ปัจจัยนั้นเป็นของร้อน - หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว


นัยยะของพระธรรมเทศนา
ที่ฟังกันมาต่อเนื่อง เกี่ยวกับรูปิยะ
รูปิยะ หรือรูปี ภาษาแขกเขาว่ารูปี
เป็นชื่อเรียกสิ่งแลกเปลี่ยน
หรือเรียบในปัจจุบันเรียกว่าเงินเรียกว่าแบงค์
เรียกว่าทอง เรียกว่าเงิน ที่นี้ทองเงินนิ
ถ้าว่าตามวัตถุของมันจริง ๆ ก็คือทองคำ
เงินก็คือตัวเงินแท้ ๆ
แต่ ณ ปัจจุบันนี้ ทองก็ยังเป็นทองอยู่
แต่ว่าเงินนี้แปลสภาพไปไกล
แปลสภาพจากเงินไปเป็นกระดาษ
ไปเป็นธนบัตร
เรียกว่าใบเงิน เป็นธนบัตร เป็นกระดาษ
เป็นของแลกเปลี่ยน ใช้แทน ก็ยังถือข้อกำหนดที่ว่า
ไม่ให้รับเองไม่ใช้คนอื่นรับ
ไม่ให้ยินดี ในทองและเงินนั้น
คำว่ายินดีนิ ตัวนี้เป็นความหมายที่ลึกซึ้งมาก
ทำให้นักวินัยทั้งหลาย ผู้ประพฤติปฏิบัติทั้งหลาย
ทำความเข้าใจยาก เพราะท่านกล่าวไว้ถึงขั้นว่า
รับเองก็ดี ให้คนอื่นรับก็ดี ยินดีในทองและเงินที่คนอื่นรับไว้ก็ดี
ต้องนิคสัคคี ดังนั้นข้อปฏิบัติในสิ่งเหล่านี้
ซึ่งมาโลกปัจจุบันว่า มีความจำเป็นมีความสำคัญ
กับการที่จะต้องแลกเอาไปเป็นวัตถุอื่น ๆ จึงให้ทำการเปลี่ยนแปลง
หรือบุคคลใด ๆ บุคคลหนึ่งเป็นผู้ขวนขวาย เป็นผู้ขวนขวาย
เป็นผู้รับผิดชอบ เป็นผู้ดูแล จึงเรียกบุคคลนั้นว่า ไวยาวัจกร
หรือบุคคลนั้นว่า ภาษาเขาก็เรียกว่า เหรัญยิก
เหรัญยิก ไวยาวัจกร หรือบุคคลอื่น บุคคลใดบุคคลหนึ่ง
เป็นผู้ทำการแทน แต่บุคคลนั้นก็ต้องถูกเขาปาวรณาไว้
ก็เลยเปลี่ยนแปลงมาใช้ในระบบว่า การปาวรณา
ปาวรณาด้วยปากก็ได้ ปาวรณาด้วยการเขียนก็ได้
ซึ่งเอามาเป็นข้อปฏิบัติ นั้นเวลาจะถวายอะไรก็ให้ปาวรณา
บอกกล่าวว่า เท่าไหร่...เพื่ออะไร ดังคำปาวรณาหรือใบปาวรณา
ที่เราเห็นนิ ข้าพเจ้าขอถวายขอปาวรณา ขอปาวรณาจตุปัจจัย
แด่พระคุณเจ้าเท่าราคา เท่านี้ ๆ พับ ถ้าใช้คำว่าพับ
เมื่อพระคุณเจ้าต้องการสิ่งใดอันสมควรแต่สมณะบริโภค
ขอพระคุณเจ้า เรียกร้องจากไวยาวัจกรนั้นเถิด
ก็หมายถึงว่าต้องมีผู้ถือแทน อันนี้คือเป็นข้อปฏิบัติที่ใกล้ชิดกับแนวทาง
ปฏิบัติที่พอรอดพ้นจากการให้ความหมายว่า
ถือหรือให้ถือ หรือยินดี ท่านจึงไม่ให้ใช้คำพูดว่า การซื้อการขาย
ให้ใช้คำว่าต้องการสิ่งนั้นสิ่งนี้ ก็เป็นการระมัดระวัง ใช้อย่างระมัดระวัง
ใช้อย่างถูกวิธี การหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้แตะต้องหรือรับผิดชอบ
ในรูปิยะนั้นโดยเฉพาะ จึงจัดเป็นระบบขึ้นมาว่า ต้องมีบุคคลผู้ทำการแทน
หรือพูดสั้น ๆ ก็เรียกว่า ไม่ให้ถือเอง
ไม่ให้ถือเอง ไม่ให้จับจ่ายเอง ต้องมีไวยาวัจกร
เป็นผู้ทำหน้าที่แทน เราก็เพียงเป็นแต่บอกว่า
ต้องการ เช่นต้องการยาสีฟัน หรือว่าไปดูยาสีฟันให้หน่อยซิ
ไวยาวัจกรก็ไปจัดการ ไปดูเครื่องขยายเสียงหน่อยสิ
ไว้ยาวัจกรก็ไปจัดการ อันนั้นคือที่ให้ใช้ได้
แต่ไม่ได้ให้ถือ เพื่อว่าไปซื้อเอง หรือให้คนอื่นไปซื้อ
อันนี้คำว่าซื้อขายจึงไม่เป็นคำที่จะมาใช้กับผู้เป็นบรรพชิต
หรือผู้เป็นนักบวชได้ ใช้เพียงต้องการ
ดังนั้น จตุปัจจัยในความหมายว่า จตุปัจจัย อันนี้คือปัจจัยสี่
แต่ปัจจัยที่เราเรียกปัจจุบัน เรียกแทนเงิน ไม่ให้เรียกว่าเงิน
ให้เรียกว่าปัจจัย
แหนะ... ปัจจัย "ปัจจัยสี่" ก็คือเครื่องนุ่งห่ม เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย
ยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ
อันนั้นแหละต้องการจีวร ก็ต้องใช้เงินไปซื้อ ใช้เงินไปแลกเปลี่ยน
แต่เราผู้เป็นเจ้าของเพียงแต่ใช้คำว่าต้องการจีวร
ก็แล้วแต่เขาจะไปจัดการ ก็ถามว่าในส่วนตัวของเรา
มีเท่าไหร่ พอจะต้องการจีวรได้ไหม
ต้องการสร้างเสนาสนะ ต้องการอาหาร ต้องการยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ก็ต้องถามผู้ดูแลรักษาว่า มีเท่าไหร่พอที่จะต้องการมาได้ไหม
ตามที่มี ฉะนั้นเรื่องจตุปัจจัย หรือ เรื่องเงินนี้เป็นเรื่องละเอียดนะ
เป็นเรื่องละเอียด แต่บางองค์บางท่านก็ว่า มันไม่ใช่เงิน มันกระดาษ
นั่นเห็นไหม ถ้าแบบดันทุกรัง ก็ว่ามันไม่ใช่เงิน มันกระดาษ
ทีนี้กระดาษเฉยแล้วไปถือทำไม
ถือทำอะไรได้ ที่จริง ก็คือเป็นความหมายว่าเขาให้ใช้แทน
ใบปาวรณาเขาให้ใช้แทน
หรือบัตร หรือเช็คอะไรที่เปลี่ยนแปลงมาในยุคปัจจุบัน
ก็คือเพื่อความเป็นไปได้ ถ้าจะให้ดีที่สุด เคร่งครัดที่สุดก็ไม่ต้องสนใจใส่ใจ
ในสิ่งเหล่านี้เลย แต่มาโลกปัจจุบัน ก็ต้องใช้ ก็ต้องใช้ให้เป็น
มีใช้ก็ใช้ให้เป็น ถ้าใช้ไม่เป็นก็ถูกครหา ถูกนินทา หรือ เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา
ก็ต้องปรับอาบัติกัน ดังนั้นด้วยความเอื้อเฟื้อก็ต้องระมัดระวัง
ฉะนั้นจึงเป็นการจัดระบบขึ้นมาว่า ต้องมีไวยาวัจกร
ต้องมีผู้ทำหน้าที่แทน ฉะนั้นไปไหนมาไหนต้องมีไวยาวัจกร
ไม่ใช้พกเอง จับเอง ถือเอง นั้นแหละคือไม่ได้เอื้อเฟื้อต่อข้อปฏิบัติ
ฉะนั้นเราจะเห็นว่า ครูบาอาจารย์ ท่านไปไหนมาไหนจะมีลูกศิษย์
มีสังกะลี เป็นผู้ติดตาม นั้นแหละคือ
เพื่อจัดการเรื่องกัปปิยะเหล่านี้ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใช้เลย
ไม่ต้องใช้ก็หมายถึงว่า เขาให้ก็ไม่รับ ไม่มีไปด้วยอาศัย
เขาศรัทธาเลื่อมใส ให้ที่อยู่ให้อาหารการฉัน ให้ยารักษาโรค
ลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าไปหาขอ ไปหาหยิบยืม ไปหาถือไปแลกเปลี่ยน
ตรงนั้นตรงนี้มันเกิน เกินความพอดี
เกินความพอดีของผู้เป็นสมณะ ข้อนี้นิเป็นข้อที่ หมู่คณะสงฆ์ทั้งหลายนิ
ให้ความสำคัญ ให้ความสำคัญให้ความคิดความเห็นที่แตกต่างกันออกไปมาก
ถ้าพูดถึงเรื่องนี้ บางทีก็ทะเลาะกันเลยแหละ
ทะเลาะกันเลย
ฉะนั้นทางคณะใหญ่ เขาจะไม่สนใจเรื่องเหล่านี้
ขนาดทางคณะเรานี้ต้องระมัดระวัง
ระมัดระวัง สำรวมระวังให้มาก อย่าไปถือเอง อย่าไปใช้เอง
อย่าไปจับจ่ายเอง นี่คือ ข้อปฏิบัติที่คณะเรา
คำว่าคณะเราก็คือ คณะธรรมยุต เป็นคณะที่ต้องระมัดระวัง
จึงให้วิธีรูปแบบ ข้อปฏิบัติอย่างเช่นเขาถวายก็เป็นใบปาวรณา
หรือเขาถวายก็วางไว้ ลักษณะอย่างนี้แหละเป็นการเอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย
นั้นแหละ เอื้อเฟื้อต่อพระพุทธเจ้า เพราะสิ่งเหล่านี้มันมีโทษ
มันมีโทษ ท่านเรียกชื่อมันว่า เป็นอสรพิษ
มีโทษกับตัวเรา เป็นตัวการที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัย
ไม่ปลอดภัย เช่นเก็บไว้ แม้จะอยู่ในที่เสนาสนะ หรือเป็นที่มีห้องมีฮับมีอะไร
เป็นรัดกุมก็แล้วแต่ ก็คงเคยได้ยินข่าวกันบ่อย ๆ นิ
ปล้นกุฏิพระ ปล้นงัดเข้าไปเอาเงินเอาทอง ถึงขั้นบางทีก็ถึงฆ่าเจ้าของทรัพย์
เจ้าของกุฏิ เจ้าของข้าวของตายก็มี มรณภาพก็มี
นั่นแหละว่า มันเป็นอสรพิษ ซ่อนอยู่ไม่รู้เมื่อไหร่มันจะแพงฤิทธิ์
ทำร้ายคนที่รักษา ทำร้ายเจ้าของ ท่านจึงให้ระมัดระวัง
ก็หมายถึงว่า ให้มีบุคคล
ผู้ทำหน้าที่แทน ก็คือไวยาวัจกร
และในปัจจุบันก็ใช้ระบบ ระบบตัวเลข ระบบบัญชี
ระบบอิเล็กทรอนิก โอ๊ย สารพัดแหละที่เอามาใช้นิ
ก็ให้อยู่ในความเหมาะสม พูดสั้นก็คือ อย่าไปจับ แค่นั้นแหละจบ
ไม่จับไม่ถือ อย่าไปจับจ่ายเองอย่าไปใช้เอง นั้นแหละก็จะบกัน
เป็นข้อปฏิบัติที่ดีงาม กับคณะของเรา

การบวชวันนี้เป็นไง เสร็จเรียบร้อยดี
เรียบร้อยดี กุฏิมีว่างไหมนิ ห๊ะ
ที่สึกไปวันนี้ว่าง
ก็ขยับไปอยู่กุฏิใหม่กุฏิที่ว่างก็ได้
ก็จะได้ดูแลรักษานะกุฏินิ
ต้องดูแลรักษากันหน่อย ปลวกมันเยอะ
ปลวกเยอะ ขยะก็เยอะนะ เดินไปดูข้างหลังนิ
กุฏิบางกุฏินิโท่...เศษถุงเศษกระดาษ เศษขวด
เศษขนม ดูไม่ได้เนาะ ต้องดูหน่อยนะ
ช่วยกันดูหน่อย ข้างหลังนั่นแหละ หลังไหนก็น่าจะรู้นะ
ถ้าเจ้าของไม่รู้ก็ต้องตีระฆังบอกหน่อยนะว่า กุฏินี้
เป๊ง ๆ ๆ ๆ กุฏินี้สกปรก กุฏินี้ต้องแก้ไข้
ห้องน้ำห้องสวมก็เหมือนกันนะ
ดูอย่าให้มันมีใบไม้ อย่าให้มันมีฝุ่น
อย่าให้มันสกปรกนั้นแหละ
ต้องทำความสะอาด หยากไย่ ก็ดี ใบไม้ก็ดี
ลานห้องน้ำ ด้านหน้าด้านหลัง
บริเวณกุฏิข้างหน้าข้างล่าง ถึงขยะก็จัดให้มันเป็นที่เป็นทาง
ดูเรียบร้อยนะ ลักษณะของ
เป็นข้อวัตรนะ ข้อวัตร ให้พากันดูแล กุฏิก็เหมือนกัน
เช็ดถูทำความสะอาด ทำความสะอาดทุกวันแหละ เช็ดถูทำความสะอาด
อย่าให้มันมีฝุ่น อย่าให้มันมีหยากไย่ ไม่ใช่ว่าอยู่เฉย ๆ
แล้วก็ปล่อยให้ปลวก ปล่อยให้มด ปล่อยให้หนู ปล่อยให้หมาขึ้นไปนอนอยู่นั้น
มันใช้ไม่ได้นะ
ก็ต้องดูเสนาสนะ ผ้าที่ตากก็เหมือนกัน
ตากให้มันดูเรียบร้อย ไม่ใช่พลาดทิ้ง
คนตากผ้าไม่เรียบร้อยนิมันน่าเกลียดจริง ๆ นะ
เอียงหน้าเอียงหลัง อยู่ตามห้องน้ำเห็นไหม
เดินไป โท่ตากจีวร ตากจีวรก็ยังไม่เรียบร้อย
แล้วมันจะเอาเรียบร้อยตรงไหน
ผ้าเช็ดทงเช็ดเท้าก็ไม่เรียบร้อย
นั่นแหละ เขาเรียกว่า มันไม่มีความสำรวม
มันไม่ฝึกตนเอง
เป็นคนมักง่าย พอเป็นคนมักง่าย
จิตใจมันก็ไม่สำรวม ฟุ้งเฟ้อ ฟุ้งซ่าน
หนะลักษณะอย่างนี้ ก็ให้พากันช่วยกันดู ใบมงใบไม้
ตามโคนต้นไม้ ตามอะไรที่มันแห้ง ก็ล้วงออกมาใส่ถุง ใส่ถัง
ใส่กระป๋อง หรือใส่ตระกร้าไป ไม่ใช่กวาดป๊อปแป๊บ ๆ ถนน
ต้องดูตรงโคนต้นไม้ ตรงซอกตรงมุม ดูให้ทั่ว ก็เหมือนเราอาบน้ำแหละ
ล้างแต่หน้า ขี้ไคลเต็มหูอยู่ ขี้ไคลเต็มคอก็มี
อยู่ก้านคอมีแต่ขี้กะหลืน นิ ๆ อย่างนั้นแหละ
ต้องให้ดู


ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
พุธที่ 15 ธ.ค. 64

7,678







จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย