วัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) ราชบุรี





วัดสุรชายาราม (วัดหลุมดิน) ราชบุรี พระอารามหลวง ชั้นตรี สังกัดคณะสงฆ์ : ธรรมยุติกนิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2427
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2427


วัดสุรชายาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตก ในตำบลหลุมดิน อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี

ประวัติ
วัดสุรชายาราม คงสร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือก่อนหน้านั้น เดิมชื่อว่า วัดหลุมดิน สันนิษฐานว่าเหตุเพราะวัดนี้ตั้งอยู่ปากคลองหลุมดิน พื้นที่ที่ตั้งวัดมีดินดีเหมาะแก่การขุดเอาไปทำเครื่องปั้นดินเผา อยู่ตรงข้ามกับวัดโคกหม้อซึ่งเป็นที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผา จนสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านผู้หญิงอิ่ม บุนนาค ภริยาของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) สมุหพระกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มาพบวัดหลุมดินอยู่ในสภาพวัดร้างเหลือแต่ฐานอิฐ สภาพไม่สามารถบูรณะได้ จึงสร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ ห่างจากพระอุโบสถหลังเดิมประมาณ 30 วา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาให้เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 และพระราชทานนามใหม่ว่า "วัดสุรชายาราม" และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2427

อาคารเสนาสนะ
พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509 มีหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง มีชายคาปีกนกคลุมทั้ง 4 ด้าน ไม่มีช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ ในบริเวณพัทธสีมาเดิม ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ มีพระอัครสาวกยืนพนมมืออยู่ข้างซ้ายและขวาด้านละ 1 องค์ พระพุทธรูปสำริดประทับยืนปางห้ามสมุทร 1 องค์ และปางห้ามพระแก่นจันทร์ 1 องค์ พุทธศิลป์แบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังของพระอุโบสถด้านในแต่เดิมเรียบ ปัจจุบันมีการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง

ภายนอกพระอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลมตั้งอยู่ภายนอกกำแพงแก้ว เป็นเจดีย์มุม 2 องค์ ท่านผู้หญิงอิ่ม บุนนาค สร้างขึ้นไว้ ส่วนด้านทิศใต้ของพระอุโบสถนอกเขตกำแพงแก้ว มีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลมซึ่งเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) สร้างไว้ และอัญเชิญพระสรีรังคารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดีและเจ้าคุณประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค) มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์นี้

พระปรางค์ของวัดตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถคู่กับพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ลักษณะรูปแบบเป็นพระปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีซุ้มเรือนแก้วทั้ง 4 ด้าน ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. 2471 เป็นอาคารทรงไทยยกพื้นสูงสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ภายในศาลาบริเวณไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์เป็นภาพพุทธประวัติ

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระประธานในพระอุโบสถประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ •



พระอุโบสถ ภายนอกพระอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีพระเจดีย์ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลมตั้งอยู่ภายนอกกำแพงแก้ว เป็นเจดีย์มุม 2 องค์ ท่านผู้หญิงอิ่ม บุนนาค สร้างขึ้นไว้ ส่วนด้านทิศใต้ของพระอุโบสถนอกเขตกำแพงแก้ว มีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังกลมซึ่งเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) สร้างไว้ และอัญเชิญพระสรีรังคารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดีและเจ้าคุณประยูรวงศ์ (เจ้าจอมมารดาแพ บุนนาค) มาบรรจุไว้ในพระเจดีย์องค์นี้



ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ปางสมาธิ มีพระอัครสาวกยืนพนมมืออยู่ข้างซ้ายและขวาด้านละ 1 องค์ พระพุทธรูปสำริดประทับยืนปางห้ามสมุทร 1 องค์ และปางห้ามพระแก่นจันทร์ 1 องค์ พุทธศิลป์แบบพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังของพระอุโบสถด้านในแต่เดิมเรียบ ปัจจุบันมีการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนัง



พระปรางค์ของวัดตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถคู่กับพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ลักษณะรูปแบบเป็นพระปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูน รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีซุ้มเรือนแก้วทั้ง 4 ด้าน



พระสีวลี



ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. 2471 เป็นอาคารทรงไทยยกพื้นสูงสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ภายในศาลาบริเวณไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัตนโกสินทร์เป็นภาพพุทธประวัติ



ท่าน้ำวัดสุรชายาราม



เรือสำเภาโบราณ



ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่




10,958







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย