วัดนาคกลาง วรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดนาคกลาง วรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2355
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2357


วัดนาคกลางวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร อยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเดิม

วัดนาคกลางสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แต่เดิมบริเวณนี้มี 3 วัด คือ วัดนาค (ปัจจุบันคือวัดพระยาทำวรวิหาร) วัดกลาง (ปัจจุบันคือวัดนาคกลางวรวิหาร) และวัดน้อย (ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงเรียนทวีธาภิเศก และเคหสถานที่เช่าปลูกอาศัย) วัดทั้งสามได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีบันทึกไว้ว่า พระสนมในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มาสร้างพระวิหารหรือโบสถ์น้อย จนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีกรณีรวมชื่อวัด วัดนาค ให้ชื่อใหม่ว่า วัดพระยาทำ โดยเอาชื่อเดิมมารวมเข้ากับ วัดกลางและวัดน้อย ได้ชื่อใหม่ว่า วัดนาคกลาง เมื่อ พ.ศ. 2323 ในสมัยรัชกาลที่ 1 วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2357

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธประสิทธิ์ (หลวงพ่อมหาเศรษฐี) พระประธาน ในพระอุโบสถวัดนาคกลางวรวิหาร •


{ พระอุโบสถ }
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย หลังคาลด 3 ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ได้รับปฏิสังขรณ์ เมื่อ พ.ศ. 2504 ภายในประดิษฐานพระประธาน คือ หลวงพ่อพระพุทธประสิทธิ์ พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 71 นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกศ 104 นิ้ว ลงรักปิดทอง พร้อมทั้ง พระพุทธรูปบูชาต่าง ๆ และพระอัครสาวกเบื้องขวา เบื้องซ้าย


{ หลวงพ่อพระพุทธประสิทธิ์ }
พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 71 นิ้ว สูงจากฐานถึงพระเกศ 104 นิ้ว ลงรักปิดทอง พร้อมทั้ง พระพุทธรูปบูชาต่าง ๆ และพระอัครสาวกเบื้องขวา เบื้องซ้าย


{ จิตรกรรมฝาผนัง }
ในอุโบสถมีภาพวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าประวัติของพระพุทธเจ้า


นอกจากนั้นมีหลวงพ่อโคนสมอมหาลาภ ประดิษฐานที่มณฑปจัตุรมุขเป็นพระพุทธรูปปางหนึ่งที่มีความเก่าแก่มาก ซึ่งเรียกว่า ปางฉันสมอ หรือปางถือผลสมอ นัยว่าลอยน้ำมาจากทิศเหนือ ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดนาคกลางวรวิหาร หลายร้อยปีแล้ว


{ มณฑปจัตุรมุข }


{ ศาลาพระเจ้าตากสินมหาราช }


{ พระพุทธรูปด้านหน้าพระอุโบสถ }


{ พระสีวลีมหาเถระ }


{ ภายในศาลาพระเจ้าตากสินมหาราช }


รูปปั้นอนัตมหาเทวาพญานาคราช




11,046







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย