"ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน"
พระธรรมคือ
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น
๔ ลักษณะ คือ
๑.
สวากขาตธรรม เป้นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล
อกุศล และอัพยากฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่มีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล)
เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ
๒.
สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต
ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา
เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น
๓.
นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส
ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน
๔.
สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น
ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน
ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า
นตฺถิ
สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)
อย่างไรก็ตาม
พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น
คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน
เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม
พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้
นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น
หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง
อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง
จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก
เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา
อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น
ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง
แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น
ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง
ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ
คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น
|