ค้นหาในเว็บไซต์ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์

หมวด ประโยค - ปรามาส

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ : ความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา


ประโยค - ปรามาส

ประโยค
การประกอบ, การกระทำ ,การพยายาม

ประโยชน์ (เกิดแต่การถือเอาโภคทรัพย์) ๕ ดู โภคอาทิยะ ๕

ประลัย ความตาย, ความย่อยยับ, ความป่นปี้

ประวัติ ความเป็นไป, เรื่องราว

ประศาสนวิธี วิธีการปกครอง,ระเบียบแห่งการปกครองหมู่คณะ

ประสก เป็นคำเลือนมาจาก อุบาสกพระสงฆ์ครั้งก่อนมักใช้เรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย คู่กับ สีกา แต่บัดนี้ได้ยินใช้น้อย

ประสาท ๑. เครื่องนำความรู้สึกสำหรับคนและสัตว์ เรียกประสาทรูปก็ได้ . ความเลื่อมใส ดู ปสาท . ยินดีให้,โปรดให้

ประสาทรูป รูปคือประสาท

ประสาธน์ ทำให้สำเร็จ, เครื่องประดับ

ประสิทธิ์ ความสำเร็จ, ทำให้สำเร็จ, ให้

ประสิทธิ์พร ให้พร, ทำพรให้สำเร็จ

ประสูติ เกิด, การเกิด, การคลอด

ประเสริฐ ดีที่สุด , ดีเลิศ, วิเศษ,

ประหาน ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด; ตามหลักภาษาควรเขียน ปทาน หรือ ประหาณ

ประหาร การตี, การทุบตี,การฟัน, การล้างผลาญ; ฆ่า, ทำลาย

ประหาร การตี, การทุบตี, การฟัน, การล้างผลาญ; ฆ่า, ทำลาย

ปรัตถปฏิบัติ การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นพุทธคุณอย่างหนึ่ง คือ การทรงบำเพ็ญพุทธกิจเพื่อประโยชน์แก่
สัตว์ทั้งหลาย เป็นที่พึ่งของชาวโลก (โลกนาถ) ซึ่งสำเร็จด้วยพระมหากรุณาคุณเป็นสำคัญ มักเขียนเป็นปรหิตปฎิบัติ
ซึ่งแปลเหมือนกัน ; เป็นคู่กันกับ อัตตัตถสมบัติ หรือ อัตตหิตสมบัติ

ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น, ประโยชน์เพื่อคนอื่น อันพึงบำเพ็ญด้วยการช่วยให้เขาเป็นอยู่ด้วยดี พึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็น
ทิฏฐธัมมิกัตถะหรือสัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะก็ตาม; เทียบ อัตตัตถะ

ปรัปวาท (ปะรับประวาด) คำกล่าวของคนพวกอื่นหรือลัทธิอื่น, คำกล่าวโทษคัดค้านโต้แย้งของคนพวกอื่น, หลักการ
ของฝ่ายอื่น, ลักทธิภายนอก

ปรัมปรโภชน์ โภชนะทีหลัง คือ ภิกษุรักนิมนต์ในที่แห่งหนึ่งด้วยโภชนะทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วไม่ปไฉันในที่
นิมนต์นั้น ไปฉันเสียในที่อื่นที่เขานิมนต์ทีหลังซึ่งพ้องเวลากัน

ปราการ กำแพง, เครื่องล้อมกั้น

ปราชญ์ ผู้รู้, ผู้มีปัญญา

ปรามาส (ปฺรามาด) ดูถูก, ดูหมิ่น

ปรามาส (ปะรามาด) การจับต้อง, การยึดฉวย, การจัดไว้มั่น, การลูบหรือเสียดสีไปมา, ความยึดมั่น; มักแปลกันว่า การลูบคลำ




จีรัง กรุ๊ป    

 ธรรมะไทย