วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2210
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2326


วัดสุวรรณาราม (วัดสุวรรณ) ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก เข้าทางถนนจรัญสนิทวงศ์ ตรงข้ามกับบางขุนนนท์ เป็นวัดสมันกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดทอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ทั้งพระอารามและพระราชทานนามว่า " วัดสุวรรณาราม "

นอกจากนี้สมเด็จกรมพระราชวังมหาสุรสิงหนาท ทรงมีพระราชศรัทธาสร้างเมรุหลวงสำหรับใช้ในการพระราชทานเพลิงศพเจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ ซึ่งตามประเพณีต้องนำไปฌาปนกิจนอกกำแพงพระนครชั้นนอก เมรุหลวงที่วัดสุวรรณารามใช้มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔

ในรัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณารามและให้ช่างเขียนภาพฝาผนังในพระอุโบสถด้วย ถือเป็นการประชันฝีมือกันระหว่างจิตกรฝีมือเยี่ยม เช่น หลวงวิจิตรเจษฎา(ทองอยู่) ผู้เขียนเนมีราชชาดกกับหลวงเสนีย์บริรักษ์(คงแป๊ะ) ผู้เขียนมโหสถชาดก เป็นต้น

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• หลวงพ่อพระศาสดา พระประธานในพระอุโบสถ •


{ พระอุโบสถ }
พระอุโบสถวัดสุวรรณารามสร้างตามแบบแผนศิลปกรรมสมัยรัชกาลที่ ๑ คือ มีเสาทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ภายในพระอุโบสถ นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วยังเป็นที่ประดิษฐานพระประธานซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย ฝีมือช่างเดียวกันกับพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศน์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่เชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑



{ พระศาสดา }
ภายในพระอุโบสถ นอกจากภาพจิตรกรรมฝาผนังแล้วยังเป็นที่ประดิษฐานของพระศาสดา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย ฝีมือช่างเดียวกันกับพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศน์ (ฝีมือช่างสุโขทัยมีนามว่า "พระศาสดา") สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปที่เชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ 1 มีความเชื่อและความศรัทธาในพระศาสดาว่า มีความศักดิ์สิทธิ์และดลบันดาลให้สมประสงค์ได้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการเกณฑ์ทหาร ผู้คนจึงนิยมมาแก้บนด้วยการนำผ้าขาวม้ามาผูกเอวและวิ่งวนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ พร้อมกับส่งเสียงเหมือนม้าร้องไปด้วย เรียกว่า "วิ่งม้า" เนื่องจากมีเรื่องเล่าว่าในอดีต มีผู้พบเห็นม้าสีขาวตัวหนึ่งวิ่งวนรอบพระอุโบสถ จึงเชื่อกันว่าพระศาสดาคงโปรดม้า



{ จิตรกรรมพระเนมิราช ฝีมือครูทองอยู่ }


{ จิตรกรรม พระมโหสถ ฝีมือครูคงแป๊ะ}


{ พระวิหาร }
พระวิหารซึ่งมีมุขขวางทั้งด้านหน้า และด้านหลังกับหมู่กุฏิสงฆ์ที่เป็นเรือนไม้ฝาปะกน เก่าแก่และงดงามมาก



{ หอไตร หอระฆัง พระเจดีย์ }




11,220







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย