เชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารดินแพร่ธรรมจักร
เชิญร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างวิหารโบสถ์ดินแพร่ธรรมจักร
สำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร สำนักสงฆ์แพร่ธรรมจักร บ้านน้ำพุ
หมู่ ๓ ต.บ้านกวางอ.สูงเม่น จ.แพร่ ๕๔๑๓๐ โทร ๐๘๙ ๒๑๓๗๗๕๙
เนื่องจากสำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร สำนักสงฆ์แพร่ธรรมจักร เป็นสำนักสงฆ์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ปี ๒๕๕๓ เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร และญาติโยมผู้สนใจปฏิบัติธรรม ปัจจุบันได้มี พระภิกษุ สามเณร มาอยู่อาศัย ศึกษาปฏิบัติธรรม รวมถึงญาติโยมเข้ามาอยู่ปฏิบัติธรรมเรื่อยมา ทั้งมาด้วยตนเอง และมาเป็นคณะ จึงจำเป็นต้องมีเสนาสนะ มีโบสถ์ วิหารไว้ให้พระสงฆ์ทำกิจของสงฆ์ และเป็นสถานที่เจริญภาวนาสำหรับผู้สนใจ
ดังนั้นทางสำนักนักสงฆ์ และคณะศรัทธา คณะกรรมการจึงปรึกษาหารือ มีมติว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างเสนาสนะวิหารขึ้น เพื่อใช้ในกิจพระพุทธศาสนา เพื่อสามารถรองรับพระภิกษุสงฆ์ และผู้ที่เข้ามาปฏิบัติธรรม ให้เพียงพอ สัปปายะ จึงได้ดำเนินการแจ้งข่าวบุญให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญสนับสนุนกิจพระพุทธศาสนาในครั้งนี้ แต่ด้วยทางสำนักแพร่ธรรมจักร เป็นวัดป่ามิได้มีปัจจัยมากมาย จึงดำเนินการก่อสร้างไปตามกำลัง จึงมีมติว่าจะสร้างแบบเรียบง่าย ใช้ประโยชน์เหมาะสมที่สุด จึงได้คิดจัดสร้างวิหารดิน โดยใช้วัสดุที่ทำผนังเป็นดินในการก่อสร้าง จึงเรียกวิหารดิน แต่วัสดุส่วนอื่นโครงสร้างเป็นเหล็ก และคอนกรีต โดยต้องใช้งบประมาณมากพอสมควร ทางสำนักแพร่ธรรมจักร จึงประกาศข่าวบุญให้กับผู้ใจบุญร่วมบุญสร้างวิหารในครั้งนี้ให้แล้วเสร็จ
เพื่อสมทบทุนสร้างวิหารดินแพร่ธรรมจักร ในครั้งนี้ให้แล้วเสร็จขอเชิญร่วมทำบุญตามกำลังศรัทธา ต้องขออนุโมทนาในบุญบุพพเจตนาในกุศลครั้งนี้ด้วย ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และคุณความดี บุญในครั้งนี้ส่งผลให้ เจ้าภาพ เจ้าศรัทธาทั้งหลายเจริญด้วย จตุรพิธพรชัยทั้ง ๔ ประการ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ธนสารสมบัติ โชคลาภ มั่งมี ศรีสุข เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานทุกท่าน เทอญฯ
ขณะนี้กำลังดำเนินการ มุงกระเบื้องหลังคา
"อานิสงส์ของการมุงหลังคาศาลาปฏิบัติธรรม"
ส่งผลให้สามารถทำงานที่ใหญ่โตได้สำเร็จโดยง่าย ไม่มีอุปสรรค จะมีแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในชีวิต มีอำนาจ บารมี บริวารที่ดี มีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่ร้อนกาย ร้อนใจ เหมือนดั่งที่หลังคาคอยคุ้มแดด คุ้มฝนให้แก่ผู้คนที่มาปฏิบัติธรรม จะไม่มีคนคิดปองร้าย จะไม่ขาดแคลนปัจจัย 4 เกิดชาติไหนมีแต่คนนับหน้าถือตา และกิจการก็จะเจริญก้าวหน้าจนใหญ่โตเสมอ แก้กรรมให้กับผู้ที่ ทำงานใหญ่โดยเฉพาะ ผู้ใดที่ทำงานใหญ่แล้วมีอุปสรรค ไม่มีอำนาจ บริวารช่วยเหลือ หรือ คนที่มีความร้อนอก ร้อนใจ กระวนกระวายใจ มีคนปองร้าย หรือถูกให้ร้ายเสมอในชีวิต ไม่มีความร่มเย็นเป็นสุข
ขออานิสงส์แห่งผลบุญนี้ ได้บังเกิดขึ้นกับทุกท่านด้วยเถิด....สาธุ
(ทางวัดยินดีต้อนรับผู้ที่ต้องการมาใช้สถานที่ในการภาวนา ทั้งชายและหญิง ไม่ใช่วันพระสำคัญก็สามารถมาได้
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เฟชบุค แพร่ธรรมจักร
เชิญร่วมทำบุญสร้างวิหารดินที่สำนักปฏิบัติธรรมแพร่ธรรมจักร ติดต่อสอบถามร่วมบุญได้ที่ พระอาจารย์กฤษกร กิตติปญโญ เจ้าสำนักสงฆ์แพร่ธรรมจักร บ้านน้ำพุ ตำบลบ้านกวาง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ โทรสอบถาม 089 213759 หรือร่วมทำบุญได้ที่ธนาคารกรุงไทย โครงการสร้างวิหารดิน แพร่ธรรมจักร สาขาสูงเม่น เลขที่ 986-6-56142-9 ขออนุโมทนาบุญ สาธุ
............................................................
อานิสงส์ของการสร้างพระวิหารถวาย ที่รวบรวมได้
1. เนื้อความในมิลินทปัญหา ตอนอนิเกตานาลยกรณปัญหา ความว่า พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามปัญหาซึ่งพระนาคเสนเกี่ยวกับการพักอาศัยของพระภิกษุในวิหารว่า
"บรรพชิตควรเป็นเพศที่หาที่อยู่มิได้ ไม่ควรอยู่เป็นหลักแหล่ง หาอาลัยที่อาศัยมิได้" พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า
"สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามี พุทธฎีกาโปรดว่า พระองค์มิได้ทรงห้ามในเรื่องที่อยู่อาศัยของภิกษุ แต่ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุติดในที่อยู่อาศัย
เมื่อพำนักอยู่ชั่วคราวแล้วให้เที่ยวจาริกไป คือ สมควรแก่สมณะ เป็นสมณะสารูป ชอบแก่สมณะ ควรแก่สมณะ เป็นอารมณ์แก่สมณะ และเป็นที่ปรารถนาแก่สมณะ
การที่ทายกได้สร้างวิหารที่พำนักอาศัยแก่ภิกษุ เป็นที่สรรเสริญ ยินยอมแก่สมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ก่อนมา
อานิสงส์ของผู้สร้างวิหารถวาย ย่อมส่งผลให้ผู้ถวายอาจสำเร็จ พระนิพพาน พ้นจากทุกข์ ๔ คือ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ และมรณะทุกข์
อานิสงส์อีกประการหนึ่งของการสร้างวิหารถวายย่อมทำให้ภิกษุที่เที่ยวจาริกไป ทำให้ผู้มีศรัทธาพบได้ด้วยยากนั้น เมื่อสร้างที่พำนักอาศัยถวายแก่พระภิกษุให้เป็นที่พำนักอาศัยแล้ว
ผู้มีจิตศรัทธาปสาทะย่อมไปพบเพื่อทำบุญให้ทานได้โดยง่าย นี้เป็นอานิสงส์ของการสร้างวิหารถวาย"
2. อานิสงส์การถวายสังฆทาน วิหารทาน และธรรมทาน
“ถวายทานกับพระอรหันต์ 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับ ถวายทานกับพระพุทธเจ้า 1 ครั้ง
ถวายทานกับพระพุทธเจ้า 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน 1 ครั้ง
และถ้าถวายสังฆทาน 100 ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน 1 ครั้ง คือ สร้างวิหาร มีการก่อสร้าง เช่น สร้างสุขา ศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร เป็นต้น"
3. ในสมัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ท่านได้เกิดเป็นกุฎุมพีในกรุงพาราณสี เป็นหัวหน้าของช่างหูก อาศัยการทอผ้าเลี้ยงชีวิต มีอยู่วันหนึ่ง
มหาชนได้ป่าวประกาศให้ไปฟังธรรมกันในพระวิหาร กุฎุมพีท่านนี้ได้ยินแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส จึงชักชวนภรรยาและเพื่อนบ้านไปฟังธรรม ในขณะที่ท่านเดินทางไปนั้น
ฝนได้ตั้งเค้าขึ้นอย่างฉับพลันแล้วก็ตกลงมาโดยที่ยังไม่ทันได้ตั้งตัวญาติโยมที่มีความคุ้นเคยกับพระภิกษุสามเณรรูปไหน หรือเคยได้ร่วมบุญสร้างศาลาหลังไหนเอาไว้
ก็พากันเข้าไปพักพิงในกุฏิหรือศาลาเหล่านั้น เหลือแต่กุฎุมพีพร้อมด้วยภรรยาและเพื่อนๆ ที่ไม่กล้าเข้าไปหลบฝนในศาลาหลังไหน เพราะว่าตนเองไม่มีความคุ้นเคยและไม่รู้จักภิกษุสามเณรรูปใดเลย
อีกทั้งยังไม่เคยได้สร้างศาลาวิหารเอาไว้ จึงได้แต่ยืนกลางร่มอยู่กลางแจ้ง ต้องเปียกปอนไปตามๆ กัน หัวหน้าช่างหูกเป็นคนฉลาด ปรารภเหตุที่ตัวเองต้องมายืนตากฝนอย่างนี้ จึงได้เอ่ยขึ้นว่า
ที่เราต้องยืนตากฝนเปียกปอนไปตามๆ กัน ก็เพราะเราไม่เคยได้ทำบุญสร้างศาลาวิหารถวายวัดเลย เราควรร่วมมือร่วมใจกันสร้างวิหารหลังใหญ่สักหลังหนึ่ง จะได้อาศัยร่มเงาในบวรพระพุทธศาสนา
เพื่อสร้างบารมีอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องลำบากกันอย่างนี้ เกิดกี่ภพกี่ชาติจะได้มีที่อยู่อาศัย มีเสนาสนะไว้สำหรับประพฤติธรรมอย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องมายืนเปียกฝนเช่นนี้อีกต่อไป
เพื่อนๆ ได้ฟังอย่างนั้นก็เห็นด้วย จึงร่วมกันบริจาคทรัพย์สร้างมหาวิหารให้ใหญ่กว่าของใครๆ ไว้ในบริเวณวัดนั้น หัวหน้าช่างหูกได้บริจาคทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะ คนที่เหลือก็บริจาคกันคนละ ๕๐๐
พวกผู้หญิงบริจาคคนละ ๒๕๐ แล้วเริ่มทำการก่อสร้าง หวังไว้ว่ามหาวิหารนี้จะเป็นที่สร้างบารมีและเป็นที่ประทับของพระบรมศาสดา แต่เมื่อทรัพย์ไม่เพียงพอในการก่อสร้าง
หัวหน้าช่างหูกก็เทกระเป๋าทุ่มสุดตัวสุดหัวใจ อีกทั้งภรรยาและเพื่อนๆ ก็ได้ทุมเทเช่นนั้นตามด้วย เพื่อให้การก่อสร้างสำเร็จทันใช้งาน เมื่อสร้างสำเร็จก็ได้ทำการฉลองด้วยการถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน
แล้วจัดจีวรถวายพระทั้งสองหมื่นรูป ฝ่ายภรรยาของหัวหน้าช่างหูก นอกจากจะทำบุญเหมือนคนอื่นๆ แล้ว ยังตั้งใจจะถวายทานที่พิเศษกว่าใครๆ จึงได้ถือเอาผอบดอกอังกาบกับผ้าสาฎกที่มีสีเหลืองเหมือนดอกอังกาบน้อมเข้าไปถวายพระบรมศาสดา
แล้วตั้งความปรารถนาว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอสรีระของหม่อมฉันจงมีสีดุจดอกอังกาบนี้ และขอให้หม่อมฉันจงมีนามว่าอโนชาด้วยเถิด” พระบรมศาสดาก็ได้ทรงอนุโมทนา
ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา หัวหน้าช่างหูกและเพื่อนๆ ก็เป็นผู้ที่คุ้นเคยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า และหาโอกาสสั่งสมบุญเรื่อยมา ทำให้จิตผูกพันกับพระรัตนตรัย เมื่อละโลกไปแล้ว
ด้วยอานิสงส์ที่ได้ทำบุญถวายวิหารในครั้งนั้น ทำให้ได้ไปเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เป็นเวลานานถึงหนึ่งพุทธันดร เมื่อจุติจากอัตภาพนั้น ก็มาบังเกิดในราชตระกูล ในกุกกุฏวดีนคร ได้เป็นพระราชา
พระนามว่ามหากัปปินะ พระองค์มีมเหสีคู่บุญชื่อว่า อโนชา ซึ่งมีผิวพรรณเหมือนดอกอังกาบตามที่ปรารถนาเอาไว้ ส่วนผู้ที่เคยร่วมบุญกันมา ก็ตามลงมาเกิดเป็นอำมาตย์ข้าราชบริพาร
มีอยู่วันหนึ่ง เพียงแค่ได้ยินถ้อยคำอันเป็นสิริมงคลว่า พุทฺโธ โลเก อุปฺปนฺโน พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วก็เกิดมหาปีติซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ทั้งพระราชา มเหสี รวมไปถึงเสนาอำมาตย์ข้าราชบริพาร
ต่างก็พร้อมใจกันเดินทางไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทันที พระบรมศาสดาทรงเห็นว่าพระเทวีและบริวารได้สั่งสมบุญมาดี เคยถวายผ้าไตรจีวรเอาไว้มาก จึงประทานการบวชด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา
และในการฟังธรรมครั้งที่ ๒ ก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา เข้าถึงความเต็มเปี่ยมของชีวิตกันหมดทุกคน
เราจะเห็นว่าการทำบุญถวายวิหารทานนี้ เป็นบุญใหญ่จริงๆ เพราะเป็นสถานที่รองรับผู้มีบุญที่จะมาสร้างบารมี บุญนั้นเป็นบุญใหญ่ที่ส่งผลข้ามภพข้ามชาติ ทำให้ได้ทั้งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ เหมือนอย่างนายช่างหูก
ผู้พลิกผันชีวิตจากสามัญชนกลายมาเป็นพระราชา จากชีวิตของปุถุชนคนธรรมดากลายมาเป็นพระอริยเจ้าได้
4. เป็นอานิสงส์ยิ่งใหญ่ไพศาล เมื่อยังชีพอยู่ก็เจริญด้วยอายุวรรณะ สุขะ พละ มีผู้คนชื่นชมยกย่องอุดมไปด้วยเกียรติลาภยศ เต็มไปด้วยความองอาจกล้าหาญเสมอไปทุกที่
เมื่อสิ้นชีพดับขันธ์แล้วจะเสวยสุขอยู่ในสรวงสวรรค์อันเป็นบรมสุข