"ขวานเกิดที่ปาก" (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ)

      19 ต.ค. 2567

.
"ขวานเกิดที่ปาก"

" .. เมืองหนึ่งมีคนแปลกประหลาด "คือมีปากเป็นขวาน"
เมื่อไม่ชอบผู้ใด "ก็ใช้ขวานที่ปากฟันผู้นั้น"

แต่ก็มีข้อแปลกประหลาดคือฟันไม่ถูกที่ร่างกาย
"แต่ไปถูกที่จิตใจที่ทำให้เจ็บยิ่งกว่าร่างกาย"

คนที่ถูกฟัน"ก็มีขวานที่ปากอีกเหมือนกัน"
ก็ฟันตอบเข้าบ้างและก็ถูกที่ใจอีกเหมือนกัน

เมื่อใช้ปากขวานฟันกันไปฟันกันมา
ก็มีคนมารุมดูกันมากมาย "สนับสนุนข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง
บางทีก็เข้าช่วยตะลุมบอนกันเป็นสองฝ่าย"

เพราะต่างฝ่ายก็มีปากเป็นขวานอยู่ด้วยกัน
และมีแปลกประหลาดอีกอย่างหนึ่ง
คือนอกจากเป็นขวานที่ฟันไม่ถูกร่างกายของใคร "ถูกแต่ใจแล้ว

ยังเป็นขวานที่เมื่อเหวี่ยงออกไปที่ใครอื่นแล้ว
ยังหมุนมาถูกตัวเจ้าของขวานเองอีกด้วย"
บางคราวมีผู้วิเศษมาเป่ามนต์ลงไปว่า "น้ำลม ลมน้ำ
อำนาจมนต์ทำให้ขวานหลุดจากปาก หมดอำนาจที่จะฟาดฟันกันต่อไป"

"เมืองที่มีคนปากขวานแปลกประหลาดนี้"
สมมุติขึ้นตามพระพุทธภาษิตในพระสูตรหนึ่งที่ว่า
"ขวานเกิดที่ปากของคน" ผู้เกิดมาแล้ว
เป็นเครื่องตัดตนเองของคนโฉดผู้ชั่วร้าย

"ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียน หรือติเตียนผู้ที่ควรสรรเสริญ
ผู้นั้นย่อมก่อโทษขึ้นด้วยปาก ย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น"

ความเล่นการพนันเสียทรัพย์หมดสิ้น
พร้อมทั้งตัวเองล้มละลาย โทษนี้แหละใหญ่ยิ่งกว่านัก

พระพุทธภาษิตนี้ "ตรัสสอนให้คนสังวรปาก สังวรวาจา
เพื่อที่จะไม่ใช้วาจาฟาดฟันใครด้วยความคะนอง
เพราะวาจานั่นเองจะกลับมาเป็นขวานฟันตัวเองเข้าให้"

ข้อที่ว่า "ขวานเกิดที่ปาก เป็นข้อเตือนด้วยว่า
เมื่อว่าเขาได้ก็เป็นเหตุให้เขาว่าตอบเข้าบ้าง
เพราะเท่ากับปากของตนเองเป็นขวานที่หวนกลับมาฟันตนเอง"

: ธรรมจักขุ มกราคม ๒๕๕๑ (๑๕-๑๖)
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=32903


25






จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย