบันวัดมหาธาตุวรวิหารถือเป็นแหล่งรวบรวมผลงานด้านศิลปวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านพระอุโบสถและรายละเอียดต่าง ๆ ภายในมากมาย โดยสิ่งที่น่าชมได้แก่
- พระวิหารหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ นอกจากนี้ยังมีหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัดที่ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อวัดมหาธาตุ ส่วนภายในพระวิหารหลวงนั้น ผนังทุกด้านมีจิตรกรรม ฝาผนังที่สวยงาม ทั้งภาพชาดกและเทพชุมนุมที่หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มีพญาวานรแบกครุฑอยู่อีกชั้นหนึ่ง พื้นหลังเป็นลายกนกก้านขด ดอกช่อลายหางโต เป็นรูปครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ
- พระวิหารน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาโดยมีฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย บนฐานมีลายปูนปั้นและประดับกระจกสวยสดงดงาม และลวดลายปูนปั้นนี้ถือเป็นมุขตลกของช่างที่ต้องการสร้างอารมณ์ขันให้แก่ผู้พบเห็น ด้วยการแกะเป็นหน้าของบุคคลสำคัญที่เรารู้จักกันดี เช่น รูป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานพระ เป็นต้น
- พระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์สูงตระหง่านในเขตพุทธาวาสสามารถมองเห็นได้แต่ไกลทั้ง 4 ทิศ วัดจากฐานถึงยอดนภศูลได้ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร มีอายุราว 1,000 กว่าปี ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณรอบพระปรางค์มีระเบียงคตเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ประดิษฐานบนระเบียง พร้องทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องไว้สวยงาม พระพุทธรูปส่วนใหญ่ เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลายและเป็นผลงานของสกุลช่างเมืองเพชรซึ่งมีพุทธลักษณะงดงามมาก
{ พระวิหารหลวง }
พระวิหารหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275 - 2301) ภายในพระวิหารหลวงมีพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ นอกจากนี้ ยังมี หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ วัดมหาธาตุ เป็นพุทธรุปปรางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 8 นิ้ว หัตถ์ซ้ายถือพัด ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อวัดมหาธาตุ ภายในพระวิหารหลวงผนังทุกด้านมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม ทั้งภาพชาดก และเทพชุมนุมที่หน้าบันประดับด้วยลาย ปูนปั้น รูปพระนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค มีพญาวานรแบกครุฑอยู่อีกชั้นหนึ่ง พื้นหลังเป็นลายกนก ก้านขดออกช่อลายหางโต เป็นรูปครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ
หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ตามประวัติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) นำมาจากวัดร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ประดิษฐานไว้ในพระวิหารวัดมหาธาตุวรวิหารเพชรบุรีเมื่อครั้งพระองค์ยังทรงผนวชอยู่
{ พระพุทธรูปประธานทรงราชาภรณ์ }
พระประธานในพระวิหารหลวง
{ พระวิหารน้อย }
พระวิหารน้อย เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา ฐานอ่อนโค้งทรงสำเภา ตั้งอยู่ระหว่างพระวิหารหลวงกับพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย ที่ฐานมีลายปูนปั้น ประดับกระจกสวยสดงดงาม เช่น รูป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานพระเป็นต้น ที่หน้าบันประดับด้วยลวดลายปูนปั้นวิจิตรงดงาม เช่นเดียวกับพระอุโบสถ และพระวิหารหลวง
{ พระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทอง ศิลปะแบบอู่ทอง ปางมารวิชัย }
ฐานพระพุทธรูปหลวงพ่ออู่ทองมีลายปูนปั้น ประดับกระจกสวยสดงดงาม เช่น รูป ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีแบกฐานพระ
{ พระปรางค์ 5 ยอด }
วัดมหาธาตุวรวิหาร มีพระปรางค์ 5 ยอด เป็นสัญลักษณ์ สูงตระหง่านในเขตพุทธาวาส สามารถมองเห็นได้แต่ไกลทั้ง 4 ทิศ วัดจากฐานถึงยอดนภศูลได้ 55 เมตร รอบฐานยาว 120 เมตร มีอายุราว 1,000 กว่าปี ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมาแต่อดีตกาล มีระเบียงคตรอบพระปรางค์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ ประดิษฐานบนระเบียง พร้องทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องไว้หลากหลาย สวยงาม พระพุทธรูปส่วนใหญ่ เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย และสกุลช่างเมืองเพชร พุทธลักษณะงดงามมาก
{ ระเบียงคตรอบพระปรางค์ }
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ในระเบียงคตมีพระพุทธรูปจำนวน 193 องค์ ประดิษฐานบนระเบียง พร้องทั้งมีตัวแบกที่ฐานพระ ส่วนมากตั้งอยู่ใต้องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องไว้หลากหลาย สวยงาม พระพุทธรูปส่วนใหญ่ เป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย และสกุลช่างเมืองเพชร พุทธลักษณะงดงามมาก
{ พระอุโบสถ }
{ พระพุทธรูปปางมารวิชัย }
พระประธานในพระอุโบสถ
จิตรกรรมฝาผนัง ในพระวิหารหลวง
{ พระเจดีย์ }