วัดทรงธรรม วรวิหาร สมุทรปราการ
พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร
สังกัดคณะสงฆ์ : มหานิกาย
วันตั้งวัด : พ.ศ. 2357
วันรับวิสุงคามสีมา : พ.ศ. 2358
วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นอารามหลวงชั้นโท ชั้นวรวิหาร เป็นวัดรามัญมาแต่เดิม สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) ทรงสร้างพร้อมกับการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ มีกุฏิ และพระอุโสบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน เมื่อปี พ.ศ. 2357 – 2358 อยู่ห่างจากฝั่งเจ้าพระยาประมาณ 2 เส้น
หลังจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2360 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดใก้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพย์ เป็นแม่กองสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติม ได้สร้างป้อมขึ้นใหม่ คือ “ป้อมเพชรหึง” โดยใช้อาณาบริเวณวัดทรงธรรม จึงโปรดให้ย้ายวัดทรงธรรมอยู่ในกำแพงป้อมทำให้ได้กุฏิเป็น 3 คณะ
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่า วัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิทั้ง 3 คณะมาสร้างรวมเป็นหมู่เดียวกัน
ครั้นขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 เป็นปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงแปลชื่อ วัดทรงธรรม เมืองนครเขื่อนขันธ์ว่า “วัดดำรงค์ราชกรรม” ต่อมาภายหลังกลับมาใช้ชื่อว่า “วัดทรงธรรม” เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน
สำหรับชื่อวัดมีข้อสันนิษบานว่า มาจากความเชื่อของชาวมอญที่มักยกย่องผู้มีคุณธรรมโดยกล่าวเป็นภาษารามัญว่า “เมินโท่” ซึ่งแปลว่า “ผู้ทรงธรรม” อันหมายความถึง ชาวมอญยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่า เป็นผู้ทรงธรรม
ชื่อวัดทรงธรรมนั้น ครั้งนึงชาวบ้านเคยเรียกว่า แผ่พระครู หรือ วัดพระครู ด้วยคำว่าพระครูนี้ มาจากวัดทรงธรรมเป็นวัดหลวง เจ้าอาวาสที่ประจำวัดจะต้องมีสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร
มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย
- สิ่งสำคัญคู่วัด -
{ พระมหาธาตุรามัญเจดีย์ }
ในรูปแบบมอญ เสาหงส์ ธงตะขาบ สัญลักษณ์แสดงตัวตนของชาวมอญ ที่ได้รับการสืบทอดทางวัฒนธรรมประเพณีมาจนถึงปัจจุบัน และที่วัดยังเป็นศูนย์กลางการจัดงานประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ ในช่วงสงกรานต์ประจำทุกปีอีกด้วย
พระเจดีย์องค์ใหญ่เป็นแบบรามัญอยู่ตรงกลาง และมีเจดีย์องค์เล็กอยู่ที่ฐาน 4 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่กว้าง 10 วา 2 ศอก สูงถึงยอดฉัตร 11 วา 3 ศอก เจดีย์องค์เล็ก กว้าง 5 ศอกสูง 3 วา 1 ศอก บรรจุพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษไว้
{ พระอุโบสถ }
ก่ออิฐ ฉาบปูน เสาพระอุโบสถเป็นเสากลมคู่ รับส่วนปีกของชานพระอุโบสถ มีเสา 56 ต้น
{ พระวิหาร }
- เจ้าอาวาส -