ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด เถยยสังวาส - ไถยจิต

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


เถยยสังวาส - ไถยจิต

เถยยสังวาสลักเพศ, มิใช่ภิกษุ แต่ปลอมเพศเป็นภิกษุ (พจนานุกรมเขียนเถยสังวาส, เขียนอย่างบาลีเป็นเถยยสังวาสก์)

เถระ พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป

เถรภูมิ ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป และรู้ปาฏิโมกข์ เป็นต้น

เถรวาท วาทะหรือลัทธิของพระเถระ, นิกายพระพุทธศาสนาฝ่ายใต้ ซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวกได้วางหลักธรรมวินัยเป็นแบบแผนไว้เมื่อครั้งปฐมสังคายนา ได้แก่พระพุทธศาสนาอย่างที่นับถือแพร่หลายในประเทศไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา (อีกนิกายหนึ่ง คือ มหายาน)

เถรานุเถระ “เถระและอนุเถระ”, พระเถระผู้ใหญ่ผู้น้อย

เถรี พระเถระผู้หญิง

ไถ้ ถุงยาวๆ สำหรับใส่เงินหรือสิ่งของ

ไถยจิต จิตคิดจะลัก, จิตคิดขโมย, จิตประกอบด้วยความเป็นขโมย




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย