จิตตุชุกตา - จีวรมรดก
จิตตุชุกตา
ความชื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน (ข้อ
๑๙ ในโสภณจิต ๒๕)
จินตกวี นักปราชญ์ผู้ชำนาญคิดคำประพันธ์,
ผู้สามารถในการแต่งร้อยกรองตามแนวความคิดของตน
จีวร ผ้าที่ใช้นุ่งห่มของพระในพระพุทธศาสนาผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในจำนวน ๓ ผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร คือผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (อุตราสงค์) และผ้านุ่ง (อันตรวาสก); แต่ในภาษาไทย นิยมเรียกเฉพาะผ้าห่มคืออุตราสงค์ว่า จีวร ดู ไตรจีวร ด้วย
จีวรกรรม การทำจีวร, งานเกี่ยวกับจีวร เช่น ตัด เย็บ ย้อม เป็นต้น
จีวรการสมัย คราวที่พระทำจีวร, เวลาที่กำลังทำจีวร
จีวรกาล ฤดูถวายจีวร, ฤดูถวายผ้าแก่พระสงฆ์ ดู จีวรกาลสมัย
จีวรกาลสมัยสมัยหรือคราวที่เป็นฤดูถวายจีวร; งวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่มิได้กรานกฐิน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ถึง เพ็ญเดือนสิบสอง (คือเดือนเดียว), อีกงวดหนึ่ง สำหรับภิกษุที่ได้กรานกฐินแล้ว ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๑ ไปจนหมดฤดูหนาวคือถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ (รวม ๕ เดือน)
จีวรทานสมัย สมัยที่เป็นฤดูถวายจีวรตรงกับจีวรกาลสมัย
จีวรนิทหกะ ผู้เก็บจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่เก็บรักษาจีวร เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
จีวรปฏิคคาหกผู้รับจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่รับจีวรเป็นตำแหน่งหนึ่งบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
จีวรปลิโพธความกังวลในจีวร คือภิกษุยังไม่ได้ทำจีวร หรือทำค้างหรือหายเสียในเวลาทำ แต่ยังไม่สิ้นความหวังว่าจะได้จีวรอีก
จีวรภาชก ผู้แจกจีวร คือ ภิกษุที่สงฆ์สมมติให้เป็นเจ้าหน้าที่แจกจีวร, เป็นตำแหน่งหนึ่งในบรรดาเจ้าอธิการแห่งจีวร
จีวรมรดก จีวรของภิกษุหรือสามเณรผู้ถึงมรณภาพ (มตกจีวร) สงฆ์พึงมอบให้แก่คิลานุปฐาก (ผู้พยาบาลคนไข้) ด้วยญัตติทุติยกรรม อย่างไรก็ตามอรรถกถาแสดงมติไว้ว่า กรณีเช่นนี้เป็นกรรมไม่สำคัญนักจะทำด้วยอปโลกนกรรม ก็ควร