วัดพระสิงห์ เชียงราย





วัดพระสิงห์ เชียงราย พระอารามหลวง ชั้นตรี สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 1928
วันรับวิสุงคามสีมา :


วัดพระสิงห์ พระอารามหลวง

วัดพระสิงห์เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ามหาพรหมพระอนุชาของพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่ สันนิษฐานว่าสร้างในราวปี พุทธศักราช ๑๙๒๘ ซึ่งเป็นช่วงที่พระเจ้ามหาพรหมได้ครองเมืองเชียงราย ระหว่างปี พุทธศักราช ๑๘๘๘ ถึง ๑๙๔๓ ซึ่งคำว่า พระสิงห์นั้น หมายถึง วัดเคยเป็นที่ประดิษฐานพระสิงห์ หรือ พระพุทธสิหิงค์ ที่เป็นพระพุทธรูปที่สำคัญอันเป็นที่เคารพของชาวไทย ปัจจุบันยังมีพระพุทธสิหิงส์หรือพระสิงห์เชียงแสนอีกองค์หนึ่ง ชนิดสำริดปิดทอง ประดิษฐานอยู่บนษุษบกภายในกุฏิเจ้าอาวาสให้ประชาชนมากราบไหว้สักการะถือเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองเชียงราย

พระประธาน ในพระอุโบสถ หรือที่เรียกว่า พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์หนึ่ง) เป็นพระพุทธปฏิมาศิลปะล้านนาไทย พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ปางมารวิชัย ชนิดสำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง ๒๐๔ เซนติเมตร สูงทั้งฐาน ๒๘๔ เซนติเมตร เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเชียงราย ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะสง่างาม ประณีต ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมล้านนาไทยว่า กุลลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา

พระอุโบสถ สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช ๑๒๕๑ - ๑๒๕๒ ปีฉลู-ปีขาล เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ วันเสาร์ เวลา ๑๒.๐๐ น. (พุทธศักราช ๒๔๓๒ ถึง พุทธศักราช ๒๔๓๓) รูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็ง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพสมบูรณ์ และสวยงามยิ่งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๐๔ และครั้งที่ ๒ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓

บานประตูหลวง ทำด้วยไม้แกะสลักจิตกรรมอย่างประณีตวิจิตรบรรจง เป็นปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ บานประตูมีขนาด กว้าง ๒.๔๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร และหนา ๐.๒ เมตร

พระเจดีย์ เป็นเจดีย์เก่าแก่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย สร้างในสมัยเดียวกันกับพระอุโบสถ ภายในบรรจุพระพุทธรูปทองคำ ๔ องค์ และพระพุทธรูปเงิน ๒ องค์ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์หลายครั้ง คือ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ครั้งหนึ่ง โดยท่านพระครูสิกขาลังการ เจ้าอาวาสในขณะนั้น และอีกหลายครั้งในสมัยต่อมา

วัดพระสิงห์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๖

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์หนึ่ง) •



พระอุโบสถ สร้างขึ้นราวปีพุทธศักราช ๑๒๕๑ - ๑๒๕๒ ปีฉลู-ปีขาล เดือน ๘ ขึ้น ๑๒ ค่ำ วันเสาร์ เวลา ๑๒.๐๐ น. (พุทธศักราช ๒๔๓๒ ถึง พุทธศักราช ๒๔๓๓) รูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทยสมัยเชียงแสน โครงสร้างเดิมเป็นไม้เนื้อแข็ง และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ให้มีสภาพสมบูรณ์ และสวยงามยิ่งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๐๔ และครั้งที่ ๒ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๓


พระสิงห์หลวง

พระสิงห์หลวง เป็นพระประธานในพระอุโบสถ ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ 21 ปางมารวิชัย สำริดปิดทอง หน้าตักกว้าง 2.04 เมตร สูงทั้งฐาน 2.84 เมตร ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถมีพุทธลักษณะสง่างาม ประณีต ที่ฐานมีจารึกอักษรธรรมล้านนาว่า “กุลลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพยากตา ธมฺมา” อันหมายถึง ปริศนาธรรมระดับปรมัตถ์ในทางพระพุทธศาสนาที่ระบุว่า สภาวะธรรมทั้งปวงมี 3 ประเภท คือ

ธรรมทั้งหลายที่เป็น “กุศล” ก็มี
ธรรมทั้งหลายที่เป็น “อกุศล” ก็มี
ธรรมทั้งหลายที่อยู่นอกเหนือจาก “กุศลและอกุศล” ก็มี



วิหารแก้ว
เดิมเป็นที่ตั้งของหอพระสิงห์น้อย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2434 โดยพญาอาทิตย์ ต้นตระกูล "บุญทนุวัง" เป็นวิหารไม้แบบไม่มีผนังปิดรอบ มีผนังเฉพาะหลังพระประธาน หลังคาทรงมะนิลาแบบมีจั่วเข้าด้านหน้าสร้างคลุมบันไดทางขึ้น เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระสิงห์น้อย บันทึกของพญาอาทิตย์กล่าวว่า

"สกราชได้ 1253 ตัว สวาธุธัมมปญา แต่งหื้อหนานขัตสล่าตนเคล้ามาส้างแปลงหรอพระสิงห์หน้อยแถม คันว่าแม่นภยาอินทาเจ้าเอาแปลงผาสาทฅำอยู่ ค็หื้อพระสิงห์หน้อยนี้ได้หมั้นได้เพิงว่าสันนี้แท้แล้ว ภยาอาทิตค็ได้ถวายไม้ปลีกไม้ตงกทำมล้างทานสร้างแปลงดีชุเยื้องแล้ว หรอพระสิงห์หน้อย ลวงแปได้ 4 วา ลวงขื่อได้ 2 วาปลาย คันว่าจับไม้บ่ดีงามนั้นค็อย่าได้เอามาเทอะ บ่ดีว่าอั้น อย่าได้ยกทำทานแปลงหรอแปงส้าง ลูนนั้นสธาวัดสิงหรามได้กทำแปลงหอกลอง กุฏิ ขุดน้ำบ่อ ก่อกำแพงแก้วผากซ้วยใต้หื้อแล้ว มีชุเยื้องนี้ ทานกินม่วนเหล้น 3 วัน"

ภายหลังหอพระสิงห์น้อยถูกรื้อออก พ.ศ. 2551 พระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร) เมื่อยังดำรงตำแหน่งเป็นพระราชสิทธินายก ได้ก่อสร้างวิหารแก้วเพื่อประดิษฐานพระสิงห์น้อยใหม่ ตรงตำแหน่งหอพระสิงห์น้อยเก่า เริ่มก่อสร้างวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวิหารฐานปูน ตัววิหารเป็นไม้ตะเคียนทองทั้งหลัง ภายในมีจิตรกรรมฝาหนังเรื่องตำนานพระพุทธสิหิงค์



พระสิงห์น้อย
พระพุทธสิหิงค์ หรือพระสิงห์น้อย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา หน้าตักกว้าง 37 เซนติเมตร สูงทั้งฐาน 66 เซนติเมตร สำริดปิดทอง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนบุษบกภายในวิหารแก้ว พระสิงห์น้อยองค์นี้ พ.ศ. 2386 ครูบาปวรปัญญาได้นำมาจากเมืองเชียงใหม่ หามนำหน้าขบวนราษฎรที่ถูกเกณฑ์มาฟื้นฟูเมืองเชียงราย จดหมายเหตุเมืองเชียงราย ยุคฟื้นฟูเมืองเชียงรายกล่าวว่า

"อันนี้เป็นประวัติเกินมาตั้งเมืองเชียงรายแถม ที่ลุงหนานขัตได้จดจำเอากับผู้เถ้าผู้แก่ต่อมาแต่เดิม เจ้านายเมืองเชียงใหม่ได้จัดเอาเจ้านายนำราสดอรขึ้นมา พายในได้จัดเอาครูบาปวร ได้เอาพระสิงห์องค์หน้อยนี้หามนำราสดอรทังหลาย เข้ามาตั้งวัดพระสิงห์ก่อน"



พระเจดีย์ เป็นพุทธศิลป์แบบล้านนา สร้างเมื่อ พ.ศ. 2492 โดยพระครูสิกขาลังการ (ทองอินทร์ ปภาโส) เจ้าอาวาสในขณะนั้น และได้รับการบูรณะอีกหลายครั้งในสมัยต่อมา โดยพระเทพสิทธินายก (ชื่น ปญฺญาธโร)



ซุ้มประตูท่าหลวง




10,941







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย