วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณสร้างขึ้นก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกทิ้งร้างไปนานจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๒ กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์บรมราชินี ทรงปฏิสังขรณ์ทรงปฏิสังขรณ์บำเพ็ญพระกุศลเป็นอันมากเรียบร้อยแล้วให้ฉลองสมโภช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๑ และขนานนามว่า “วัดเขมา” ต่อมารัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ ในวันพุธ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือนยี่ ตรงกับวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๐๖ ได้เสด็จฉลองวัดเขมาภิรตาราม แล้วพระราชทานนามว่า “วัดเขมาภิรตาราม” ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระตำหนักแดง อนุสรณ์กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระที่นั่งมูลมณเฑียร ซึ่งเดิมเป็นพระตำหนักในพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชอุทิศ ให้รื้อมาปลูกในวัดนี้
ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ในเขตตำบลสวนใหญ่ ห่างจากตัวเมืองมาทางด้านใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ด้านหน้าของวัดติดริมฝั่งแม่น้ำ วัดเขมาภิรตารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเดิมเรียกว่า "วัดเขมา" จนเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีคำสั่งให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอารามและพระราชทานสร้อยนามต่อท้ายว่า "วัดเขมาภิรตาราม"
เมื่อครั้งราชวงศ์จักรีมีอายุ 200 ปีและมีพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ใน พ.ศ. 2525 คณะกรรมการวัดได้มีความเห็นว่าวัดนี้มีความสำคัญกับราชวงศ์จักรีและพระบรมวงศานุวงศ์ทรงให้ความอุปถัมภ์บำรุงมาตลอดจึงมีมติสร้างศาลาอเนกประสงค์ "ศาลา 200 ปีกรุงรัตนโกสินทร์"
หากมาที่วัดแห่งนี้ต้องไปชมมหาเจดีย์ที่ใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งมีความสูง 30 เมตรอยู่ด้านหลังโบสถ์พร้อมกราบขอพรจากพระประธานเป็นพระพุทธรูปหล่อเก่าแก่สมัยอยุธยาซึ่งอัญเชิญมาจากพระราชวังจันทร์เกษมยังมีพระตำหนักแดงและพระที่นั่งมณเฑียรให้เข้าไปชมกันอีกด้วย
วัดเขมาภิรตารามราชวรวิหารถือเป็นวัดที่ควรค่าแก่การเคารพสักการะและเป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์อีกทั้งอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาจึงมีมีบรรยากาศผ่อนคลายน่ามาเยี่ยมชมเป็นอย่างยิ่ง
เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 08.00-20.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0 2525 0470
{ พระอุโบสถ }
{ พระอุโบสถ }
{ ภายในพระอุโบสถ }
{ พระประธานในพระอุโบสถ }
สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ทรงสร้างพระประธานครอบองค์เก่าที่ดั้งเดิมเป็นทองคำใน พ.ศ. ๒๓๗๑
- พระประธานองค์ที่ ๑ พระเพลา ๒.๙๐ เมตร สูงตลอดพระรัศมี ๔ เมตร
- พระประธานองค์ที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปโลหะ อัญเชิญจากวังจันทรเกษม จังหวัดอยุธยา มาประดิษฐานเมื่อวันเสาร์ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๐๑ พระเพลา ๗๔ เซนติเมตร สูงตลอดพระรัศมี ๑๐๙ เซนติเมตร พระนามว่า พระพุทธอินแปลง
- รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างพระอสีติมหาสาวก รอบพระประธาน ๘๐ รูป มีชื่อแต่ละองค์สลักปรากฏอยู่ที่ฐานอาสนะ
ภาพเขียนเทพชุมนุมแบบไทยมีขบวนเทวดา นางฟ้า วงมโหรี รูปกระถางต้นไม้แบบจีน และช่อดอกไม้ลวดลายแบบตะวันตก รอบผนังพระอุโบสถ
{ พระศรีอาริย์ }
ประดิษฐานด้านหลังพระอุโบสถ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปหมดทุกส่วน ขาดแต่ไม่มีพระรัศมีบนพระเศียร ซึ่งการไม่มีพระรัศมีบนพระเศียรเช่นนี้ บางคนสันนิษฐานว่ารูปพระศรีอาริย์ ซึ่งจะอยู่รวมกับสาวกไม่ได้ ต้องประดิษฐานไว้ข้างนอก พระธรรมรัชมงคล(หลวงปู่จับ อุคฺคเสโน) อดีตเจ้าอาวาส เข้าใจว่าข้อสันนิษฐานอันนี้ผิด เพราะแบบช่างไทยไม่ทำพระศรีอาริย์เป็นรูปพระ ต้องทำเป็นรูปเทวดา เพราะถือกันว่า พระศรีอาริย์ ยังเสวยทิพย์อยู่บนสวรรค์ ยังไม่ได้เป็นพระ