กิเลสคือเครื่องขวางกั้น - หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว

Dargonfly

<
นัยของพระธรรมเทศนา จุดประสงค์ของการบัญญัติ
กับข้อวิจารย์ของอรรถกถา ของฎีกา ฟัง ๆ ดูแล้ว
มันก็เหมือนกับจะขัด ๆ กัน
ขัด ๆ กันไปในตัว ทำไมถึงว่า ขัด ๆ กันไปในตัว
เพราะจุดประสงค์ของการบัญญัติพระวินัย
มาจากข้อครหา ที่ชาวบ้านเขาเห็นภิกษุภิกษุณีเดินทางด้วยกัน
นี่เป็นข้อสำคัญ ส่วนข้อที่ทรงอนุบัญญัติเพิ่มเติมในสมัย
ที่ว่ามีอันตรายเกิดขึ้น ก็ให้ไปด้วยกันได้
อันนี้ก็ไม่ถือสำคัญแหละ สำคัญข้อที่ ๑
ที่ว่า เดินทางไปด้วยกันแล้วชาวบ้านเขาครหานินทา
ในประโยคที่กล่าวถึงว่า พวกเราเป็นสามีภรรยากัน
เดินทางไปด้วยกันฉันใด สมณะในพระธรรมวินัย
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เห็นไม่แตกต่างกัน
อันนี้คือข้อครหา เป็นจุดที่ให้ทรงบัญญัติ
ส่วนข้อที่กล่าวว่าเดินก้าวไปสองก้าว ก้าวหนึ่งหรือว่า
ไม่ได้นัดหมายกันแต่ว่าไป อันนี้ไม่ควร
ที่จริงถึงนัดหมายหรือไม่นัดหมายอันนี้ก็ผิด
ถึงไม่นัดหมายแต่ว่ามาเจอตรงนั้น ก็ไม่ควรที่จะไป
แต่ในอรรถกถาท่านบอกว่าไม่ผิด มันก็ดูเหมือนค้าน ๆ กันอยู่
ฉะนั้นเราต้องวิเคราะห์วิจัยวิจารณ์
อย่างกรณีภิกษุณีในปัจจุบันไม่มี
ไม่มีก็ยกประเด็นมาที่มาตุคาม มาตุคามก็หมายถึงสตรี
ที่ภิกษุชักชวนเดินทาง เดินทางด้วยกัน
ในสิกขาบทนี้ บอกว่าเดินทางด้วยกันสองต่อสอง ไปด้วยกันสองต่อสอง
แต่ส่วนที่ไปกันเป็นหมู่ ๆ นั้น ไปด้วยข้อยกเว้นว่ามีอันตราย
แต่ด้วยการเดินทางด้วยกันสองต่อสองนี้
หมายถึงหลีกเลี่ยง ข้อยกเว้นที่จะเกิดขึ้นเพราะการครหานินทา
ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ว่าหญิงไม่ว่าชายแหละ ล้วนแล้วแต่เป็นมลทินของกันแหละกัน
ทางธรรมะที่ว่า
อิตฺถี มลํ พรฺหมฺจริยสส
สตรีเป็นมลทินของพรหมจรรย์

นิสำหรับผู้ชาย ทีนี้ผู้หญิงก็ตรงกันข้ามเหมือนกันว่า
บุรุษก็เป็นมลทินเหมือนกันสำหรับสตรี
สตรีก็เป็นมลทินพรหมจรรย์สำหรับบุรุษ
ดังนั้นพระวินัยข้อนี้ จึงทรงบัญญัติเพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา
กับการเดินทางร่วมกันของภิกษุ ภิกษุณี
หรือของภิกษุ มาตุคาม เกี่ยวกับมาตุคามมีข้อบัญญัติในปาจิตตีย์นี้อยู่แล้ว
แต่ที่เกี่ยวกับนางภิกษุณี ท่านมาบัญญัติไว้อยู่ในนี้ด้วย
แม้จะไม่เกี่ยวข้องว่าภิกษุณีได้สูญหายไปแล้วก็ตาม
ก็ให้ถือเป็นรูปแบบอาจจะใช้คำว่าชีพราหมณ์ก็ได้
อาจจะใช้คำว่าชีก็ได้ ใช้คำว่าพราหมณ์ก็ได้
แต่ในพระวินัยนั้นบอกว่าเป็นภิกษุณี
เป็นปาจิตตีย์ถ้าเป็นภิกษุณีที่ยังไม่สมบูรณ์
คือบวชจากสงฆ์ฝ่ายเดียวแต่ก็ไม่ได้บวชจากสงฆ์สองฝ่าย
กับบอกว่าเป็นทุกกฏ ที่จริงมันก็เสียหายเท่ากัน ใช่ไหม?
เสียหายเท่ากันเพราะเป็นผู้หญิงเหมือนกันนะ
เป็นภิกษุณีถึงแม้จะบวชสงฆ์ฝ่ายเดียวก็ตาม
ก็ถือว่าเป็นผู้หญิง ก็น่าจะทำให้เขาครหานินทาได้
อันนี้ก็วิจารย์ไปตามเนื้อความที่ ที่มองไปถึงพระประสงค์
พระประสงค์ที่พระพุทธองค์ทรงแสดง อันนี้เป็นบรรทัดฐานนะ
เราต้องยึดถือพระบาลีเป็นหลัก ส่วนอรรถกถาก็ดี ฎีกาก็ดี
ที่ขยายความ ถ้าหากว่าไม่ตรงกับพระบาลี เราก็ต้องเชื่อพระบาลี
หรือยึดหลักพระบาลีไว้เป็นบรรทัดฐานเพราะอรรถกถา
ก็คืออธิบายพระบาลี ฎีกาก็คือขยายความหมายของแต่ละประโยค
แต่ละคำแต่ละอย่างออกไปอีก เหมือนกับที่ท่านอธิบายว่า เจ็ดชั่วโคตร
ที่ว่าภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติ เจ็ดชั่วโคตร ก็หมายถึงว่า
บางทีนับจากปัจจุบัน ถอยหลังไปเจ็ดชั่ว บางที่ก็บอกว่านับจาก
ปัจจุบันเป็นกลาง ไปข้างหลังสาม มาข้างหลังสาม ไปข้างหลังสาม
เดินหน้าสาม อันนี้เรียกว่าเจ็ดชั่วโคตร แต่ถึงอย่างไร
นัยของพระบาลีเนี้ย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างข้อที่หนึ่งนั้น
เกี่ยวกับการวาดภาพที่ไม่เหมาะไม่ควรใส่ลงไปในจีวร
พอเวลาบัญญัติพระพุทธเจ้าไม่ได้ตัดถึงตรงนี้ หรือไม่ได้หยิบยกตรงนี้ขึ้นมา
หยิบยกแต่เพียงว่าภิกษุณีนั้นเป็นญาติของเธอหรือไม่ใช่ญาติ
พอบอกว่าไม่ใช่ญาติ ก็ตรัสบอกตำหนิว่าไม่สมควร
เพราะว่าผู้ไม่ใช่ญาติ ภิกษุย่อมไม่รู้ว่ามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร
แต่ไม่ได้กล่าวถึงการวาดเขียนรูปภาพใส่ไปในผ้า ตรัสเพียงตรงที่ว่า
ญาติ ไม่ใช่ ญาติ เท่านั้น อันนี้ก็ดูเหมือนกับว่าสั้นไปนิดหนึ่ง
คำว่าสั้นไปนิดหนึ่งก็หมายถึงว่า ที่เป็นญาติไม่ใช่ญาติเพียงแค่นี้
แต่ไม่ได้กล่าวถึงว่าควรไม่ควร กับการที่ภิกษุไปทำเช่นนั้น
คือพูดเลยไปอีกว่า ดูสิ ถึงแม้ไม่ใช่ญาติก็จริง แต่ว่าถึงเป็นญาติก็จริง
ก็อาจจะนึกพิเรน ๆ ไปตามความโลเลของผู้กระทำ
พระโรรุทายีเนี้ย ชอบทำอะไรแผลง ๆ เพี้ยน ๆ เพราะท่านเป็นนักก่อสร้าง
เป็นนักจิตกวี เป็นนักศิลปิน ทำอะไรที่เพี้ยน ๆ ออกไปอาจจะเป็นญาติ
หรือไม่ใช่ญาติ ก็อาจจะทำเล่น ๆ ได้ ก็ไม่ควรที่จะไปขีดไปเขียน
หรือไปเสริมเติมแต่งผ้านั้นลงไป แต่ว่าตอนนั้นตอนบัญญัติท่านไม่กล่าวถึง
ก็เป็นแต่เพียงว่า เป็นญาติหรือไม่ใช่ญาติ
อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้รวบรวมแหละ เอามาเป็นข้อคิด เราเรียนรู้ศึกษาต้นตอ
คัมภีร์คือพระไตรปิฎก ทั้งส่วนพระบาลี ทั้งส่วนอรรถกถาฎีกา
ที่ท่านวิเคราะห์วิจัยวิจารย์ไว้ เราก็ต้องเอามาไตร่ตรองใคร่ครวญ
ถึงแม้เป็นสิกขาบทที่เราอาจไม่ได้ใช้ ในยุคปัจจุบัน แต่ว่าเป็นการมองให้เห็นถึง
พระประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ภิกษุ ภิกษุณีอยู่ร่วมกัน
ท่านทั้งหลายก็ลองคิดดูว่าผู้เป็นประมุขเป็นประธานนิ หมายถึงพระพุทธเจ้า
เมตตานะ เมตตาทั้งบุรุษ เมตตาทั้งสตรี แต่ว่าสตรีเนี้ยเป็น...ถึงเมตตาแต่มันก็อยู่
ในเขตที่มันอันตราย อันตรายมากกับการครองชีวิตอยู่ในโลก
ยิ่งอยู่ในเพศของสมณะอยู่ในเพศที่ไม่มีบุรุษดูแลคุ้มครอง
อาจจะถูกตำหนิติเตียน ถูกดูถูกดูแคลนถูกเหยียดหยาม ถูกเยาะเย้ย
ถูกกล่าวถากถาง ถูกกระแนะกระแหน หรือถูกพูดแคะไค้ในทางที่
ลามกสกปรกได้ทั้งนั้นแหละ จึงเป็นเรื่องที่ยากกับการที่จะครองเพศ
ทรงเพศอยู่อย่างสมณะภิกษุในพระธรรมวินัย
แต่ด้วยพระเมตตา ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ ธรรมวินัยขึ้นมา
เมตตาต่อสัตวโลก จึงทรงอนุญาติ ถึงแม้การอนุญาติ
จะอนุญาติด้วยความเมตตาก็จริง แต่ก็นึกถึงภัยที่จะเกิดขึ้นต่อพระพุทธศาสนา
ก็ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมไว้ บังคับไว้
ถ้าไม่เช่นนั้นก็สมมุติว่า เกิดมีภิกษุณีมาอยู่จนถึงปัจจุบันนี้
ก็ไม่มั่นใจเหมือนกันว่า ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มันจะเหลือถึงแสนสองแสนหรือเปล่า
เนี้ยลักษณะนี้ก็เป็นสิ่งที่ล่อแหลมต่อ ต่ออันตรายก็หมายถึงว่า
กิเลสนั้นแหละ กิเลสแม้ขนาดอยู่ อยู่คนละมุมคนละฝาก
คนละฝั่งคนละกำแพง คนละบ้านละช่อง
มันยังกระโดดหากันเป็นเรื่องเป็นราวกันอยู่มากมาย
และถ้ามาอยู่ในเขตอันเดียวกัน ไม่มีข้อวัตรปฏิบัติศีลธรรมคุ้มครองป้องกัน
มันก็สุ่มหัวกันไปเลยก็มี ลักษณะอย่างนี้ หมายถึงว่า
ยินดีด้วยกัน สมรู้ร่วมกัน ไปด้วยกันอย่างนี้มันก็มี มีมาแล้วแหละ
ในครั้งพุทธกาลก็มีมาแล้ว ก็กลายเป็นทำความเสื่อมเสียให้เกิดขึ้น
หรือเป็นเครื่องขวางกั้นต่อมรรคต่อผลต่อพระนิพพาน
ผู้ที่จะมุ่งมั่น ตั้งใจเดินในทางประพฤติปฏิบัติต่อมรรคต่อผลก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยง
ต่อสิ่งเหล่านี้ พยายามสงบสงัด พยายามสำรวมระมัดระวัง
ตาหูจมูกลิ้นกายใจ เรียกว่าสำรวมอินทรีย์นั้นแหละเป็นศาสนา
เป็นศาสนาหรือเป็นคำสอน ที่เราพากันรักษาอยู่นี้
เขาเรียกว่ารักษา หรือเรียกว่าปฏิบัติศาสนา
ว่าปฏิบัติศาสนาก็ต้องทำงาน เหมือนเรารักษาความสะอาด
ก็ต้องขยันกวาดขยันเช็ด ขยันถู ขยันคุ้มครองป้องกันดูแล
ไม่ให้ฝุ่นละออง สิ่งสกปรกเข้ามาแปรอะเปื้อน ท่านถึงเรียกว่า
รักษาความสะอาดไม่ใช่ว่าไปนั่งอยู่เฉย ๆ แล้วมันจะสะอาด
หรือนั่งรักษาไม่ให้ความสกปรกเกิดขึ้น ความสกปรกมันต้องเกิดขึ้นแน่นอน
ความรักษาก็หมายถึงรักษาทำความสะอาดนั้นเอง
ธรรมวินัยขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ก็เหมือนกัน

ที่เรียกว่าศาสนาก็หมายถึงว่า ต้องปฏิบัติ
ถ้าไม่ปฏิบัติยังไงก็ไม่เป็นศาสนา พอเราปฏิบัติปุ๊บก็เป็นศาสนาทันที
เช่นปฏิบัติห้ามเบียดเบียนคนอื่นสัตว์อื่นเนี้ย
ถ้าคุณปฏิบัติตาม คุณก็มีศาสนา ถ้าไม่ปฏิบัติตาม
ก็คุณไม่มีศาสนา ห้ามลักขโมยปล้นจี้ ฉกชิงวิ่งราวเอารัดเอาเปรียบ
คนอื่นสัตว์อื่น แต่พอปฏิบัติตามก็เป็นศาสนาขึ้นมาทันที ถ้าไม่ปฏิบัติตาม
ก็ไม่มีศาสนา ศีลแต่ละข้อแต่ละข้อ เมื่อลงมือปฏิบัติจึงเป็นศาสนา
ถ้าไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เป็นศาสนากับคน คนนั้น
ดังนั้นเราบอกว่าเราเป็นชาวพุทธ
เป็นชาวพุทธมีศีลมีธรรมไหม ถ้าไม่มีศีลมีธรรมก็เท่ากับว่า
ไม่มีศาสนานิบอกเพียงแต่ว่าเป็นชาวพุทธเฉย ๆ
แต่ก็เบียดเบียนกันอยู่ ลักขโมยปล้นจี้ ฉกชิงวิ่งราว
จิตคิดชั่วลามกสกปรก ผิดลูกผิดผัวผิดเมียกันอยู่
โกหกหลอกลวงผิดสันยงสัญญา ด่าว่าร้ายซึ่งกันและกันอยู่
ทำนองนี้ ลักษณะนี้เขาเรียกว่า ไม่ใช่ผู้มีศาสนา
จึงเรียกว่าเป็นคนไม่มีศาสนา เมื่อประพฤติตามปฏิบัติตามคำสอนของศาสดาเมื่อไหร่
ก็เป็นศาสนาขึ้นมาทันที
เราประพฤติปฏิบัติในพระวินัยนี้ก็เหมือนกัน
เราปฏิบัติศาสนา เราก็ต้องทน ทนต่อธรรมชาติ
ทนต่อกิเลสนั้นแหละ คำว่าธรรมชาติ ก็คือกิเลส
ที่เราอยู่กับมันมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่รู้กี่ภพกี่ชาติมาแล้ว
อยู่กับมันมาอย่างนี้ พอเราอยู่กับมันมาอย่างนี้ ทีนี้ เราจะหนีจากมัน
เราจะไม่เอาอะไรแหละ ภพชาติเวียนวายตายเกิดในวัฏสงสารนิ
เราจะหนีจากมัน เมื่อเราจะหนีจากมัน นั้นแหละคือเราเริ่มปฏิบัติ
ตามศาสนา ถ้าเราไม่คิดหนีจากมันก็เท่ากับเราไม่ปฏิบัติตามศาสนา
ทีนี้ศาสนาก็มีหลายระดับ ระดับจะอยู่กับมันก็มี
ระดับจะหนีจากมันก็มี ก็เหมือนกับเรามาบรรพชาอุปสมบทนิ
ก็ระดับที่จะหนีจากสิ่งเหล่านั้น ถ้าเราครองฆาราวาสวิสัยอยู่
ประพฤติปฏิบัติอยู่กับโลก แต่มีหลักของศีลของธรรม
เป็นข้อปฏิบัติ เป็นกรอบ เขาเรียกว่า ก็เป็นศาสนาเหมือนกัน
แต่ว่าระดับอยู่กับการเวียนวายตายเกิดอยู่กับโลก
ก็ต้องระดับนี้ ถ้าจะยกระดับขึ้นมาให้เหนือนั้นสูงกว่านั้น
ก็ต้องอีกระดับหนึ่ง ลักษณะอย่างนี้ ฉะนั้นพระวินัยที่พระพุทธเจ้า
ทรงบัญญัติเนี้ยเป็นไปเพื่อมรรคเพื่อผล เล็ก ๆ น้อย ๆ นิ
ท่านทั้งหลายก็ลองคิดดู ที่มันเป็นผลเสียกับกุลบุตรลูกหลาน
หรือผลเสียกับการเผยแผ่ กับการวางรากฐานพระพุทธศาสนา
พระองค์ทรงบัญญัติทันทีเลย อย่างข้อครหาเล็ก ๆ น้อย ๆที่ว่า
เขาพูดแค่เพียงว่า พวกเราเป็นสามีภรรยากันก็ไปด้วยกันอย่างนี้
พวกพระพวกภิกษุณีก็ไปด้วยกันเหมือนพวกเราเนาะ
เขาก็พูดแค่นี้แหละ แต่ถ้าจะไปแก้ ก็มีจุดประสงค์อยู่ไม่ได้มีความคิด
บอกว่าเป็นสามีภรรยากันหรอก ถ้าพูดให้เขาฟังเขาจะเชื่อไหมละ ?
เขาก็เถียงตอบอีก แต่นี่กันไว้เลย
พระพุทธเจ้าว่าตรัสปัญหากันไว้เลยว่าอย่าไปทำอย่างนั้น
เพราะว่าคนที่คิดดีคิดถูกไม่ได้มองไปทางเรื่องลามกสกปรกมันก็มี
คนที่คิดไม่ดี คิดไม่ถูก แม้จะให้หลีกเลี่ยงอย่างไร มันก็หาวิธีคิด
ที่จะให้เราเสียอยู่จนได้นั้นแหละ ฉะนั้นว่ากันเสีย
จะไปแก้ตัวจะไปโต้แย้ง ก็เสียเวลาเปล่า ก็กันเสีย
อย่างกรณีที่ไปด้วยกันหลายคน
พระไปก่อนภิกษุณีไปทีหลังก็กลับถูกพวกโจรพวกหัวนักเลง
พวกขี้เหล้าเมายา มันพูดหยอกพูดล้อหรือประพฤติลามกล้วงเกินอย่างเนี้ย
จะไปโทษใครละทีนี้ จะไปแจ้งความจะไปบอกผู้ใหญ่บ้าน
จะไปบอกกำนันมาไล่จับพวกโจร มันก็ต้องไปกันใหญ่แหละ
ต้องฟ้องร้องกันขึ้นโรงขึ้นศาลกัน ใช่ไหม
พระพุทธเจ้าก็เลยมีการประชุมป้องกันบัญญัติเลยว่า
ป้องกันสาวกเองอย่างเดียวนะ ไม่ได้ไปบอกว่าโอ๊วววว
บ้านนี้เมืองนี้มันโจรเยอะนิ พระมาแค่นี้ มันยังมาทำลายแค่นี้นิเอ้า
ใครละเป็นผู้ใหญ่บ้าน ใครละเป็นประมุขของเขตนี้
แขวนนี้ ไปเรียกมาสิ ไล่จับโจรให้หน่อยสิ
ปราบมันให้ราบคาบสิสมณะชีพราหมณ์จะได้เดินทาง
ไปไหนมาไหนสะดวก แต่เปล่าว พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติว่า
ก็ให้ดูแลกันเอง ดูแลกันเองเพื่อประโยชน์กับการเจริญสมณะธรรมต่อไป
เหมือนกับที่ทรงบัญญัติว่าห้ามภิกษุณี จำพรรษาหรืออยู่ในเขตของวัด
ที่ไม่มีภิกษุนะ ก็เพราะอย่างนี้แหละ เพราะว่ามีผู้มาเบียดเบียน
มีผู้มาทำร้ายบังคับข่มขู่ เพราะขึ้นชื่อว่า
สตรีเพศก็แน่นอนแหละ มีอันตรายประจำตัวอยู่เสมอ
ฉะนั้นก็ว่า ต้องมีภิกษุเป็นผู้ดูแลคุ้มครองป้องกัน
คำว่าคุ้มครองป้องกันไม่ได้หมายถึงว่าอยู่อย่างคอรบครัวหรืออยู่อย่างสามีภรรยา
แต่หมายถึงว่า อยู่อย่างให้เกิดความเกรงขาม ต่อผู้คิดร้าย
จะมุ่งมั่นอยู่กับการเมตตาสงสารอนุเคราะห์ เพื่อประพฤติปฏิบัติธรรม
ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามถูกต้องรุ่งเรือง นั้นแหละความหมายเป็นอย่างนั้น
มันละเอียดอ่อน
พระวินัยเนี้ยละเอียดอ่อนพระประสงค์ของพระพุทธองค์
ก็ละเอียดอ่อน ถ้าเราไปเอาช่องว่าง
ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาติที่พระพุทธเจ้าให้ถือเป็นข้อยกเว้น
มาคิดมาทำในทางที่ไม่ถูกไม่ควร มันก็มีช่องว่างเยอะแหละ
ถ้าคิดอย่างนั้น ถ้าคิดอย่างนั้นแล้วช่องว่างเยอะ ที่จะทำได้
ดังนั้นให้เรามุ่งมั่นระมัดระวัง กายวาจาใจของเราให้อยู่ในกรอบ
ของธรรมของวินัย เคร่งคลัดไว้ อย่าให้มันหย่อนอย่าให้มันหละหลวม
เพราะมันจะเปิดช่องให้กับกิเลสตัวอื่น ๆ มันจะแทรกเข้ามา
มันจะเป็นโทษกับการเจริญสมณะธรรม

นี่ก็ใกล้จะสอบประโยค 1-2-3-4-5
นี่จะสอบกันกี่องค์ 1-2 ประโยค 5 สอง
ก็ไม่อีกกี่เมื่อน้อยที่จะสอบ ก็ให้พากันดูหนังสือสะ
ที่จะสอบหนะ อันหนึ่งก็ไม่ต้องนั่งภาวนาตอนเที่ยง
สองไม่ต้องทำวัตรเย็น ไม่ต้องทำวัตรเช้าก็ได้
เอาแค่บิณฑบาตมาฉัน ส่วนสำหรับผู้ที่จะสอบนะ
ถ้าผู้ที่ไม่สอบก็ต้องให้ครบนะ ทำวัตรเช้า บิณฑบาต
ลงฉันนั่งสมาธิ ปัดกวาดลานวัดทำวัตรเย็น เดินจงกรม
อย่าให้ขาดอันนี้ให้เฉพาะ ผู้ที่จะดูหนังสือสอบ
มันต้องใช้เวลา มันมีสอบวันที่ 26 เดือนนี้ไม่ใช่เหรอ
26-27-28 นิ ดังนั้นก็ให้ดูหนังสือนะ ผู้จะสอบ
ให้ดูหนังสือให้โอกาส ผู้ที่จะสอบก็มาทำกิจวัตรให้อย่าให้มันขาด
พยายามอย่าไปคิดว่าแล้วแต่ แล้วแต่อารมณ์
แล้วแต่โอกาส ต้องตั้งใจไว้ตลอด ตั้งใจแล้วทำอะไรก็ต้องตั้งใจ
กินข้าวก็ตั้งใจกินเพื่อให้มันอิ่ม เพื่อให้มันอิ่ม
จะนอนก็ตั้งใจเพื่อที่จะตื่น ทำงานก็ตั้งใจเพื่อที่จะให้มันเสร็จ
เราทำอะไรก็แล้วแต่เราต้องตั้งใจ ตั้งใจที่จะทำให้มันได้
มันจะเป็นบุญเป็นกุศลเกิดขึ้นกับตัวเราเองนั้นแหละ
เรามาบรรพชาอุปสมบท ก็ด้วยมุ่งมั่นตั้งใจที่จะประพฤติปฏิบัติตาม
ข้อวัตรปฏิบัติไม่ใช่ว่า มาพออิงอาศัยพระศาสนาได้อยู่ได้กิน
ไปวัน ๆ พอหลบจากภัย หลบจากภัย ก็หมายถึงว่า
หากินในฆารวาสไม่คุ้มปากคุ้มท้อง แล้วก็มาอาศัยพระศาสนา
พอได้อยู่ได้กิน พอเกาะ พอเเกะไปกับหมู่กับพวก
ได้กินไปกับหมู่แค่นั้นเอง ไม่ใช่ว่าตั้งหน้าตั้งตาทำการทำงานให้มันสมกับ
การอยู่การกินนะ มาพอได้อาศัยหมู่พวกได้อยู่ได้กินไปวัน ๆ
ลักษณะอย่างนี้เขาเรียกว่าเอาเปรียบหมู่ เห็นแก่ตัวเอาเปรียบหมู่คณะ
ก็กลายเป็นว่า ยืมแรงของหมู่ ยืมหมู่กินยืมหมู่ใช้
พอยืมหมู่กิน ยืมหมู่ใช้ก็เป็นอะไร ถ้ายืมก็เป็นหนี้อะดิ
เป็นหนี้หมู่เป็นหนี้คณะ เป็นหนี้พวกที่เรามาอยู่
ฉะนั้นต้องพยายามทำให้มันเต็มสูตร เต็มสูตรของกิจวัตร
เต็มสูตรของธรรมวินัย อย่าเพียงแต่ว่ามาให้เป็นพิธีเท่านั้น
แทนที่จะได้บุญก็กลับกลายว่า ได้หนี้ได้บาปติดตัวไป
เหมือนกับคนมาถือศีลบวชชียบวชพราหมณ์ก็เหมือนกันแหละ
ตั้งใจนั่งภาวนา ตั้งใจนั่งเดินจงกรม ตั้งใจสวดมนต์ตั้งใจทบทวนศีล
ของตนเอง พยายามลดละ อันไหนที่มันเป็นเครื่องข้องกับการปฏิบัติ
กินแต่น้อย นอนแต่น้อย มันโลภไหม มันอยากได้มากไหม
มันโลภ..พอเห็นอาหารเยอะ เห็นของเยอะ ๆ ก็นึกถึงลูกถึงหลาน
ก็หอบเอา ๆ หิ้วอีลุงตุงนังมันจะล้มทับขาตัวเองหักนั้นเดะ..
มันเป็นอย่างนั้นนะที่สังเกตดู ฉะนั้นก็พากันยังอรรถภาพให้เป็นไป
เพื่อเจริญสมณะธรรม คำว่าสมณะธรรมก็คือความสงบนั้นแหละ
มีมากก็เป็นผู้มักน้อย พยายามเป็นผู้มักน้อย เพราะมันมีน้อย
ก็ถือว่าดี มักน้อยเพราะมีมากก็ยิ่งดี
ถ้ามักมากเพราะมีน้อย อันนี้ลำบากแหละ
มักมากเพราะมีมาก อันนี้ก็ลำบากอยู่เหมือนกัน
ฉะนั้นคำว่ามักน้อยเป็นตัวการสำคัญ ถ้าเรามักน้อยมากเท่าไหร่
เราก็ยิ่งได้บุญมากนะ อันนี้ให้เป็นข้อคิดนะ ถ้าเรามักน้อยเท่าไหร่
ก็ยิ่งได้บุญมาก ก็ว่ามีมากเท่านั้น แต่ว่าเรารับน้อย กินแต่น้อย
เพราะว่าการมาถือศีลปฏิบัติธรรมก็หมายถึงการมาบังคับ ควบคุมกิเลส
ของเราเอง ไม่ใช่มาสนองตอบความโลภความโกรธความหลง
หรือหมายถึงมาลดละความโลภความโกรธความหลง ถึงจะเกิดเป็นบุญขึ้นมา
ถ้าไม่พยายามลดละสิ่งเหล่านี้ มีแต่พอกพูนราคะโทสะโมหะ
หรือโลภโกรธหลงก็กลับกลายเป็นบาปเกิดขึ้น ก็ไม่ได้ไม่ได้ใช่ว่ามาชำระบาปแหละ
ก็กลายเป็นว่ามาเพิ่มบาป ให้พากันระมัดระวัง...!


ธรรมีกถายามเย็น
หลวงพ่อพระมหาประกอบ ธมฺมชีโว
ณ วัดป่ามหาไชย
ศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 65   




 6,337 

  ความคิดเห็น


RELATED STORIES



จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย