วัดใหญ่สุวรรณาราม เดิมชื่อว่า "วัดน้อยปักษ์ใต้" เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าราบ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี วัดได้รับการปฏิสังขรณ์ที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 4 มีอาคารสำคัญได้แก่
- พระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา มีภาพทวารบาล จิตรกรรมภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น จุดเด่นคือภาพยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลายเป็นหน้าเนื้อ ไม่ใช่การวาดเหมือนสวมหัวโขนโดยทั่วไป พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยรูปหล่อพระสังฆราชแตงโม หน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต
- วิหารคต
- ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณารามเป็นสถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมยุคอยุธยาตอนปลาย สร้างด้วยไม้ผนังเป็นฝาปะกน ลงรักปิดทอง แต่การบูรณะผิดพลาดทำให้ถูกทาทับด้วยสีแดงทั้งหลัง เครื่องหลังคาเป็นโครงประดุชนิดมีจันทันต่อ มุงด้วยกระเบื้องกาบูแต่ด้วยการบูรณะที่ไม่ถูกต้องจึงมีการเทปูนตำ(ปูนโบราณ)ลงฉาบทั้งผืนหลังคา แต่ปูนตำเป็นปูนที่ใช้กะดาษฟางเป็นส่วนผสมจึงทำให้อมความชื้นและมีตะใคร่ขึ้นจับหลังคา ศาลาการเปรียญเดิมเป็นของเจ้าฟ้าพระขวัญ ตำหนัก ต่อมาพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโมโดยมีบานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่นคือเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตูมีหลัก มีรอยแผลบนประตู ทำให้มีประตูแตก ชำรุดถาวร เรียกรอยพม่าฟัน แต่นักวิชาการให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นการทำลายประตูตั้งแต่ครั้งรื้อตำหนักถวายสมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุณี) พระสังฆราช เกี่ยวเนื่องกับเรื่องวิญญานเจ้าฟ้าพระขวัญ เจ้าของตำหนักเดิม ที่ถูกพระเจ้าเสือสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อครั้งสมเด็จพระเพทราชาประชวรใกล้สวรรคต
- หอเก็บพระไตรปิฏก เป็นอาคารไม้ผนังฝาปะกน รองรับด้วยเสาไม้ 3เสา จากแนวคิดที่ว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 ปิฎกคือ พระธรรมปิฏก พระไตรปิฏก และพระสุตันตปิฎก
ชมความคลาสสิกของวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาจากหลักฐานตามพระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า "ภาพและลายในพระอุโบสถนี้คงเขียนมาก่อน 300 ปีขึ้นไป"
โดยภาพเป็นภาพพระพุทธประวัติ ภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น บานหน้าต่างเป็นภาพทวารบาล ประตูเป็นภาพชาวต่างชาติที่เข้ามาค้าขายในสมัยอยุธยา และพระเจ้าเสือแห่งกรุงศรีอยุธยา พระราชทานท้องพระโรงหลังหนึ่งเป็นไม้สักทั้งหลังเพื่อให้สร้างเป็นศาลาการเปรียญ ซึ่งมีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์และคุณค่าของศิลปกรรมในสมัยอยุธยา บานประตูแกะสลักเป็นลวดลายกระหนก ก้านขดปิดทองงดงาม และธรรมาสน์เป็นบุษบกแกะสลักลงรักปิดทอง ภายในวัดประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย มีพุทธลักษณะงดงาม ด้านหลังพระประธานมีพระพุทธรูปซึ่งช่างได้สร้างให้นิ้วพระบาทมี 6 นิ้ว และพระคันธารราษฎร์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้อัฐเชิญมาประดิษฐาน
นอกจากนี้ มีหอไตรทรงเรือนไทยเก็บพระไตรปิฎกตั้งอยู่กลางน้ำ พระปรางค์ลักษณะย่อมุมไม้สิบสอง ทั้งสี่ด้านขององค์ปรางค์เป็นซุ้มปูนปั้น โดยด้านล่างเป็นรูปฤาษีอยู่ในซุ้ม ส่วนด้านบนเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ประดิษฐานในซุ้ม ต่อมาได้มีการสร้างหอไตรเป็นทรงไทยสองชั้น มีระเบียงรอบ หลังคาประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นลายกระหนกก้านขดและเทพพนม หอระฆัง ซึ่งมีลวดลายปูนปั้นสวยงาม เหตุที่ได้ชื่อว่าวัดใหญ่นั้น น่าจะมาจากพื้นที่ของวัดซึ่งมีขนาด 20 ไร่เศษ ส่วนคำว่า สุวรรณ น่าจะได้จากพระนามของสมเด็จพระสังฆราช (แตงโม) ซึ่งเดิมท่านชื่อ ทอง หรืออาจเป็นนามฉายาของท่านว่า สุวณฺณ ก็ได้ เพราะท่านคือผู้ที่ทำการปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญให้กับวัด อันเป็นสถานศึกษาเดิม และวัดนี้จึงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วัดใหญ่สุวรรณารามในท้ายที่สุด ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดใหญ่ฯ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง
ที่มา : https://pbi.onab.go.th/th/content/category/detail/id/110/iid/12740
https://thai.tourismthailand.org/Attraction/วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร
{ พระอุโบสถเป็นศิลปะอยุธยา }
มีภาพทวารบาล จิตรกรรมภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น จุดเด่นคือภาพยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลายเป็นหน้าเนื้อ ไม่ใช่การวาดเหมือนสวมหัวโขนโดยทั่วไป พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยรูปหล่อพระสังฆราชแตงโม หน้าบันเป็นงานรูปปั้นสมัยอยุธยาตอนปลายที่งามพลิ้วราวมีชีวิต
{ ภายในพระอุโบสถ }
พระประธานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย , รูปหล่อพระสังฆราชแตงโม
{ จิตรกรรมฝาผนัง }
ภาพเทพชุมนุมเรียงรายกัน 5 ชั้น จุดเด่นคือภาพยักษ์และอมนุษย์ทั้งหลายเป็นหน้าเนื้อ ไม่ใช่การวาดเหมือนสวมหัวโขนโดยทั่วไป
{ ศาลาการเปรียญ }
วัดใหญ่สุวรรณารามเป็นสถาปัตยกรรม-ศิลปกรรมยุคอยุธยาตอนปลาย สร้างด้วยไม้ผนังเป็นฝาปะกน ลงรักปิดทอง แต่การบูรณะผิดพลาดทำให้ถูกทาทับด้วยสีแดงทั้งหลัง เครื่องหลังคาเป็นโครงประดุชนิดมีจันทันต่อ มุงด้วยกระเบื้องกาบูแต่ด้วยการบูรณะที่ไม่ถูกต้องจึงมีการเทปูนตำ(ปูนโบราณ)ลงฉาบทั้งผืนหลังคา แต่ปูนตำเป็นปูนที่ใช้กะดาษฟางเป็นส่วนผสมจึงทำให้อมความชื้นและมีตะใคร่ขึ้นจับหลังคา ศาลาการเปรียญเดิมเป็นของเจ้าฟ้าพระขวัญ ตำหนัก ต่อมาพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือพระเจ้าเสือ รื้อมาถวายพระสังฆราชแตงโมโดยมีบานประตูแกะสลักที่งดงามและมีความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปกรรมนั่นคือเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย และที่บานประตูมีหลัก มีรอยแผลบนประตู ทำให้มีประตูแตก ชำรุดถาวร เรียกรอยพม่าฟัน แต่นักวิชาการให้ความเห็นว่า น่าจะเป็นการทำลายประตูตั้งแต่ครั้งรื้อตำหนักถวายสมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุณี) พระสังฆราช เกี่ยวเนื่องกับเรื่องวิญญานเจ้าฟ้าพระขวัญ เจ้าของตำหนักเดิม ที่ถูกพระเจ้าเสือสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ เมื่อครั้งสมเด็จพระเพทราชาประชวรใกล้สวรรคต
{ บุษบกแว่นฟ้า ภายในศาลาการเปรียญ }
{ วิหารคต }
{ หอเก็บพระไตรปิฏก }
เป็นอาคารไม้ผนังฝาปะกน รองรับด้วยเสาไม้ 3 เสา จากแนวคิดที่ว่า พระไตรปิฎก ประกอบด้วย 3 ปิฎกคือ พระธรรมปิฏก พระไตรปิฏก และพระสุตันตปิฎก