วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2325
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2327


วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (วัดพลับ) ตั้งอยู่ใกล้สะพานเจริญพาสน์ ถนนอิสรภาพ ฝั่งธนบุรี เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ วัดพลับ สมัยรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่ขึ้นในที่ติดกันกับวัดพลับเดิมและรวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน แล้วเรียกว่าวัดพลับเช่นเดิม ถึง พ.ศ. ๒๓๕๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดพลับเดิมอีกครั้ง

เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้อยู่หัวทรงผนวชเสด็จมาทรงจำพรรษาที่วัดนี้ เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้วได้โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งหมด

ภายในวัดราชสิทธารามมีสิ่งก่อสร้างสำคัญ คือ พระตำหนักจันทร์ ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างพระราชทานให้รัชกาลที่ ๓ ประทับเมื่อทรงผนวช เป็นพระตำหนักเล็กขนาด ๒ ห้อง ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ชั้นบนสร้างด้วยไม้จันทร์ทั้งหมด ติดช่อฟ้า ใบระกา ประดับกระจกสวยงาม ต่อมารัชกาลที่ ๓ ทรงย้ายไปปลูกเคียงพระตำหนักเก๋งจีนและเปลี่ยนเครื่องไม้ที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นไม้เนื้อแข็งอื่นๆ เช่น ไม้เต็งรัง ไม้สัก ทำให้เหลือส่วนที่เป็นไม้จันทร์อยู่เพียงบางส่วนเท่านั้น

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธจุฬารักษ์ พระประธานในพระอุโบสถ •


{ พระอุโบสถ }
พระอุโบสถสร้างใหม่ครั้งรัชกาลที่ ๓ ในคราวปฏิสังขรณ์ใหญ่ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังรูปกระบวนพระยุหยาตราทางสถลมารคแต่ชำรุดลบเลือนไปมาก


{ จิตรกรรมฝาผนัง }
ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังรูปกระบวนพระยุหยาตราทางสถลมารค


{ พระพุทธจุฬารักษ์ }
เป็นพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุปูนปั้นลงรักปิดทอง ขนาดหน้าตัก 5 ศอก 2 นิ้ว สูงจรดพระรัศมี 6 ศอก 1 คืบ พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ปรากฏเรื่องราวการสร้างที่ชัดเจน กล่าวกันมาแต่เพียงว่าสร้างโดยพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปั้นส่วนพระเศียร ส่วนพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปั้นพระวรกาย และถวายพระนามว่า พระพุทธจุฬารักษ์ เบื้องหน้าพระพุทธจุฬารักษ์ ประดิษฐานพระพุทธสาวกสำคัญ 3 พระองค์อยู่ด้านซ้ายขวา คือ พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตร และองค์กลาง คือ พระอานนท์


{ พระสิริจุมภฏะเจดีย์ }




11,017







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย