วัดดุสิดาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดดุสิดาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2270
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2275


วัดดุสิดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมชื่อว่าวัดเสาประโคน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) ได้ทรงสถาปนาขึ้น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ได้ทรงสร้างกุฏิด้านหน้า ๑ คณะ หอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญ เจดีย์ และบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุอื่น ๆ ทรงบรรจุอัฐิเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพ ซึ่งเป็นพระเชษฐภคนี ในบริเวณกุฏิที่สร้างใหม่ และพระราชทานนามวัดว่า “วัดดุสิดาราม”

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานในพระอุโบสถ , ภาพจิตรกรรมฝาผนัง •


{ พระอุโบสถ }
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนมีระเบียงทั้งด้านหน้าและด้านหลังหลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันจำหลักรูปเทพพนม และรูปพระนารายณ์ทรงครุฑปิดทอง บานประตู หน้าต่าง เขียนลายรดนํ้าทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ภายในพระอุโบสถมีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระอัครสาวกนั่งประนมมืออยู่ข้างซ้ายขวาข้างละองค์ นั่งพับแพนงเชิงอยู่บนแท่นบัวคว่ำบัวหงายผินหน้าเข้าหาพระประธาน จิตรกรรมฝาผนังภายในเป็นภาพเทพชุมนุม เป็นเรื่องทศชาติและพุทธประวัติตอนผจญมาร และตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นภาพที่ยกย่องกันว่างามยอดเยี่ยมของยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นฝีมือของช่างที่มีชื่อเสียงใน
รัชกาลที่ ๓


{ พระประธาน }
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระอัครสาวกนั่งประนมมืออยู่ข้างซ้ายขวาข้างละองค์ นั่งพับแพนงเชิงอยู่บนแท่นบัวคว่ำบัวหงายผินหน้าเข้าหาพระประธาน


{ จิตรกรรมฝาผนัง }
ภายในพระอุโบสถเป็นภาพเทพชุมนุม เป็นเรื่องทศชาติและพุทธประวัติตอนผจญมาร และตอนเสด็จลงจากดาวดึงส์ เป็นภาพที่ยกย่องกันว่างามยอดเยี่ยมของยุครัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นฝีมือของช่างที่มีชื่อเสียงในรัชกาลที่ ๓


{ พระเจดีย์ประจำมุมภายในพระระเบียงคดวัดดุสิดาราม }
ประกอบด้วยพระเจดีย์ ๒ รูปแบบคือ พระเจดีย์ประจำมุมทรงปรางค์ย่อมุมไม้ พระระเบียงคดล้อมรอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน ด้านในมีหลังคาพาไลคลุมเฉลียง ผนังด้านนอกก่อทึบ ผนังด้านในโปร่งเป็นระเบียงทางเดิน มีซุ้มประตูเข้าออกเป็นหลังคาทรงจั่วปั้นหยา โดยมีลักษณะเฉพาะคือ ผนังด้านในมีการเจาะช่องจระนำประดับพระพุทธรูปยืนปางถวายเนตรลงรักปิดทองรอบระเบียงคด จำนวน ๖๔ องค์ บนพื้นผนังเขียนจิตรกรรมภาพพระสาวกยืนและนั่งปลงกรรมฐานบนพื้นสีน้ำตาลที่เป็นฉากธรรมชาติลายดอกไม้ ใบไม้และสัตว์นานาชนิด


{ พระระเบียงคดล้อมรอบพระอุโบสถทั้ง ๔ ด้าน }
ด้านในมีหลังคาพาไลคลุมเฉลียง ผนังด้านนอกก่อทึบ ผนังด้านในโปร่งเป็นระเบียงทางเดิน มีซุ้มประตูเข้าออกเป็นหลังคาทรงจั่วปั้นหยา โดยมีลักษณะเฉพาะคือ ผนังด้านในมีการเจาะช่องจระนำประดับพระพุทธรูปยืนปางถวายเนตรลงรักปิดทองรอบระเบียงคด จำนวน ๖๔ องค์ บนพื้นผนังเขียนจิตรกรรมภาพพระสาวกยืนและนั่งปลงกรรมฐานบนพื้นสีน้ำตาลที่เป็นฉากธรรมชาติลายดอกไม้ ใบไม้และสัตว์นานาชนิด


{ พระอุโบสถและวิหารเก่าภุมริน }


{ พระปรางค์ }


{ หอระฆัง }




ที่มา : https://www.watdusidaram.net/

10,863







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย