วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร





วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2368
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2379


วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร (วัดกัลยา) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร และทรงสร้างพระราชทานทั้งพระวิหารหลวงและพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก

วัดแห่งนี้มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เดิมทีเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติมเพื่อสร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2368 แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร ต่อมาพระองค์ทรงสร้างพระราชทาน ทั้งพระวิหารหลวงและพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่ อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิง กรุงเก่า ซึ่งหลวงพ่อโต เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน และพากันเรียกขานท่านว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง โดยเป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 วา 3 ศอกคืบ สูง 7 วา 2 ศอกคืบ 10 นิ้ว ตั้งอยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่กลางวัด

ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถหน้าวิหารหลวง เป็นหอระฆังที่เพิ่งสร้างใหม่ และเก็บระฆังยักษ์ที่ใหญ่ที่สุดของไทย ภายในพระอุโบสถ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) โดยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทาน ทั้งยังถือเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์

ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง แสดงพุทธประวัติและวิถีชีวิตชาวบ้านชาวเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 มีหอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ 4 อีกด้วย

ที่ตั้ง : แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เปิดให้เข้าทุกวัน

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก (ซำปอกง) •


{ พระวิหาร }
บรรยากาศยามค่ำ ริมน้ำเจ้าพระยา


{ พระอุโบสถ }
พระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติที่แทรกเรื่องราวชีวิตชาวบ้านชาวเมืองสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคมอย่างยิ่งอีกด้วย


{ พระพุทธรูปปางปาลิไลยก์ (ป่าเลไลย์) }
พระประธานในพระอุโบสถ โดยรัชกาลที่ 3 ทรงสร้างพระราชทาน ทั้งยังถือเป็นวัดเดียวในประเทศไทยที่มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์


{ หอมณเฑียรธรรมเถลิงพระเกียรติ }
นอกจากนั้นยังมีหอมณเฑียรธรรมเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บประไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ ๔


หน้าพระวิหารหลวงยังมีหอระฆังฝีมือคนรุ่นใหม่ สำหรับไว้ระฆังยักษ์ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย


ทางเข้าวัดมีเจดีย์หิน ทำมาจากเมืองจีน เรียกว่า ถะ เป็นศิลปะจีนที่งดงามมาก


{ หลวงพ่อโต }
เป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 5 วา 3 ศอกคืบ สูง 7 วา 2 ศอกคืบ 10 นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2380 อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ




11,242







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย