พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ระลึกชอบ - รัตน์, รัตนะ

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ระลึกชอบ - รัตน์, รัตนะ

ระลึกชอบ ดู สัมมาสติ

รักขิตวัน ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จหลีกไปสำราญพระอิริยาบถเมื่อสงฆ์เมืองโกสัมพีแตกกัน
ดู ปาริเลยยกะ

รังสฤษฎ์ สร้าง, แต่งตั้ง

รังสีแสง, แสงสว่าง, รัศมี

รัชกาล เวลาครองราชสมบัติแห่งพระราชาองค์หนึ่งๆ

รัชทายาท ผู้จะสืบราชสมบัติ, ผู้จะได้ครองราชสมบัติสืบต่อไป

รัฏฐานุบาลโนบายราชธรรม ธรรมของพระราชา ซึ่งเป็นวิธีปกครองบ้านเมือง, หลักธรรมสำหรับพระราชาใช้เป็นแนวปกครองบ้านเมือง

รัฏฐปาละ ดู รัฐบาล

รัฐชนบท ชนบทคือแว่นแคว้น

รัฐบาล พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าในถุลลโกฏฐิตนิคมในแคว้นกุรุ ฟังธรรมแล้วมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ลาบิดามารดาบวช แต่ไม่ได้รับอนุญาต เสียใจและอดอาหารจะได้ตายเสีย บิดามารดาจึงต้องอนุญาต ออกบวชแล้วไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางบวชด้วยศรัทธา

รัตตัญญู ผู้รู้ราตรี คือผู้เก่าแก่ รู้กาลนานมีประสบการณ์มาก รู้เหตุการณ์มาแต่ต้น เช่น พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า เป็นเอตทัคคะในทาง “รัตตัญญู”

รัตติกาล เวลากลางคืน

รัตติเฉท การขาดราตรี หมายถึงเหตุขาดราตรีแห่งมานัต หรือปริวาส; สำหรับมานัต มี ๔ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ อูเน คเณ จรณี ประพฤติในคณะอันพร่อง ๑; สำหรับปริวาส มี ๓ คือ สหวาโส อยู่ร่วม ๑ วิปฺปวาโส อยู่ปราศ ๑ อนาโรจนา ไม่บอก ๑ เมื่อขาดราตรีในวันใด ก็นับวันนั้นเข้าในจำนวนวันที่จะ ต้องอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตไม่ได้; ดูความหมายที่คำนั้นๆ

รัตน์, รัตนะ แก้ว, ของวิเศษหรือมีค่ามาก, สิ่งประเสริฐ, สิ่งมีค่าสูงยิ่ง เช่น พระรัตนตรัย และรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ;
ในประโยคว่า “ที่รัตนะยังไม่ออก เป็นปาจิตติยะ” หมายถึงพระมเหสี, พระราชินี




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย