"ภิกษุณีสงฆ์
ในสมัยพุทธกาล"
ในพรรษาที่ ๕ ภายหลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระบรมศาสดาทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่กูฏาคาร
อันเป็นศาลาเรือนยอดในป้ามหาวันบนฝั่งตะวันออกแห่งลำน้ำคันธกะ
กรุงเวสาลี นครหลวงแห่งแคว้นวัชชีในขณะที่ประทับอยู่ ณ
ที่นั้นก็ได้ทรงทราบข่าวประชวรของพระพุทธบิดาเมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบข่าวการประชวรก็ได้รีบเสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ๋และได้เข้าเฝ้าพระพุทธบิดา
พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
และได้ทูลลาพระพุทธเจ้าเข้านิพพานโดยยังมิทันจะได้อุปสมบท
พระบรมศาสดาทรงอยู่ร่วมถวายพระเพลิงศพระพุทธบิดา
ขณะที่พระพุทธเจ้ายังคงประทับอยู่ที่นิโครธาราม
ซึ่งเป็นอารามที่พระญาติสร้างถวายพระพุทธเจ้า อยู่ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์นั้น
พระนางมหาปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะพระราชสวามีสิ้นพระชนม์แล้วก็ทรงหมดภาระ
จึงได้ไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาและได้ทูลขออนุญาตให้สตรีสละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย
แต่การณ์นั้น มิใช่เรื่องง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสีย
๓ ครั้ง
ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จกลับไปยังกูฏาคารศาลาในป่ามหาวันกรุงเวสาลี
พระนางมหาปชาบดีดคตมีไม่ละความพยายามได้ทรงชักยวนเจ้าหญิงศากยะจำนวนมากปลงพระเกศา
ทรงผ้ากาสาวะคือผ้าย้อมน้ำฝาดแล้วเสด็จดำเนินด้วยพระบาททั้งหมดไปยังกรุงเวสาลี
โดยต่างมีพระบาทบวมแตกและมีพระกายที่เปรอะเปื้อนธุลีเหน็ดเหนื่อยลำบาก
พากันมายืนกันแสงอยู่ที่ซุ้มประตูนอกกูฏาคารศาลา
พระอานนท์ได้เห็นก็เข้าไปถาม
พระนางก็ได้รับสั่งบอกเล่าแก่พระอานนท์ พระอานน์ขอให้ประทับรออยู่ที่นั้นก่อน
และก็ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลขอให้สตรีได้บวชในพระธรรมวินัย
พระพุทธเจ้าได้ตรัสปฏิเสธแก่พระอานนท์ พระอานนท์ก็ได้ทูลขอถึง
๓ ครั้ง ในที่สุดพระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่าสตรีออกบวชในพระธรรมวินัยแล้วจะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตตผลได้หรือไม่
พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า เป็นผู้สมควรที่จะทำให้แจ้งได้
พระอานนท์จึงได้กราบทูลว่า
ถ้าสตรีเป็นผู้ที่สมควรอย่างนั้น และพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ก็เป็นผู้มีอุปการะมากแด่พระพุทธเจ้ามาในเบื้องต้น เพราะทรงเป็นทั้งน้าและมารดาเลี้ยง
ผู้เลี้ยงดูทะนุถนอมพระองค์สืบต่อจากพระพุทธมารดาซึ่งได้สิ้นพระชนม์ไป
เพราะฉะนั้น ก็ขอให้พระนางได้บวชในพระธรรมวินัยตามที่ทรงตั้งพระหฤทัย
พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า
ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมีจะรับครุธรรม คือธรรมที่หนัก ๘
ข้อได้ ก็ให้อุปสมบทได้ ครุธรรม ๘ ข้อนั้นคือ
๑.
ภิกษุณีที่อุปสมบทมาตั้งร้อยพรรษาก็พึงทำการกราบไหว้การลุกรับ
การกระทำอัญชลี การทำสามีจิกรรม (การแสดงความเคารพ) แก่ภิกษุที่อุปสมบทใหม่แม้ในวันนั้น
๒. ภิกษุณีจะต้องอยู่จำพรรษาในอาวาสที่มีภิกษุ
๓. ภิกษุณีจะต้องพึงหวังธรรม
๒ ประการจากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน คือการถามวันอุโบสถและการเข้าไปฟังโอวาท
๔. ภิกษุณีออกพรรษาและพึงปวารณาในสงฆ์
๒ ฝ่ายคือ ในภิกษุสงฆ์และในภิกษุณีสงฆ์
๕. ภิกษุณีเมื่อต้องครุธรรมคือต้องอาบัติหนักก็พึงประพฤติมานัด
(ระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติหนัก) ๑๕ วัน ในสงฆ์ทั้งสองฝ่าย
(ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณี)
๖. สตรีที่ศึกษาอยู่ในธรรม
๖ ข้อเป็นเวลา ๒ ปี (กล่าวคือรักษา ศีล ๑๐ ของสามเณร ตั้งแต่ข้อ
๑ ถึงข้อ ๖ โดยไม่ขาดตลอดเวลา ๒ ปี) อันเรียกว่า นางสิกขมานา
เมื่อได้ศึกษาแล้วดั้งนี้จึงอุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่ายได้
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุโดยปริยายใด
ๆ
๘. ภิกษุทั้งหลายสั่งสอนห้ามปรามภิกษุณีทั้งหลายได้
แต่ว่าภิกษุณีทั้งหลายจะสั่งสอนห้ามปรามภิกษุทั้งหลายไม่ได้
ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ยินดีรับครุธรรมทั้ง ๘ ประการนี้จึงให้อุปสมบทได้ พระอานนท์ได้ไปทูลให้พรนางมหาปชาบดีโคตมี
พระนางทรงยินดีรับครุธรรม ๘ ประการนั้น พระอานนท์ได้กลับเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าและทูลให้ทรงทราบว่า
พระนางได้รับครุธรรมทั้ง ๘ ได้อุปสมบทแล้ว ส่วนเจ้าหญิงศากยะที่ตามมาทั้งหมด
พระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้
ในคราวนั้นพระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า
การให้สตรีบวชจะเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ คือพระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ได้ไม่ยั่งยืน
จะมีอายุสั้นเข้า เปรียบเหมือนตระกูลที่มีบุตรน้อยมีสตรีมาก
ถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่ายหรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง
หรือเหมือนไร่อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนาน
พระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการกำกับไว้เพื่อเป็นหลักคุ้มกันพระศาสนา
เหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อนเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลท้นออกไป
(พระศาสนาจักอยู่ใต้ยั่งยืนเช่นเดิม)
พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไหว้ภิกษุณี
ให้ภิกษุณีไหว้ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนา
อื่นทั้งหลายไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย กล่าวโดยสรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคม
- ศาสนาแล้วจะไม่ทรงให้สตรีบวชได้
เมื่อแรกการบวชภิกษุณีไม่ได้กำหนดจำนวนคือบวชกันตามสบายมีการบวชเข้ามาเป็นหมู่จำนวนถึง
๑,๐๐๐ ก็มี เช่นพระนางอโนชากับบริวาร ประวัติชีวิตของพระเถรีทังหลายส่วนมากพิสดารเฉพาะก่อนท่านบวช
หลังจากบวชแล้วไม่ค่อยมีผลงานเด่นมากนัก นอกจากพระเถรีระดับเอตทัคคะ
๑๓ รูป
หลังจากจำนวนภิกษุณีเพิ่มขึ้นในเวลาอันรวดเร็วระยะหนึ่งปรากฏว่าเกิดปัญหาหลายอย่าง
เช่นภิกษุณีถูกคนบางพวกรังแกทำให้ที่อยู่อาศัยของท่านก็ดี
การจะไปในที่ต่าง ๆ ก็ดีต้องเกี่ยวข้องกับหมู่คณะ คือ
จะไปไหนคนเดียว เดินทางคนเดียว อยู่คนเดียวไม่ได้ การจะอยู่ป่าเขาแบบพระจึงไม่ได้เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับสวัสดิภาพของภิกษุณีเองทำให้เสนาสนะ
(ที่อยู่อาศัย) ซึ่งชาวบ้านสร้างด้วยศรัทธาทำไม่ทัน ชาวบ้านได้แสดงความเดือดร้อนให้ปรากฏ
จนต้องมีการกำหนดเงื่อนไขในการบวชภิกษุณีไว้ดังนี้
สตรีอายุยังน้อยให้บวชเป็นสามเณรีก่อน
จนกว่าอายุครบ ๑๘ เมื่ออายุครบ ๑๘ ให้บวชเป็นนางสิกขมานา
โดยรักษาศีลข้อ ๑ - ๖ ไม่ให้พกพร่องเป็นเวลา ๒ ปี จึงขอรับฉันทานุมัติจากสงฆ์บวชเป็นภิกษุณี
ถ้าในระหว่างประพฤติตนเป็นนางสิกขมานา หากมีความบกพร่องในศีลก่อน
๖ ปี ต้องนับวันกันใหม่ เมื่อได้สิกขาสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา
เธอต้องถืออุปัชฌาย์เช่นเดียวกับภิกษุ แต่เรียกว่าปวัตตินี
ซึ่งจะต้องมีพรรษาไม่ต่ำกว่า ๑๒ พรรษา และเป็นผู้ที่ได้รับสมมติจากภิกษุณีสงฆ์ให้เป็นปวัตตินี
ปวัตตินีรูปเดียวจะอุปสมบทให้แก่สหชิวินี (ผู้อยู่ร่วม)
ได้พียง ๒ ปี ต่อหนึ่งครั้งและอุปสมบทให้ได้ครั้งละ ๑
รูปเท่านั้นเมื่อเป็นภิกษุณีแล้วต้องรักษาสิกขาบท ๓๑๑
ข้อ (ศีล ๓๑๑)
ด้วยเหตุนี้เอง
ทำให้ภิกษุณีเริ่มน้อยลงตามลำดับ ในตอนปลายพุทธกาลไม่ค่อยได้ยินชื่อเสียงของท่าน
อาจจะเป็นเพราะมีพระวินัยห้ามการคลุกคลีกับภิกษุณีอยู่หลายข้อ
ทำให้พระสังคีติกาจารย์ก็ไม่ค่อยทราบชีวิตและผลงานของภิกษุณีต่าง
ๆ มากนัก ทั้งภิกษุณีก็ไม่ได้เข้าร่วมในการสังคายนาพระธรรมวินัย
เรื่องของภิกษุณีสงฆ์จึงไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม
ภิกษุณีนั้นจัดว่าเป็นบริษัท ๑ ใน ๔ ของพระพุทธเจ้าที่มีบทบาทสำคัญในการเป็นพยานแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
ช่วยเผยแผ่ศาสนธรรม จากชีวประวัติของพระเถรีทั้งหลายในเถรีคาถาและอรรคกถาบอกให้ทราบว่าสตรีที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุณีนั้นมีตั้งแต่เจ้าหญิงธิดาเศรษฐี
ไปจนถึงโสเภณี คนขอทาน และการเข้ามาบวชของท่านส่วนมากแล้วจะเกี่ยวกับความรักความพลัดพราก
และศรัทธาเป็นหลักฐานะของภิกษุณี อาจสรุปได้ดังนี้
๑.
ท่านเป็นอุปสัมพันในหมู่ของท่านและคนอื่น แต่เป็นอนุปสัมบันในหมู่ภิกษุคือไม่มีฐานะเท่ากัน
๒. จะร่วมสังฆกรรมต่าง
ๆ กับภิกษุไม่ได้ จึงไม่มีสิทธิจะห้ามอุโปสถปวารณาแก่ภิกษุทุกกรณี
๓. ภิกษุณีมีสิทธิโดยชอบตามพระวินัย
ที่จะไม่ไหว้ภิกษุที่กล่าวคำหยาบคายต่อตน
๔. ในกรณีมีสิทธิโดยชอบตามพระวินัย
ที่จะไม่ไหว้ภิกษุที่กล่าวคำหยาบคายต่อตน
๕. เมื่อภิกษุณีจะถามปัญหาแก่ภิกษุให้บอกก่อนว่าจะถามในเรื่องพระสูตร
พระวินัย หรือพระอภิธรรม เมื่อบอกไว้อย่างหนึ่ง แต่กลับถามอีกอย่างหนึ่งเป็นอาบัติ
สำหรับสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแก่ภิกษุณี
ซึ่งมีจำนวนมากกว่าของภิกษุนั้น ส่วนมากแล้วเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเป็นสตรีเพศของท่านเพื่อป้องกันรักษาตัวท่านเองให้ปลอดภัยจากอันตรายต่าง
ๆ
ภิกษุณีสงฆ์เจริญแพร่หลายในชมพูทวีปอยู่ช้านาน
เป็นแหล่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย
|