พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด เจตสิก - เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


เจตสิก - เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์

เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่าง ๆ ของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น มี ๕๒ อย่าง จัดเป็น อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕

เจตสิกสุข สุขทางใจ, ความสบายใจ แช่มชื่นใจ ดู สุข

เจตี แคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีป ตั้งอยู่ลุ่มแม้น้ำคงคา ติดต่อกับแคว้นวังสะ นครหลวงชื่อโสตถิวดี

เจโตปริยญาณ ปรีชากำหนดรู้ใจผู้อื่นได้, รู้ใจผู้อื่นอ่านความคิดของเขาได้ เช่น รู้ว่าเขากำลังคิดอะไรอยู่ ใจเขาเศร้า
หมองหรือผ่องใส เป็นต้น ดู วิชชา, อภิญญา

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติ อันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)

เจริญพร คำเริ่มและคำรับที่ภิกษุสามเณรใช้พูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่และสุภาพชนทั่วไป ตลอดจนใช้เป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่ภิกษุสามเณร มีไปถึงบุคคลเช่นนั้นด้วย (เทียบได้กับคำว่าเรียนและครับหรือขอรับ)

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้ง
หมดแยกออกเป็นขันธ์ ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

เจ้ากรม หัวหน้ากรมในราชการ หรือในเจ้าหน้าที่ทรงกรม

เจ้าภาพ เจ้าของงาน

เจ้าสังกัด ผู้มีอำนาจในหมู่คนที่ขึ้นอยู่กับตน

เจ้าหน้าที่ทำการสงฆ์ ภิกษุผู้ได้รับสมมติ คือแต่งตั้งจากสงฆ์ให้ทำหน้าที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับการของส่วนรวมในวัดตามพระวินัยแบ่งไว้เป็น ๕ ประเภทคือ ๑. เจ้าอธิการแห่งจีวร ๒. เจ้าอธิการแห่งอาหาร ๓. เจ้าอธิการแห่งเสนาสนะ ๔. เจ้าอธิการแห่งอาราม ๕. เจ้าอธิการแห่งคลัง




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย