วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร (วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗) กรุงเทพมหานคร





วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร (วัดประจำรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๗) กรุงเทพมหานคร พระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์ : ธรรมยุติกนิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2412
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2412


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ร.๕ โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์ โดยสร้างเลียนแบบ ๒ วัดคือ วัดพระปฐมเจดีย์กับวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๔

บริเวณวัดนี้เดิมเป็นวังของพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร ไพศาลโสภณ วัดราชบพิธฯ เริ่มก่อสร้าง เมื่อ พ.ศ. 2412 (สมัยรัชกาลที่ 5) เสร็จในปี พ.ศ. 2413 แล้วนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสวรวิหารมาจำพรรษาอยู่ พร้อมกับอัญเชิญพระพุทธนิรันตรายมาประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ

โดยภายในวัดแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตสุสานหลวง

- สิ่งสำคัญคู่วัด -
• พระพุทธอังคีรส พระประธานในพระอุโบสถสถาปัตยกรรมภายในแบบโกธิก •


- สารคดี "บรมราชาภิเษก" ตอน : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม -


{ พระอุโบสถ }
ตัวพระอุโบสถภายนอกสถาปัตยกรรมแบบไทยแท้ ประกอบด้วยลวดลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์รูปเทพประนม(มือ) ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ พระพุทธอังคีรส ภายใต้พระประธานมิได้เพียงบรรจุพระสรีรังคารของ ร.๕ เพียงเท่านั้นยังบรรจุพระสรีรังคารของพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ ด้วย


{ ภายในพระอุโบสถ }
ภายในเป็นสถาปัตยกรรมโกธิค พระประธานคือ พระพุทธอังคีรส


การวางตัวของพระอุโบสถกับพระวิหารเป็นแบบวัดพระปฐมเจดีย์ คือวางแนวทิศตรงกันข้าม โดยด้านข้างจะมีทางเข้าไปในรอบๆ พระเจดีย์ ข้างในพระเจดีย์มีพระพุทธรูปปางนาคปรกอยู่ด้วย ซึ่งเล่ากันมาว่าขุดพบใต้ต้นตะเคียนริมคลองหลอด ซึ่งเชื่อกันว่าคนที่อยากมีลูกมาขอพรก็จะมีลูกสมใจ ภายในพระเจดีย์ยังมีทางขึ้นไปบนฐานเจดีย์ด้วย ในอดีตสามารถมองเห็นภูเขาทองได้ด้วย


ศิลปกรรมที่สำคัญในวัดได้แก่ บานประตู และหน้าต่างของพระอุโบสถที่มีลายไทยลงรักประดับมุก เป็นรูปดวงตราครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่าง ๆ สวยงามมาก


วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม คำว่าสถิตมหาสีมาราม หมายถึงการมีเขตเสมาใหญ่มากล้อมรอบทั้งวัด แทนที่จะมีแค่ เสมารอบ ๆ พระอุโบสถเท่านั้น และที่น่าสนใจอีกอย่างคือกระเบื้องเบ็ญจรงค์ ทั้งพระอุโบสถ วิหารและเจดีย์ ระเบียงแก้ว ล้วนตกแต่งด้วย ลายกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ทั้งสิ้น และทุกแผ่นเขียนด้วยมือ และออกแบบรูปทรงกระเบื้องขนาดต่างๆ ลงตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ไม่ว่าเจดีย์ ระเบียง พระอุโบสถ ซึ่งมีรูปทรงอ่อนช้อย แต่ทุกอย่างลงตัว


{ พระวิหาร }
พระวิหารมีรูปทรงแบบเดียวกับพระอุโบสถทั้งภายในและภายนอก แตกต่างกันตรงที่บานประตูและหน้าต่างสลักด้วยไม้เป็นลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในขณะที่พระอุโบสถเป็นลายประดับมุข นอกจากนี้ลวดลายภายในพระวิหารจะมีเฉพาะที่เพดานบัวกั้นผนังชั้นล่างและชั้นบน และกรอบหน้าต่างเท่านั้น นอกนั้นผนังเป็นสีทองไม่มีลวดลาย ภายในพระวิหาร ผนังด้านบนทาสีชมพูเขียนลายดอกไม้ร่วง ตอนล่างทำเป็นอุณาโลมสลับกับอักษร จ บานหน้าต่างด้านในเป็นลายรน้ำพุ่มข้าวบิณฑ์ พระประธานป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นามว่าพระประทีปวโรทัย


{ พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ }


{ พระระเบียงหรือพระวิหารคต }
ผนังประดับกระเบื้องลายเบญจรงค์เชื่อมพระอุโบสถกับพระวิหารมุขและพระวิหารล้อมองค์พระเจดีย์ใหญ่ ด้านนอกมีทางเดินปูด้วยหินอ่อนและมีเสากลมรับกับเชิงชาย ส่วนด้านในเป็นพื้นสองชั้นมีเสาก่ออิฐถือปูนย่อเหลี่ยมรับเครื่องบนและเชิงชาย


{ วิหารทิศหรือวิหารมุข }
อยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ตรงกับพระเจดีย์ใหญ่เป็นทางเข้าสู่บริเวณภายในพระระเบียงรอบเจดีย์ หน้าบันมุขชั้นบนเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ หน้าบันมุขชั้นล่างเป็นรูปช้างสามเศียรเทิดบุษบกและซุ้มประตูทางเข้าเป็นทรงมณฑปครึ่งซีก บานประตูเป็นภาพเขียนสีรูปเซี่ยวกาง


{ ศาลาราย }
เป็นศาลารายหลังเล็ก ๆ ขนาด 2 ห้อง รอบไพทีมีทั้งหมดจำนวน 8 หลัง อยู่ทางด้านหน้าพระโบสถ 2 หลัง หน้าพระวิหาร 2 หลัง และหน้าพระวิหารทิศทั้งด้านตะวันตกและตะวันออก ด้านละ 2 หลัง หน้าบันของศาลารายเป็นรูปเทพพนมล้อมรอบด้วยลายกนก


{ สุสานหลวง }
ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักของวัดด้านทิศตะวัน ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ และพระสรีรางคาร ไว้นั้นเพื่อเป็นพระบรมราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ กันทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่างๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้




11,753







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย