วัดทองธรรมชาติ วรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดทองธรรมชาติ วรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2390
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2390


สถานะและที่ตั้ง
วัดทองธรรมชาติเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ
แม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ ๑๔๑ ถนนสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร
มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๑ งาน ๑๖.๕ ตารางวา

ประวัติความเป็นมา
วัดทองธรรมชาติเป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เดิมเรียกกันว่า วัดทองบนคู่กับวัดทองล่าง
(วัดทองนพคุณ) สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื่องจากเสนาสนะเป็นสถาปัตยกรรม
สมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พระองค์เจ้าหญิงกุ (ต่อมาคือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนรินทรเทวี)
ซึ่งเป็นขนิษฐภคินีในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือเรียกกันว่าเจ้าครอกวัดโพธิ์
กับพระสวามีคือ หม่อมมุก (กรมหมื่นนรินทรพิทักษ์) ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างพระอุโบสถใหม่
แต่การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเพราะกรมหมื่นนรินทรพิทักษ์สิ้นพระชนม์ลง ครั้นรัชกาลที่ ๓ ทรงทราบว่า
วัดทองธรรมชาติบูรณะยังไม่เสร็จ จึงโปรดให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร เป็นแม่กอง
ก่อสร้างจนเสร็จ และทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธชินชาติ มาศธรรมคุณ •


{ พระอุโบสถ }
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันลายปูนปั้น บานประตูหน้าต่างด้านนอกลงรักเขียนลายทอง มีลักษณะเป็นลายกลับสองชั้น ช่างเขียนชื่อนายมั่น เขียนเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ซึ่งเขียนเมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถสมัยรัชกาลที่ ๓ บริเวณเหนือขอบหน้าต่างเขียนเป็นภาพเทพชุมนุม แบ่งตามศักดิ์ ๓ ชั้น รองลงมาเป็นภาพพระพุทธประวัติ ฝีมือเขียนแบบไทย ภาพที่อยู่หลังพระประธาน เป็นภาพมองจากที่สูง ผู้เขียนคงเขียนขึ้นเพื่อแสดงที่อยู่ของผู้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ เป็นภาพท้องที่วังบูรพาภิรมย์ สมัยรัชกาลที่ ๓ เห็นวังตั้งเด่นอยู่กลาง แวดล้อมด้วยตึกใหญ่ข้าง ๆ หลายหลัง ต่อจากกำแพงวังเป็นทางเดินปูอิฐสีแดง ต่อมาเป็นห้องแถวซึ่งมีทั้งคนไทยอาศัยอยู่ และคนจีนทำการค้าขายตามลำคลองมีโรงสำหรับเก็บเรือและแสดงการฝึกพายของพวกฝีพายต่อจากประตูกำแพงเมืองมีซุ้มประตูและมีสะพานขนาดใหญ่ลงน้ำเห็นช้างพลายกำลังเดินออกจากประตูเพื่ออาบน้ำในคลอง ซึ่งนับเป็นภาพจิตรกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเพราะได้แสดงถึงชีวิตความเป็นอยู่ และลักษณะชุมชนของคนในสมัยนั้นเป็นอย่างดี หน้าบันพระอุโบสถจำหลักไม้เป็นรูปเทพพนมบนลายก้านขดเป็นฝีมือของช่างสมัยอยุธยา


{ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง }


{ พระประธาน ในพระอุโบสถ - พระพุทธชินชาติ มาศธรรมคุณ }
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก ๔ ศอก ๔ นิ้ว และมีพระอัครสาวก ซ้ายขวา ประดิษฐานอยู่บนแท่นชุกชี


{ พระวิหาร }
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้อง แบบสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย มีจำนวน ๑๐ องค์ บนแท่นชุกชีมีพระพุทธรูป องค์ใหญ่ ๑ องค์และมีองค์เล็กกว่าตั้งลดหลั่นลงมาอีก ๓ แถว มีลักษณะอย่างเดียวกันทุกองค์



{ ภายในพระวิหาร }
ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย มีจำนวน ๑๐ องค์ บนแท่นชุกชีมีพระพุทธรูป องค์ใหญ่ ๑ องค์และมีองค์เล็กกว่าตั้งลดหลั่นลงมาอีก ๓ แถว มีลักษณะอย่างเดียวกันทุกองค์


นอกจากนี้ยังมีกุฏิสงฆ์ สร้างในรัชกาลที่ ๕ หลายหลัง และมีศาลาโถงสร้างไว้ตรงมุมกำแพงแก้วทั้ง ๔ มุม

- หอไตร เป็นอาคารไม้กว้าง ๔ เมตร ยาว ๕ เมตร สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๗
- หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น รูปร่างคล้ายป้อมฝรั่ง ชั้นที่ ๑ ประดิษฐานพระพุทธรูป ระฆังอยู่ชั้นล่าง
- ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้หลังคามุงกระเบื้อง กว้าง ๑๐.๗๐ เมตร ยาว ๑๙.๘๐ เมตร
- ธรรมาสน์เป็นไม้จำหลัก แบบบุษบก ๓ ชั้น




11,071







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย