"สังเวชนียสถาน
๔ ตำบล"
ในวันเพ็ญ เดือน ๖ ณ กาลนั้น
พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พระบรมศาสดาทรงตรัสแก่พระอานนท์ว่า
"อานนท์ในยามที่สุดแห่งราตรีวันนี้แหละ ตถาคตจะปรินิพพาน
ณ ระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ณ สาลวันแห่งมัลลกษัตริย์ ใกล้เมืองกุสินารา"
ครั้นพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ได้เสด็จพระพุทธดำเนินข้ามแม่น้ำหิรัญญวดี
ไปเมืองกุสินารา โปรดให้พระอานนท์ปูลาดเตียงที่บรรทม ณ
ระหว่าไม้สาละทั้งคู่ และเสร็จขึ้นบรรทมสีหไสยา(เป็นการนอนอย่างราชสีห์
คือนอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มือซ้ายพาดไปตามลำตัว
มือขวาช้อนศีรษะไม่พลิกกลับไปมา มีสติสัมปชัญญะกำหนดใจถึงการลุกขึ้นไว้)
แต่พระบรมศาสดามิได้มีอุฏฐานสัญญา มนสิการ คือไม่คิดจะลุกขึ้นอีกแล้ว
เพราะเหตุเป็นไสยาอวสาน คือการนอนครั้งสุดท้าย (หรือ อนุฏฐานไสยาคือนอนไม่ลุก)
ลำดับต่อมา พระอานนท์เถระเจ้าได้กราบทูลว่า
"ในกาลก่อนเมื่อออกพรรษาแล้ว บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายในทิศต่าง
ๆ เจริญในครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เข้าใกล้สนทนาปราศัยได้ความเจริญใจ
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพระองค์ทั้งหลายจักไม่ได้โอกาสอันดีเช่นนั้น
เหมือนกับเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่อีกต่อไป"
พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
นี้ คือ
๑.
สถานที่พระตถาคตเจ้าบังเกิดแล้ว คือที่ประสูติจากพระครรภ์
(คือ อุทยานลุมพินี กึ่งกลางระว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ
กรุงกบิลพัสดุ์เป็นเมืองหลวงของแคว้นสักกะ กรุงเทวทหะเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกลิยะ
ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาลห่างชายแดนภาคเหนือของประเทศอินเดีย
๖ กิโลเมตรครึ่ง บัดนี้เรียกว่า รุมมิเนเด)
๒.
สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (คือใต้ร่มไม่ศรีมหาโพธิ์
ภายในป่าสาละ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
แคว้นมคธ ปัจจุบันคือ ควงโพธิ์ ที่ตำบลพุทธคยา รัฐพิหารประเทศอินเดีย)
๓.
สถานที่พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักร (คือสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าแสดงธรรมปฐมเทศนาโปรดปัจจวัคคีย์
ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทางทิศเหนือของเมืองพาราณสี แคว้นกาสี
ปัจจุบันนี้เรียกว่า สารนาถพาราณสีบัดนี้เรียกว่า วาราณสี)
๔.
สถานที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน (คือที่สาลวโนยาน เมืองกุสินารา
แคว้นมัลละ ปัจจุบันี้เรียกเมืองกาเซีย จังหวัดโครักขปุระ)
สถานที่ทั้ง ๔ ตำบลนี้แล
ควรที่พุทธบริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา มีความเชื่อความเลื่อมใสในพระตถาคตเจ้า
จะดูจะเห็นและควรจะให้เกิดความสังเวชทั่วกัน"
"อานนท์ ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้เที่ยวไปยังเจดีย์สังเวชนียสถานเหล่านี้ด้วยความเลื่อมใส
ชนเหล่านั้น ครั้นทำกาลกิริยาลงจักเข้าถึงสุดคติโลกสวรรค์"
อนึ่ง สังเวชนียสถาน มีความหมายถึง
สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช แต่คำว่าสังเวชในทางธรรมนั้น
มีความหมายลึกซึ้งกว่าความหมายของคำว่าสังเวชที่พบเห็นกันทั่ว
ๆ ไป กล่าวคือ ในทางธรรมหมายถึง ความรู้สึกสลดใจที่ทำให้คิดได้
ทำให้จิตใจหันมานึกถึงสิ่งที่ดีงามเกิดความไม่ประมาท เพียรพยายามทำสิ่งที่เป็นกุศลต่อไป
จึงจะเรียกว่า สังเวช ความสลดในและหงอยหรือหดหู่เสีย ไม่เรียกว่าเป็นความสังเวช
|