วัดสำราญนิเวศ อำนาจเจริญ
พระอารามหลวง ชั้นตรี
สังกัดคณะสงฆ์ : ธรรมยุติกนิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2484
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2487
วัดสำราญนิเวศ(พระอารามหลวง) ตั้งอยู่เลขที่ ๑๔ หมู่ ๙ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ
วัดสำราญนิเวศ (พระอารามหลวง)หรือ วัดสำราญ สังกัดคณะธรรมยุตินิกายได้รับพระบรมราชานุญาต ให้สร้างตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองของสงฆ์ร.ศ. ๑๒๑เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๒ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านสุขสำราญ ตำบลบุ่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญติดกับทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ (ถนนชยางกูร สายอุบลราชธานี-นครพนม) เป็นที่ดินของขุนสกุล-คุณแม่บุญเยือง สุวรรณกูฏ,คุณแม่คำหยาด ระภาเพศ และกำนันนวน สุวรรกูฏโดยมีพระครูทัศนประกาศ (บุ จนฺทสิริ)เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก พระครูทัศนประกาศ พร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้ดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงศาสนสถาน ศาสนวัตถุ ศาสนบุคคล และศาสนธรรม ด้วยความวิริยอุตสาหะ
วัดนี้ เดิมเป็นวัดป่ามีต้นไม้น้อยใหญ่ร่มรื่นสงัดเงียบ จึงเป็นสถานที่อันเหมาะสมในการเจริญสมณธรรมของพระกรรมฐาน ด้วยความศรัทธาและความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย อุบาสก อุบาสิกา ได้เกิดศรัทธาในการปฏิบัติธรรม จึงได้ช่วยกันพัฒนาวัดมาอย่างต่อเนื่อง ครั้นกาลเวลาล่วงมาถึงพุทธศักราช ๒๔๘๕เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสะมหาเถระ อ้วน)ออกตรวจการพระศาสนา และตรวจการคณะสงฆ์เดินทางมาพักแรมที่วัดนี้ ได้พิจารณาเห็นว่าที่นี่สมควรตั้งเป็นวัดที่จะอำนวยประโยชน์สุขแก่พุทธ ศาสนิกชนจึงได้ตั้งชื่อว่า "วัดสำราญ"ให้เป็นวัดคู่กับวัดพรหมวิหาร อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอุบลราชธานี(ปัจจุบันขึ้นกับจังหวัดยโสธร)
ในปีเดียวกัน เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสะมหาเถระ อ้วน) ได้ส่งพระมหาดุสิต เถวิโล วัดบรมนิวาสมาเป็นเจ้าคณะอำเภออำนาจเจริญขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ที่"พระครูทัศนวิสุทธิ์"พำนักอยู่ที่วัดสำราญนิเวศ วัดสำราญนิเวศจึงเป็นศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชน มีการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมตรี โท เอกโดย มีพระครูทัศนประกาศ (บุ จนฺทสิริ) เป็นครูสอนปริยัติธรรม พระมหาสิงห์ สุทฺธิจิตฺโต ปธ. ๗ (พระธรรมฐิติญาณ) เป็นครูสอนปริยัติธรรมแผนกบาลีและในปีพุทธศักราช ๒๔๘๗ วัดสำราญนิเวศ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาอันแสดงถึงการเป็นวัดที่สมบูรณ์
วัดสำราญนิเวศ เป็นวัดที่พักของเจ้าคณะอำเภอมาตลอดไม่ขาดสาย จึงเป็นวัดที่พร้อมด้วยองค์การทั้ง ๔ คือ การปกครอง การศึกษา การเผยแพร่ และการสาธารณูปการ ทั้งนี้อาศัยการปฏิบัติดีของพระภิกษุสามเณรเป็นมูลฐาน อันเป็นเครื่องสร้างเสริมศรัทธาของศาสนิกชน ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาจนได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี ๒๕๒๑ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๐-๒๕๔๓ วัดสำราญนิเวศอยู่ในการปกครองพระสุทธสารมุนี (บุญรักษ์ ฐิตปุญฺโญ)อดีตเจ้าอาวาส ได้พัฒนาวัดตามแนวทางการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม จนทำให้ได้รับใบเกียรติคุณเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างอีกครั้งเมื่อปี ๒๕๔๐และยังได้รับใบเกียรติคุณในฐานะที่เป็นศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาศที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ ในปี ๒๕๔๒
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ วัดสำราญนิเวศ ได้รับการยกวัดราฏร์เป็นพระอารามหลวงชั้นสามัญการยกวัดราฏร์เป็นพระอารามหลวง เป็นนโยบายอันหนึ่งที่ช่วยเชิดชูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองและเป็นการสอด คล้องกับพระราชประเภณีอันมีมาแต่โบราณกาล ฉะนั้นเมื่อปรากฏว่ามีวัดใดที่สมควรจะได้รับเกียรติยกย่องเป็นพิเศษ ก็ขอพระราชทานยกขึ้นเป็นพระอารามหลวง เพื่ส่งเสริมพระราชประเภณี และสนับสนุนนโยบายของรัฐบา
- สิ่งสำคัญคู่วัด -
พระอุโบสถ ประดับด้วยพญนาคเงิน พญานาคทอง ๗ เศียร
วิหารพระสังกัจจายน์ หน้าตักกว้าง 6 เมตร สูง 10 เมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กผิวนอกฉาบปูน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สร้างเมื่อ พ.ศ. 2518
บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ
พระวิหารสมเด็จพระทิพยอำนาจ
ศาลาการเปรียญ
ภายในศาลาการเปรียญ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระประธานในพระอุโบสถ
พระสังกัจจายน์
สระน้ำบุวารี
รูปปั้นพระพุทธรูปประดิษฐานบนหลังพญาชาละวัน