วัดราชาธิวาสวิหาร ราชวรวิหาร (วัดราชา) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้ท่าวาสุกรี สามเสน เคยเป็นที่ประทับของรัชกาลที่ ๔ ระหว่างทรงผนวช เป็นที่ก่อกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย นัยว่าเป็นวัดโบราณก่อนสมัยอยุธยา เดิมชื่อว่า วัดสมอราย รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชวิจารณ์ว่าคำว่า "สมอ" มาจากคำเขมร "ฌมอ" ซึ่งแปลว่าหิน จึงทรงแปลว่า วัดศิลาราย รัชกาลที่ ๔ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดราชาธิวาสวิหาร บริเวณวัดมีความร่มรื่นสมกับเป็นวัดอรัญวาสีหรือวัดป่า
วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เป็นวัดที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงสถาปนาจาก “วัดสมอราย” ได้รับการปฏิสังขรณ์ต่อเนื่องตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 3 จนถึงในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดราชาธิวาสวิหาร” มีความหมายว่า “วัดอันเป็นที่ประทับของพระราชา” เป็นวัดแรกที่ถือกำเนิดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
พระอุโบสถของวัดเป็นทรงขอมคล้ายนครวัด ออกแบบโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีห้องสามตอนคือ ห้องหน้าเป็นระเบียง ห้องกลางเป็นห้องพิธี มีพระสัมพุทธพรรณีเป็นพระประธาน มีนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ร. 5 หล่อพระราชทาน) หลังพระประธานเป็นซุ้มคูหา
จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นภาพเขียนเทคนิคฝรั่งที่เรียกว่า สีปูนเปียก แสดงเรื่องพระเวสสันดรชาดก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นผู้ร่างภาพ นายริโกลี ชาวอิตาลี (ผู้เขียนภาพบนเพดานโดมในพระที่นั่งอนันตสมาคม) เป็นผู้เขียน
ศาลาการเปรียญตั้งอยู่หน้าวัด เป็นศาลาการเปรียญสร้างด้วยไม้สักทั้งหลังที่สวยงาม จุคนได้ไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันคน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงให้สร้างเลียนแบบจากศาลาการเปรียญวัดใหญ่สุวรรณาราม จังหวัดเพชรบุรี
ศาลาการเปรียญที่สร้างด้วยไม้สักทั้งหลัง
พระเจดีย์