ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างพระอุโบสถ
ด้วยวัดเสาธงสร้างพระอุโบลถมานานหลายปีแล้ว
ประวัติวัดเสาธง
วัดเสาธง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๗ ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ๘๐๑๗๐ สร้างในสมัยเดียวกับพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช
ตามตำนานกล่าวว่า มีพ่อค้าพานิชย์สองพี่น้องชาวลังกา เมื่อทราบข่าวว่าเขาจะสร้างพระบรมธาตุ ที่เมืองนครศรีธรรมราช นามเดิมเรียกว่า “ตะมะลิง” ภาษาอิสลาม เรียกว่า “เลงกา” ตำนานอินเดีย เรียกว่า “ตาม.พ.รลิงค์” (ตามพรลิง) คือเมืองนครศรีธรรมราชนี้เอง
พี่น้องสองพานิชย์ ได้บรรทุกสิ่งของมาร่วมสร้างพระบรมธาตุและเข้าถึงปากน้ำเมืองนครศรีธรรมราช ก็ส่งคนให้เขามาบอกเจ้าเมืองนครว่ามีพานิชย์สองพี่น้องชาวลังกา คือ ท่านลิติ, ลิมุ้ย บรรทุกสิ่งของลงเรือสำเภามาร่วมสร้างพระบรมธาตุ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชบอกว่าพระบรมธาตุสร้างเสร็จแล้วให้ไปสร้างวัด บริวารพานิชย์สองพี่น้องก็ถอยเรือสำเภากางใบออกไต่เลียบฝั่งมาเรื่อยๆ ก็ได้มาพบกับปากแม่น้ำปากพนัง พานิชย์สองพี่น้องหักหัวเรือเข้ามาคลองปากพนัง พายเรือเรื่อยๆ มาเห็นที่อุดมสมบูรณ์ ขึ้นดูพื้นที่เห็นว่าเหมาะสมจึงขนสิ่งของขึ้นปรับพื้นที่สร้างวัด วัดแรกให้ชื่อว่า “วัดสองพี่น้อง”ก็ยังอยู่จนทุกวันนี้ ยังมีของเหลืออีกมาก สองพี่น้องก็ลงเรือขึ้นมาปรายแม่น้ำเรื่อยมา พอมาถึงทางสองแพรกมองไปทางด้านขวาเห็นเขาลำปะ มองทางตรงเห็นเขาพระบาทกับเขาพังไกร ชักหัวเรือมุ่งตรงเข้าคลองหัวไทรนั่น มองเรื่อยมาเห็นว่านานพอสมควรมองเห็นภูเขาสองลูกก็มองเห็นหมู่บ้านตะคุ่มๆ อยู่สองหมู่บ้าน ส่วนเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นห่วงกลัวพานิชย์สองพี่น้องจะมีอันตราย จึงส่งทหารให้มาอยู่เวรยามตั้งด่านอยู่บ้านบางดาน คือ “วัดบ้านด่าน” ทุกวันนี้ ส่วนที่จอดเรือปัจจุบันนี้เรียกว่า “ย่านสามหลัก” สันนิษฐานว่าเรือที่บรรทุกสิ่งของมานั้นมีสามเสาใบหรือว่าสามหลักใบ เมื่อขึ้นจากเรือเห็นหมู่บ้านแล้ว ท่านลิมิมุ่งตรงไปหมู่บ้านใหญ่ คือบ้านพัทธสีมา ส่วนท่านลิมุ้ยผู้น้องมุ่งตรงมายังหมู่บ้านเสาธง ท่านลิติพี่ชายเห็นว่าบ้านใหญ่สมบูรณ์ต่างก็นำเข้าของไปสร้างที่หมู่บ้านใหญ่ เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ได้นำสิ่งของที่เป็นหลักฐานเอาฝังไว้ใต้พื้นดิน และได้ฝังแผ่นสีมาธรรมจักรแล้วปลูกต้นไม้ไผ่งาช้างไว้บน ได้สลักตั้งชื่อว่า “วัดพัทธสีมา” จนบัดนี้
ส่วนวัดเสาธงของท่านลิมุ้ยก็เช่นกัน พอสร้างเสร็จแล้วก็นำสิ่งของที่สลักเอาลงมาฝากไว้กับพระแม่ธรณีเช่นกัน คือ เป็นแผ่นทองคำเป็นรูปธงชาติ ฝากนางธรณีแล้วได้ตั้งชื่อว่าวัดเสาธงจนถึงปัจจุบันนี้เอง ที่เขาเรียกว่า “วัดพี่วัดน้อง” ตลอดมา
ต่อมาพ่อค้าพานิชย์สองพี่น้องไม่ปรากฏว่าท่านจะกลับลังกาหรือไม่
อยู่ต่อมาวัดพัทธสีมากับวัดเสาธงอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่โดยตลอด พอมาสมัยหนึ่งวัดเสาธงเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ก็ได้ทิ้งช่วงไประยะหนึ่ง ยังเหลือแต่ซากปรากฏคงจะเป็นช่วงสมัยเป็นเมืองขึ้นของพม่า
ต่อมาปี ๒๔๗๐ หลวงอาจารย์ชูน้อย ย้ายมาจากวัดพัทธสีมา จัดเขาบริวาสกรรมอยู่ระยะหนึ่งเห็นว่าชาวบ้านศรัทธาพอสมควร พอจะยกฐานะให้เป็นวัดได้ ท่านอาจารย์ชูน้อย จึงคิดทำพลีวัดใหม่ขึ้น เพื่อจะสร้างให้เคียงคู่เคียงบ่ากับวัดพัทธสีมาต่อไปให้กับเจตนารมณ์ ของผู้สร้างไว้เดิมคือ ท่านลิติ, ลิมุ้ย ท่านอาจารย์ชูน้อย มาตั้งขึ้นได้ยกฐานะวัดขึ้น และพึ่งหมอยาและศิลปะศาสตร์เวทย์มนต์แก่กล้า สามารถทำได้ทุกอย่าง และสิ่งที่ชาวบ้านใช้ได้ทันท่วงที ทีแรกเริ่มใช้ชาวบ้านได้รู้กันทั่ว
สมัยหนึ่ง ท่านพระครูจันทสารวิสุทธิ์ ตอนยังเป็นวัยรุ่นได้ไปอยู่ตรังกับพี่สาว มีมโนราห์ดังอยู่โรงหนึ่ง เขาจะให้หัดมโนราห์ด้วยท่านไม่ยอม เขาก็ทำยาแฝดมีอาการต่างๆ เป็นบ้างหายบ้าง ท่านก็เข้ามาบวชก็มีอาการเกิดขึ้นอีก จนพ่อแม่พี่ๆ น้องป้องกันรักษาจนสุดวิสัย อาจารย์ชูน้อยก็ได้เข้าทรงบอกว่า ให้เอาน้ำพระในสระมาให้แล้วก็จะหาย ผู้ที่เฝ้าก็อธิษฐานบนบานขึ้นแล้วเอาน้ำพรในสระดังกล่าวมาให้ท่านดื่มตบศีรษะของที่อยู่ในตัวออกมาทันที คือ หมาก พลู ตะปู คาดควาย ออกเห็นด้วยตา แกก็หายเรื่อยมา และตั้งใจอยู่วัดตลอดมา อยู่มาหลายปีคิดว่าถ้าจะอยู่จนสิ้นอายุคงจะนานหลายอึดใจ เลยตัดสินใจลาสิกขาบทออกไปอยู่ไม่ได้ ตามองเห็นแต่อาจารย์ชูน้อย มีอาการต่างๆ เพราะท่านตั้งใจจะรักษาวัด เลยท่านตัดสินใจบวชอีก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๘๐
เมื่อย้ายมาอยู่วัดเสาธง ตำบลท่าซอม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช รักษาราชแทน เจ้าอาวาส เปิดสำนักสอนโรงเรียนปริยัติธรรมตลอดมา วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔ ได้ฐานานุกรม แต่งตั้งเป็นพระสมุห์เผอิญ จนฺทวณฺโณ อายุ ๓๙ พรรษา ๑๖ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นโท ดำรงตำแหน่งมาจนกรทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ท่านมรณภาพ
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างพระอุโบสถ
ร่วมทำบุญได้ที่บัญชีวัดเสาธง เลขที่บัญชี
053-310-580-203
เชิญติดต่อได้ที่่ พระอธิการวิรัตน์ ปัญญาทีโป
โทรศัพท์ 086-2794938